Trusted

Blockchain (บล็อกเชน) คืออะไร? เทคโนโลยีที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงโลกการเงิน

8 mins
อัพเดทโดย Apinat Phosuwan

บล็อกเชน (Blockchain) คือ ระบบจัดการฐานข้อมูลขั้นสูงที่อนุญาตให้แบ่งปันข้อมูลอย่างโปร่งใส ฐานข้อมูลจะเก็บข้อมูลในบล็อกที่เชื่อมโยงกันเป็นลูกโซ่ทำให้ข้อมูลมีความสอดคล้องตามลำดับเวลาและตรวจสอบได้เนื่องจากคุณไม่สามารถลบหรือแก้ไขห่วงโซ่หากไม่ได้รับฉันทามติจากเครือข่าย

หลังจากเทคโนโลยีเริ่มเข้ามามีบทบาทในโลกเรามากขึ้น ในแทบๆ ทุกธุรกิจ รวมไปถึงการเงินด้วยเช่นกัน ที่ขนาดปัจจุบันปี 2023 ที่เกิดวิกฤติธนาคารขึ้นมา ขนาดที่ Silvergate ล้มปิดไป ผู้คนก็เริ่มไม่มั่นใจในระบบตัวกลาง แล้วหันกลับมามองที่ระบบบล็อกเชน (Blockchain) อีกครั้ง

แต่ว่าจริงๆ แล้ว บล็อกเชน คือ อะไรกันแน่?

Blockchain (บล็อกเชน) คือ อะไร

บล็อกเชน (Blockchain) คือ ระบบจัดการฐานข้อมูลขั้นสูงที่มีคุณสมบัติที่อนุญาตให้แบ่งปันข้อมูลอย่างโปร่งใส โดยการจัดเก็บข้อมูลแบบกระขายศูนย์ ฐานข้อมูลจะเก็บข้อมูลในบล็อกที่เชื่อมโยงกันเป็นลูกโซ่ทำให้ข้อมูลมีความสอดคล้องตามลำดับเวลาและตรวจสอบได้เนื่องจากคุณไม่สามารถลบหรือแก้ไขห่วงโซ่หากไม่ได้รับฉันทามติจากเครือข่าย

ด้วยเหตุนี้ คุณจึงสามารถใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเพื่อสร้างบัญชีแยกประเภท (Distributed Ledger) ที่ไม่เปลี่ยนแปลงหรือเปลี่ยนแปลงไม่ได้

ยกตัวอย่างเช่น การติดตามคำสั่งซื้อ การชำระเงิน บัญชี และธุรกรรมอื่นๆ รายการทางบัญชีเหล่านี้ถูกต้องโปร่งใสและแก้ไขตกแต่งไม่ได้เพราะผู้ตรวจสอบที่กระจายอยู่ทั่วโลกล้วนมองเห็นรายละเอียดของธุรกรรมเหล่านั้น

นอกจากนี้ระบบยังมีกลไกในตัวที่ป้องกันรายการธุรกรรมที่ไม่ได้รับอนุญาตอีกด้วย บล็อกเชนจึงถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Distributed Ledger Technology (DLT)

ขั้นตอนการทำงานของ Blockchain

การทำงานของบล็อกเชนจะทำงาน 4 ขั้นตอนหลัก ดังนี้

  • ขั้นตอนที่ 1: บันทึกธุรกรรมที่ถูกส่งเข้ามาบนบล็อกเชน
  • ขั้นตอนที่ 2: ตรวจสอบผ่านระบบฉันทามติ (Consensus Layer)
  • ขั้นตอนที่ 3: การเชื่อมบล็อกเข้าด้วยกันผ่าน Hash
  • ขั้นตอนที่ 4: ธุรกรรมเสร็จสิ้น

ปัจจุบันขั้นตอนการทำงานของเทคโนโลยีนี้มีแค่ 4 ขั้นตอนหลัก ที่เป็นโครงสร้างของปฏิบัติการแม้ว่าปัจจุบันจะมีบล็อกเชนอยู่มากมายหลายประเภทก็ตาม

การทำงานของบล็อกเชน (Blockchain Processing)

บันทึกธุรกรรมที่ถูกส่งเข้ามาบน Blockchain

ธุรกรรมบนบล็อกเชนแสดงความเคลื่อนไหวของสินทรัพย์ทางกายภาพหรือดิจิทัลจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกกลุ่มหนึ่งบนเครือข่าย ข้อมูลของธุรกรรมจะถูกบันทึกเป็นบล็อกข้อมูล เช่น ใครบ้างที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมนี้ เกิดอะไรขึ้นบ้างระหว่างการตรวจสอบธุรกรรม ธุรกรรมเกิดขึ้นเมื่อไหร่ เกิดที่ไหน ทำไมถึงทำธุรกรรม และ รายละเอียดยิบย่อยของธุรกรรมทั้งหมด

ตรวจสอบผ่านระบบฉันทามติ (Consensus Layer)

ผู้ตรวจสอบส่วนใหญ่บนเครือข่ายบล็อกเชนต้องยอมรับว่าธุรกรรมที่บันทึกไว้นั้นถูกต้อง กฎของข้อตกลงอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเภทของเครือข่าย แต่โดยทั่วไปจะกำหนดไว้ตั้งแต่ก่อตั้งบล็อกเชนขึ้น ความสามารถในการกระจายอำนาจของแต่ละบล็อกเชนจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความหลากหลายและจำนวนของผู้ตรวจสอบในขั้นตอนนี้

การเชื่อมบล็อกเข้าด้วยกันผ่าน Hash

เมื่อผู้ตรวจสอบมีความเห็นพ้องต้องกัน ธุรกรรมบนบล็อกเชนจะถูกเขียนเป็นบล็อกที่เทียบเท่ากับหน้าของสมุดบัญชีแยกประเภท นอกจากธุรกรรมแล้ว Hash ที่ถูกเข้ารหัสจะถูกผนวกเข้ากับบล็อกใหม่ด้วย ดังนั้น Hash จึงทำหน้าที่เป็นห่วงโซ่ที่เชื่อมโยงบล็อกเข้าด้วยกัน หากเนื้อหาของบล็อกถูกแก้ไขโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ค่า Hash จะเปลี่ยนไป ซึ่งเป็นวิธีการตรวจจับการปลอมแปลงข้อมูล

ดังนั้น บล็อกและเชนจะจึงเชื่อมต่อกันอย่างปลอดภัย ทำให้คุณไม่สามารถแก้ไขหรือปลอมแปลงธุรกรรมได้ บล็อกเพิ่มเติมแต่ละบล็อกเสริมความแข็งแกร่งในการตรวจสอบบล็อกก่อนหน้าและบล็อกเชนทั้งหมด เปรียบเหมือนการนำไม้มาซ้อนกันเป็นหอคอย คุณสามารถวางบล็อกไว้ด้านบนเท่านั้น และถ้าคุณนำบล็อกออกจากตรงกลางหอคอย หอคอยทั้งหลังจะพัง

ธุรกรรมเสร็จสิ้น

เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการตรวจสอบทั้งหมดแล้วรายละเอียดทั้งหมดของธุรกรรมจะสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ตามที่ถูกประกาศไว้บนบล็อกเชน ทำให้ธุรกรรมโปร่งใส

ความแตกต่างระหว่าง Bitcoin VS Blockchain

เทคโนโลยีบล็อกเชนถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในปี 1991 โดย Stuart Haber และ W. Scott Stornetta นักวิจัยสองคนที่ต้องการใช้ระบบที่ไม่สามารถแก้ไขการประทับเวลาของเอกสารหรือข้อมูลได้ แต่ก็ยังไม่เคยเกิดขึ้นในโลกของความเป็นจริง เกือบ 2 ทศวรรษต่อมา การเปิดตัวบิทคอยน์ (Bitcoin) ในเดือนมกราคม 2009 ทำให้บล็อกเชนมีการใช้งานจริงเป็นครั้งแรกของโลก

โปรโตคอล Bitcoin สร้างขึ้นบนบล็อกเชน ในเอกสารการวิจัยและ White Paper ของโปรโตคอล Satoshi Nakamoto นามแฝงของผู้สร้าง Bitcoin เรียกมันว่า “ระบบเงินสดอิเล็กทรอนิกส์แบบใหม่ที่เชื่อมโยงถึงกันโดยสมบูรณ์ โดยไม่ต้องมีบุคคลที่สามที่เชื่อถือได้”

สิ่งสำคัญที่ต้องเข้าใจคือ Bitcoin ใช้บล็อกเชนเป็นวิธีการบันทึกบัญชีแยกประเภทการชำระเงินอย่างโปร่งใสเพียงเท่านั้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างความโปร่งใสและความเท่าเทียมกันในระบบการเงินมหภาค แต่ในทางทฤษฎีแล้วบล็อกเชนสามารถใช้เพื่อบันทึก “จุดข้อมูลจำนวนเท่าใดก็ได้” โดยไม่เปลี่ยนแปลง

ข้อมูลเหล่านั้นอาจอยู่ในรูปของการทำธุรกรรม การลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้ง สินค้าคงคลัง NFTs (Non-fungible Token) บัตรประจำตัวของรัฐ โฉนดบ้าน และอื่นๆ อีกมากมาย อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน เริ่มมีการพัฒนาบล็อกเชนของ Bitcoin เพื่อการใช้งานกรณีอื่นเช่น Ordinals ที่สร้าง NFTs ขึ้นแล้ว แม้ว่ามันจะเป็นนวัตกรรมที่ชุมชนบิทคอยต์กำลังถกเถียงอยู่ก็ตามว่ามันจำเป็นหรือไม่สำหรับ Bitcoin

ปัจจุบัน โครงการหลายหมื่นแห่งกำลังมองหาการนำบล็อกเชนไปใช้ในหลากหลายวิธีเพื่อช่วยเหลือสังคมนอกเหนือจากการบันทึกธุรกรรม เช่น เป็นวิธีการลงคะแนนอย่างปลอดภัยในการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย เพราะบันทึกที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ของ blockchain หมายความว่าการโกงคะแนนเสียงจะเกิดขึ้นได้ยากมาก

ตัวอย่างเช่น ระบบการลงคะแนนเสียงสามารถทำงานได้โดยที่พลเมืองแต่ละคนของประเทศจะได้รับสกุลเงินดิจิทัลหรือโทเค็นประเภทหนึ่ง จากนั้นผู้สมัครแต่ละคนจะได้รับที่อยู่กระเป๋าเงินเฉพาะ และผู้ลงคะแนนจะส่งโทเค็นหรือคริปโตไปยังที่อยู่ของผู้สมัครที่ต้องการลงคะแนนเสียง

ลักษณะที่โปร่งใสและตรวจสอบย้อนกลับได้ของบล็อกเชนจะช่วยลดทั้งความจำเป็นในการนับคะแนนโดยมนุษย์และความสามารถของผู้ไม่ประสงค์ดีในการยุ่งเกี่ยวกับบัตรลงคะแนนจริง อีกหนึ่งมันคือ การตัดตัวกลางที่มักเป็นจุดไม่โปร่งใสและตรวจสอบได้ยากออกไปนั่นเอง

ประโยชน์ของบล็อกเชน

บล็อกเชนสามารถทำในพัฒนาต่อยอดได้อีกมากมาย เช่นเดียวกับการสร้างบ้านสักหลังหนึ่ง หากโครงสร้างของบ้านแข็งแรงการต่อเติมใดๆ ก็สามารถทำได้ พัฒนาแอพพลิเคชั่นหรือการใช้งานบนบล็อกเชนจึงไม่มีขอบเขตจำกัด เพราะบล็อกเชนเสริมสร้างความแข่งแกร่งให้แก่ระบบการโอนถ่ายข้อมูล ที่เป็นรากฐานของโลกดิจิตอลในปัจจุบันนั่นเอง

ประโยชน์ของบล็อกเชน คือ ลดต้นทุน แม่นยำสูง โปร่งใส และมีการกระจายอำนาจ

ความแม่นยำที่สูง

ธุรกรรมบนเครือข่ายบล็อกเชนได้รับการอนุมัติจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์หลายพันเครื่อง สิ่งนี้จะขจัดการมีส่วนร่วมของมนุษย์เกือบทั้งหมดในกระบวนการตรวจสอบ ส่งผลให้มีข้อผิดพลาดของมนุษย์น้อยลงและบันทึกข้อมูลได้อย่างแม่นยำ

แม้ว่าคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายจะทำผิดพลาดในการคำนวณ ข้อผิดพลาดจะเกิดขึ้นกับสำเนาของบล็อกเชนเพียงชุดเดียวเท่านั้น และเพื่อป้องกัน ข้อมูลจึงต้องได้รับการยอมรับจากคอมพิวเตอร์อย่างน้อย 51% ของเครือข่าย ซึ่งแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยสำหรับเครือข่ายขนาดใหญ่อย่าง Bitcoin ที่จะปล่อยให้ธุรกรรมที่ผิดพลาดเกิดขึ้นได้

ลดต้นทุนด้านธุรกรรม

โดยทั่วไป ผู้บริโภคต้องจ่ายเงินให้ธนาคารเพื่อตรวจสอบธุรกรรม หรือจ่ายค่าทนายความเพื่อลงนามในเอกสาร บล็อกเชนช่วยขจัดความจำเป็นในการยืนยันจากบุคคลที่สาม และด้วยวิธีนี้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง

ตัวอย่างเช่น เจ้าของธุรกิจที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเมื่อรับชำระเงินด้วยบัตรเครดิต เนื่องจากธนาคารและบริษัทรับชำระเงินต้องดำเนินการธุรกรรมเหล่านั้น แต่ Bitcoin ไม่มีหน่วยงานกลางและมีค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมที่จำกัด

บล็อกเชนช่วยการกระจายอำนาจ

บล็อกเชนไม่ได้จัดเก็บข้อมูลใด ๆ ไว้ที่ส่วนกลาง บล็อกเชนจะถูกคัดลอกและกระจายไปทั่วเครือข่ายคอมพิวเตอร์แทน เมื่อใดก็ตามที่บล็อกใหม่ถูกเพิ่มเข้าไปในเครือข่าย คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะอัปเดตบล็อกเชนเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง

การกระจายข้อมูลนั้นไปทั่วเครือข่าย แทนที่จะเก็บไว้ในฐานข้อมูลกลางแห่งเดียว มันจึงยากต่อการดัดแปลง หากสำเนาของบล็อกเชนตกไปอยู่ในมือของแฮ็กเกอร์ ก็จะมีเพียงสำเนาส่วนเดียวเท่านั้นที่ถูกโจมตีและมันจะถูกปฏิเสธด้วยระบบฉันทามติ

ประสิทธิภาพสูง

การทำธุรกรรมผ่านหน่วยงานกลางอาจใช้เวลา 2-3 วันในการชำระเงิน เช่น หากคุณพยายามฝากเช็คในเย็นวันศุกร์ คุณอาจไม่เห็นเงินในบัญชีของคุณจนกว่าจะถึงเช้าวันจันทร์ ในขณะที่สถาบันการเงินเปิดทำการในช่วงเวลาทำการปกติ 5 วันต่อสัปดาห์ บล็อกเชนกลับทำงานตลอด 24 ชั่วโมง 7 วันต่อสัปดาห์ และ 365 วันต่อปี

เทคโนโลยีนี้สามารถทำธุรกรรมให้เสร็จสิ้นได้ภายในเวลาเพียง 10 นาที และถือว่าปลอดภัยหลังจากผ่านไปเพียงไม่กี่ชั่วโมง สิ่งนี้มีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการค้าข้ามพรมแดน ซึ่งมักจะใช้เวลานานกว่ามากเนื่องจากปัญหาเกี่ยวกับเขตเวลาและข้อเท็จจริงที่ว่าทุกฝ่ายต้องยืนยันการดำเนินการชำระเงิน

แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | มกราคม 2025
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | มกราคม 2025
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | มกราคม 2025

ข้อจำกัดความรับผิด

ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์

IMG_4466-1.png
Nonthachai Sukkankosol
นนทชัย สักการโกศล จบการศึกษาปริญญาโท ด้านการวิจัยผลงานศิลปะร่วมสมัย จาก SOAS University of London แต่ผันตัวมาเป็นผู้แนะนำการลงทุนที่บริษัทหลักทรัพย์ Finansia Syrus Securities PLC. เขาถือใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุนตราสารทุน ตราสารหนี้และกองทุนรวม และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า รวมถึงใบรับรองด้านการวิเคราะห์เชิงเทคนิค CMT ระดับ 2 จาก CMT Association ประเทศสหรัฐอเมริกา เขามีประสบการณ์เกี่ยวกับการลงทุนในผลิตภัณฑ์ต่างๆ และเริ่มลงทุนคริปโตเคอเรนซี่มาตั้งแต่ปี 2016
READ FULL BIO