Trusted

Celer Network คืออะไร? มารู้จักกับโปรโตคอลเลเยอร์ 2 ที่กำลังมาแรง!

13 mins
โดย Alex Lielacher
แปลแล้ว Akradet Mornthong

โซลูชั่นเลเยอร์ 2 เป็นนวัตกรรมที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อพื้นที่บล็อกเชนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา Celer Network (CELR) คือ โซลูชั่นที่มีจุดมุ่งหมายที่จะผสมผสานนวัตกรรมเลเยอร์ 2 ที่ดีที่สุดเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้ผู้ใช้งานได้รับประสบการณ์การใช้งานบล็อกเชนต่างๆ ได้ราบรื่นมากยิ่งขึ้น

ในบทความนี้ เราจะมาเจาะลึกเข้าไปในโลกของ Celer Network เพื่อทำความเข้าใจในวิธีการทำงาน และจุดมุ่งหมายในการแก้ปัญหาความไม่เข้ากันของแอปพลิเคชั่นแบบกระจายอำนาจ

Celer Network คืออะไร?

Celer Network คือ โปรโตคอลที่มีจุดมุ่งหมายในการเพิ่มปริมาณงานที่สามารถทำได้

Celer Network คือ โปรโตคอลที่มีจุดมุ่งหมายในการเพิ่มปริมาณงานที่สามารถทำได้ และความสามารถในการปรับขนาดของเครือข่ายบล็อกเชน ไปพร้อมกับการทำให้การทำธุรกรรมมีความรวดเร็วและมีค่าใช้จ่ายที่ไม่แพง

โซลูชั่นการปรับขนาดเลเยอร์ 2 มีเป้าหมายที่จะแก้ปัญหาใหญ่ในโลกบล็อกเชน ซึ่งก็คือ การสร้างสมดุลระหว่างความสามารถในการปรับขนาดกับการกระจายอำนาจของเครือข่าย Celer Network ตั้งเป้าที่จะบรรลุความสำเร็จนี้โดยการใช้เทคนิคในการปรับขนาดแบบ Off-Chain (การส่งธุรกรรมไปประมวลผลนอกเครือข่ายหลัก) ซึ่งจะช่วยให้สามารถทำธุรกรรมได้มากยิ่งขึ้น โดยไม่ทำให้เครือข่ายหลักช้าลง

ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ต่างก็เห็นพ้องต้องกันว่า บล็อกเชนจะขยายขนาดออกเป็นเลเยอร์ต่างๆ ซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับ Ethereum เช่นกัน โดยที่ EIPs ที่สร้างขึ้นสำหรับเชนหลักจะจัดการกับปัญหาในการปรับขนาดได้ในระดับนึงเท่านั้น แม้แต่ EIPs ที่ถูกออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหาการปรับขนาดของ Ethereum ก็ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่ากับโซลูชั่นการปรับขนาดแบบ Off-Chain

“การปรับขนาดแบบ Off-Chain ไม่เพียงแต่เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพเท่านั้น แต่ยังเป็นวิธีเดียวที่จะสนับสนุน DApps ขนาดใหญ่ได้พร้อมกับความเป็นส่วนตัวที่ดียิ่งขึ้น และยังคงรักษาความไว้วางใจและการกระจายอำนาจเอาไว้ได้ นี่คือจุดเปลี่ยนในการนำบล็อกเชนมาใช้ในวงกว้าง และจะเป็นกลไกที่ขับเคลื่อนแอปพลิเคชั่นแบบกระจายอำนาจขนาดใหญ่ทั้งหมด”

ผู้ร่วมก่อตั้ง Mo Dong ให้สัมภาษณ์กับ LilMoonLambo: Medium

วัตถุประสงค์หลักของ Celer คือการทำให้การดำเนินงานของ Smart Contract มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น พวกเขายังมีเป้าหมายที่จะเพิ่มปริมาณการทำธุรกรรมนอกเครือข่ายให้มากยิ่งขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น พวกเขายังต้องการที่จะมอบประสบการณ์การใช้งาน DApps ที่ยอดเยี่ยมบนแพลตฟอร์มบล็อกเชนที่หลากหลาย เช่น Ethereum และ Polkadot เป็นต้น

Celer Inter-chain Messaging Framework คือหนึ่งในผลิตภัณฑ์หลักของทีมงาน Celer ซึ่งช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้าง DApps อำนาจที่ทำงานบนบล็อกเชนต่างๆ ได้อย่างราบรื่น เฟรมเวิร์กนี้ช่วยให้สามารถใช้สภาพคล่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้มั่นใจได้ว่าแอปพลิเคชั่นทำงานได้อย่างถูกต้อง และช่วยให้สามารถแชร์ข้อมูลผ่านบล็อกเชนต่างๆ ได้ และ DApps ที่เปิดใช้งาน Inter-chain Messaging ของ Celer ก็จะช่วยให้ผู้ใช้งานได้รับประโยชน์จากระบบนิเวศของบล็อกเชนที่หลากหลายอีกด้วย

รู้หรือไม่ว่า? ชื่อ “Celer” นั้นมาจากคำว่า “Celeritas” ที่เป็นภาษาละติน ซึ่งแปลว่า “ความรวดเร็ว” หรือ “ความเร็ว”

ทีมงานหลักของ Celer

ทีมงานหลักของ Celer ประกอบไปด้วยผู้ก่อตั้ง 4 คน พวกเขาทั้ง 4 คนจบปริญญาเอกจากสถาบันวิทยาการคอมพิวเตอร์ชั้นนำ เช่น Princeton, MIT, UC Berkeley และ UIUC

Dr. Mo Dong คือ CEO ของ Celer เขาได้รับปริญญาเอกจาก UIUC โดยมุ่งเน้นในการวิจัยเกี่ยวกับการออกแบบโปรโตคอลเครือข่าย ระบบการกระจายอำนาจ การทวนสอบเชิงรูปนัย และทฤษฎีเกม Dr. Dong ยังเป็นผู้นำโปรเจ็กต์ที่ปรับปรุงความเร็วข้อมูลข้ามทวีปได้ถึง 10 – 100 เท่า โดยการใช้อัลกอริธึมที่ชาญฉลาด

Dr. Junda Liu ได้รับปริญญาเอกจาก UC Berkeley เขาทำงานที่ Google และเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้ง Project Fi ซึ่งเป็นบริการมือถือของ Google ช่วยปรับปรุงจากคอนเซปต์ไปสู่ธุรกิจที่มีมูลค่ามากกว่า 100 ล้านดอลลาร์ต่อปีภายในเวลา 2 ปี

Dr. Xiaozhou Li ได้รับปริญญาเอกจาก Princeton University ความเชี่ยวชาญของเขาคือการสร้างอัลกอริธึมและโปรโตคอลที่สามารถปรับขนาดได้ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงด้วยต้นทุนที่ต่ำ Google และ Intel ได้นำผลงานบางส่วนของเขาไปใช้งาน

Dr. Qingkai Liang สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจาก MIT ในสาขาระบบแบบกระจายที่มีความเชี่ยวชาญในด้านอัลกอริธึมการควบคุมเครือข่ายในสภาพแวดล้อมที่ไม่เป็นมิตร อัลกอริธึมที่ล้ำหน้าของเขาบางส่วนได้ถูกนำมาใช้ใน Raytheon BBN Technologies และ Bell Labs

Celer Network ทำงานอย่างไร?

Celer ใช้แนวคิดบางส่วนจากโซลูชันเลเยอร์ 2 เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของตนเอง ตัวอย่างเช่น การใช้ประโยชน์จาก State Channels — ดังที่เห็นได้ในโซลูชั่นการปรับขนาด เช่น Lightning Network ของ Bitcoin — เพื่อให้การทำธุรกรรมรวดเร็วและมีราคาถูก แต่เครือข่ายยังมีการใช้อัลกอริธึม Distributed Balanced Routing แบบใหม่เพื่อให้ได้ปริมาณงานที่สูงขึ้นอีกด้วย

นอกจากนี้ พวกเขายังใช้กลไกฉันทามติ Proof-of-Stake (PoS) ที่สร้างขึ้นบน Tendermint ซึ่งช่วยให้บล็อกเชนต่างๆ สามารถสื่อสารระหว่างกันได้ แพลตฟอร์มนี้สามารถใช้เป็น Sidechain ที่ให้ความปลอดภัยในระดับเดียวกับบล็อกเชนเลเยอร์ 1 เช่น Cosmos หรือ Polygon ได้ โดยมี CELR เป็นสินทรัพย์หลักของแพลตฟอร์ม

Celer มีโมเดลการรักษาความปลอดภัยที่แตกต่างกัน 2 รูปแบบ รูปแบบแรกจะคล้ายกับ Optimistic Rollups เช่น Optimism และ Arbitrum และอีกแบบจะคล้ายกับการรักษาความปลอดภัยบล็อกเชน PoS ดังที่เคยได้กล่าวไปข้างต้น Inter-Chain DApps บน Celer สามารถเลือกใช้งานรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง หรือจะใช้งานทั้ง 2 รูปแบบก็ได้ โดยแลกมากับความปลอดภัย ต้นทุน และความเร็วที่อาจจะลดประสิทธิภาพลง

โดยพื้นฐานแล้ว Celer ใช้ Smart Contract บนบล็อกเชนที่หลากหลาย และใช้โซลูชั่นการปรับขนาดแบบ Off-Chain เพื่อปรับปรุงความเร็วและประสบการณ์การใช้งาน DApps ของผู้ใช้งานนั่นเอง

ต่อไป เรามาดูส่วนประกอบบางส่วนที่ก่อร่างขึ้นเป็นสถาปัตยกรรมทางเทคนิคของพวกเขากันดีกว่า

cChannel

นี่คือรากฐานของแพลตฟอร์ม Celer มันเป็นการใช้เทคนิคการปรับขนาดแบบ Off-Chain ยอดนิยม 2 แบบบนเลเยอร์นี้ ได้แก่ State Channels และ Sidechains โดย State Channels ได้ถูกนำมาใช้งานเป็นครั้งแรกกับ Lightning Network เพื่อเปิดใช้งานการชำระเงินแบบไมโครเพย์เมนต์ Bitcoin นอกเครือข่ายอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ Polygon ใช้งาน Sidechains บน Ethereum

เลเยอร์ cChannel ทำงานร่วมกับบล็อกเชนเลเยอร์ 1 เช่น Ethereum จากนั้นจะอัพเดตเลเยอร์ด้านบนด้วยสถานะบล็อกเชนปัจจุบัน

cRoute

Celer Network ใช้วิธีการกำหนดเส้นทางที่เรียกว่า Distributed Balanced Routing (DBR) ซึ่งเป็นอัลกอริทึมที่มีจุดมุ่งหมายที่จะแก้ไขปัญหาด้วยโซลูชั่น State Channel ที่มีอยู่ใน เช่น Lightning Network และ Raiden Network

แนวทางของ Celer คือการกระจายการรับส่งข้อมูลผ่านสิ่งที่เรียกว่า “Congestion Gradients” ซึ่งระบุในเอกสารไวท์เปเปอร์ของพวกเขาว่าจะได้ปริมาณงานสูงกว่าวิธีอื่นๆ ถึง 15 เท่า

cOS

นี่คือเฟรมเวิร์กและรันไทม์ที่ช่วยให้นักพัฒนาสร้าง รัน และใช้งาน DApps นอกเครือข่ายที่ปรับขนาดได้ง่ายยิ่งขึ้น ด้วย cOS นักพัฒนาสามารถโฟกัสไปที่การออกแบบประการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น ในขณะที่ปล่อยให้ระบบจัดการกับความซับซ้อนทางเทคนิคของการปรับขนาดแบบ Off-Chain

State Guardian Network (SGN)

โซลูชั่นของ Celer สร้างขึ้นบน SGN ซึ่งเป็นบล็อกเชนแบบ Proof-of-Stake (PoS) ที่อยู่บนบล็อกเชน Cosmos ภายใน SGN Validators (ตัวตรวจสอบความถูกต้อง) จะมีบทบาทสำคัญในการดูแล Smart Contract ของ Celer ในเครือข่ายต่างๆ หน้าที่ของพวกเขาคือการถ่ายทอดข้อความ หรือถ่ายโอนไปยังสัญญาที่เกี่ยวข้องในเครือข่ายเป้าหมาย

ผู้ที่ถือโทเค็น CELR สามารถมีส่วนร่วมกับ SGN ได้โดยการเป็น Validators หรือผ่านการ Delegation โดยผู้ที่เข้าร่วม SGN จะได้รับรางวัลจากการล็อกเหรียญ (Staking Reward) และค่าธรรมเนียม

Celer Inter-chain Message Framework (IM)

Celer IM ใช้ความสามารถของ SGN ในการตรวจสอบข้อความที่ส่งระหว่างบล็อกเชนต่างๆ ด้วยการผสมผสานกับการใช้งาน Celer cBridge โครงสร้างของ Celer IM จึงสามารถส่งได้ทั้งโทเค็นและข้อมูลต่างๆ ได้ในธุรกรรมเดียว ทำให้นักพัฒนาสามารถสร้างแอปพลิเคชั่นแบบ Multi-Blockchain ที่ทำให้ประสบการณ์ของผู้ใช้งานในการโอนถ่ายสินทรัพย์มีความเรียบง่ายมากยิ่งขึ้นได้

cBridge

เลเยอร์นี้เปิดตัวในปี 2021 เป็นเลเยอร์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการถ่ายโอนมูลค่าระหว่างเชนเลเยอร์ 1 และเลเยอร์ 2 ต่างๆ อย่างรวดเร็วและมีค่าใช้จ่ายที่ถูกลง

คุณสามารถถ่ายโอนมูลค่าระหว่างเครือข่ายเลเยอร์ 2 บน Ethereum เช่น Optimism, Arbitrum และ Loopring และ PoS Sidechains เช่น Matic ได้อย่างง่ายดาย นอกจากนี้ยังได้มีการขยายขอบเขตการสนับสนุนไปยังบล็อกเชนอื่นๆ เช่น BNB Chain, Avalanche, Aptos และอื่นๆ อีกมากมาย

Layer2.finance

Layer2.finance เป็นส่วนเสริมที่สำคัญของเครือข่าย Celer โดยมีเป้าหมายเพื่อจัดการกับปัญหาความท้าทายในการใช้งาน DeFi เช่น ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมที่สูง และ ความซับซ้อนในการใช้งาน

มันจะช่วยให้ผู้ใช้งานโอนเงินผ่านโปรโตคอล DeFi ต่างๆ ได้ด้วยค่าใช้จ่ายที่ลดลง พร้อมตัวเลือกในการใช้งานสถาปัตยกรรม Optimistic Rollup หรือ Zero-Knowledge Proof ผ่านแอปพลิเคชั่น คุณสามารถย้ายเงินทุนของคุณระหว่างบริการ DeFi ยอดนิยมต่างๆ ได้ เช่น Compound, Aave และ Curve ฯลฯ

อะไรที่ทำให้ Celer แตกต่างจากโซลูชั่น L2 อื่นๆ

บล็อกเชนเป็นเทคโนโลยีที่มีความรวดเร็ว, ปรับขนาดได้, และมีความปลอดภัยสูง นักพัฒนาสามารถเลือกใช้งานตัวเลือกความปลอดภัยที่แตกต่างกันได้ นอกจากนี้ยังสามารถเลือกสิ่งที่พวกเขาต้องการโดยอิงจากสิ่งที่พวกเขาอยากทำได้อีกด้วย

เทคโนโลยีการปรับขนาดเลเยอร์ 2 ของ Celer โฟกัสไปที่การทำงานร่วมกันบนบล็อกเชนหลักมากมาย และช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างแอปที่สามารถสื่อสารระหว่างกันผ่านบล็อกเชนต่างๆ ได้ ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้ง่ายยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม Celer ต้องแข่งขันกับคู่แข่งที่โด่งดังและมีชื่อเสียง ซึ่งโฟกัสในแนวทางการใช้งานเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกัน เช่น Optimistic Rollups และ Zero-Knowledge Proofs ตัวอย่างเช่น Arbitrum และ Optimism ที่มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นจำนวนมากในระบบนิเวศ Ethereum ซึ่งเป็นบล็อคเชนสัญญาอัจฉริยะที่ใหญ่ที่สุด นอกจากนี้ พวกเขายังต้องแข่งขันกับคู่แข่งรายอื่นๆ เช่น Cartesi ซึ่งอ้างว่าเป็นโซลูชั่นสำหรับแอปโดยเฉพาะ

เครือข่ายนี้เหมาะสำหรับนักพัฒนาเป็นอย่างยิ่ง เพราะมันสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสำหรับการใช้งานในหลายๆ กรณี ซึ่งรวมถึง DeFi, NFT, เกม, และการกำกับดูแล ฯลฯ

โทเค็น CELR

โทเค็น CELR มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยอำนวยความสะดวกให้กับฟังก์ชั่นต่างๆ ของเครือข่าย CELR เป็นโทเค็น ERC-20 บนบล็อกเชน Ethereum ที่มีประโยชน์ใช้งานมากมาย เช่น การ Staking, ใช้จ่ายค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม และใช้ในการกำกับดูแล

การ Staking CELR จะช่วยให้ผู้ใช้งานมีส่วนร่วมในการรักษาความปลอดภัยเครือข่ายและได้รับรางวัล ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมจะชำระด้วยเหรียญ CELR ซึ่งช่วยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจบนเครือข่าย สุดท้าย ผู้ถือ CELR ยังมีสิทธิ์ในการตัดสินใจเกี่ยวกับอนาคตของแพลตฟอร์มผ่านกลไกการกำกับดูแล

ราคาของโทเค็น CELR จาก CoinMarkerCap
ราคาของโทเค็น CELR: CoinMarkerCap

ราคาของ CELR ณ ต้นเดือนสิงหาคม 2023 อยู่ที่ 0.0142 ดอลลาร์ โดยมีมูลค่าตลาดรวมเกือบ 108 ล้านดอลลาร์ อุปทานหมุนเวียนอยู่ที่เกือบ 7.6 พันล้านโทเค็น โดยมีอุปทานรวมและสูงสุด 1 หมื่นล้านโทเค็น

ประโยชน์การใช้งานของเครือข่าย Celer

ประโยชน์การใช้งานหลักของ Celer ประการหนึ่งคือใน DeFi ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมที่สูงและเวลาการยืนยันที่ช้าบน Ethereum ถือเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมานาน แต่ Celer Network สามารถช่วยให้แพลตฟอร์ม DeFi สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งหมายความว่า ผู้ใช้งานและนักพัฒนาสามารถใช้ประโยชน์จาก DeFi ได้มากยิ่งขึ้น

เทคโนโลยีของพวกเขาที่ถูกนำไปใช้ในพื้นที่อื่นๆ ได้แก่:

  • กระดานเทรดแบบกระจายอำนาจ: นักพัฒนาสามารถสร้างโซลูชั่นที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสลับโทเค็นข้ามเครือข่ายต่างๆ ด้วยการทำธุรกรรมเพียงครั้งเดียว
  • Bridges: ช่วยให้ผู้ใช้งานส่งโทเค็นและ NFT เครือข่ายต่างๆ ได้ cBridge คือตัวอย่างของแพลตฟอร์มบริดจ์ (แพลตฟอร์มที่ใช้ถ่ายโอนข้อมูลข้ามเครือข่าย) บนเครือข่ายของ Celer
  • Yield Aggregators: นักพัฒนาสามารถสร้างแอปพลิเคชั่นที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถจัดการ Blockchain Vault จำนวนมากจากเครือข่ายเดียวได้
  • โปรโตคอลการให้กู้ยืม: สภาพคล่องหรือหลักประกันในเครือข่ายนึงสามารถใช้เพื่อยืมสินทรัพย์ในเครือข่ายอื่นได้
  • การกำกับดูแล: โปรเจกต์สามารถมีกลไกการกำกับดูแลที่เป็นหนึ่งเดียวกันได้ โดยไม่จำเป็นต้องให้ผู้เข้าร่วมย้ายโทเค็นการกำกับดูแลข้ามบล็อกเชนต่างๆ

ข้อดีและข้อเสียของ Celer

เช่นเดียวกับโซลูชันบล็อกเชนอื่นๆ Celer Network ก็มีข้อดีและข้อเสียของตัวมันเอง

ข้อดี

  • ความสามารถในการปรับขนาด: Celer มีเป้าหมายในการเสริมคสามารถในการปรับขนาดให้กับแพลตฟอร์มบล็อกเชนยอดนิยม ซึ่งจะช่วยให้ธุรกรรมจำนวนมากสามารถประมวลผลได้รวดเร็วขึ้นและมีค่าใช้จ่ายลดลง
  • ใช้จ่ายได้อย่างคุ้มค่า: ผู้ใช้งานสามารถหลีกเลี่ยงค่าแก๊สที่สูงในการทำธุรกรรมแบบ On-Chain ได้ด้วยการทำธุรกรรมแบบ Off-Chain ทำให้การทำธุรกรรมแบบไมโครเพย์เม้นต์ และการใช้งานในชีวิตประจำวันเป็นไปได้มากขึ้น
  • ประโยชน์ใช้งานที่หลากหลาย: Celer Network ใช้งานได้กับแอปพลิเคชั่นที่หลากหลาย ตั้งแต่ DeFi และเกม ไปจนถึง การจัดส่งเนื้อหาและ NFTs เป็นต้น

ข้อเสีย

  • เป็นนวัตกรรมที่ค่อนข้างใหม่: มีอยู่หลายวิธีในการปรับขนาดเลเยอร์ 2 จนถึงปัจจุบัน ยังไม่ชัดเจนว่าวิธีการไหนแก้ปัญหาได้ดีที่สุด และยังไม่ทราบถึงสิ่งที่อาจจะส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของ DApps ที่สร้างขึ้นบนโซลูชั่นนี้
  • การยอมรับของเครือข่าย: พื้นที่นี้มีผู้เล่นรายใหญ่ที่ครองตลาดอยู่แล้ว ซึ่งมีความได้เปรียบจากเครือข่ายที่แข็งแกร่ง คงต้องรอดูกับว่า Celer จะแย่งส่วนแบ่งการตลาดจากโซลูชั่นเลเยอร์ 2 อื่นๆ ได้อย่างไร

Celar Network เป็นแพลตฟอร์มที่สนับสนุน DeFi

Celer Network คือแพลตฟอร์มที่มาช่วยจัดการกับปัญหาใหญ่ของบล็อกเชน โดยนำเสนอเครื่องมือและเฟรมเวิร์กที่ใช้งานได้ง่ายที่จะช่วยให้นักพัฒนาสร้าง DApps แบบ Inter-Chain ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานเข้าถึงเครือข่ายต่างๆ ได้ในราคาถูก อย่างไรก็ตาม พวกเขาต้องเผชิญหน้ากับคู่แข่งรายใหญ่ในพื้นที่เลเยอร์ 2 ที่มีการแข่งขันสูง ความสำเร็จของการแก้ปัญหาเรื่องการปรับขนาดและการกระจายอำนาจ อาจจะขึ้นอยู่กับการได้รับการยอมรับของเครือข่าย

คำถามที่พบบ่อย

ใครคือผู้ที่อยู่เบื้องหลัง Celar Network?

CELR อยู่บนบล็อกเชนอะไร?

เครือข่าย Celer ใช้สำหรับทำอะไร?

แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | กันยายน 2024
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | กันยายน 2024
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | กันยายน 2024

ข้อจำกัดความรับผิด

ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์

Akhradet-Mornthong-Morn.jpg
Akradet Mornthong
อัครเดช หมอนทอง เป็น นักแปล/นักเขียนคอนเทนต์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน NFT Games, Metaverse, AI, Crypto และเทคโนโลยีใหม่ๆ เขาจบการศึกษาในสาขาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล และมีประสบการณ์ในการทำงานในวงการเกมมากกว่า 10 ปี เมื่อ NFT Games ได้กลายเป็นกระแสขึ้นมาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เขาก็ไม่พลาดที่จะก้าวเข้ามาในวงการนี้เพื่อศึกษาข้อมูลในเชิงลึกต่างๆ ของวงการ NFT รวมไปถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Blockchain และ Crypto อีกด้วย
READ FULL BIO
ได้รับการสนับสนุน
ได้รับการสนับสนุน