Trusted

Crypto Scam คืออะไร?

6 mins
อัพเดทโดย Apinat Phosuwan

Crypto Scam หรือกลโกงคริปโต เป็นหนึ่งในภัยร้ายที่คอยกัดกินอุตสาหกรรมและนักลงทุนตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นตลาดกระทิงหรือหมี แม้ว่าคุณจะทำกำไรได้เป็นกอบเป็นกำ แต่ถ้าคุณพลาดท่าให้แก่กลโกง คุณจะไม่เหลืออะไรเลย เราจะสามารถป้องกันทรัพย์สินของเราได้อย่างไรได้บ้าง เรามาดูกัน

หลายๆ คนคงจะเริ่มได้ยินเกี่ยวกับ “Cryptocurrency” ในช่วงตลาดหมีปี 2019 ที่ผ่านมาและเริ่มเข้าสู่ตลาด แต่สิ่งที่ตามมาก็คือ มิจฉาชีพ ที่เริ่มเล็งเห็นเม็ดเงินกับนักลงทุนทียังไม่มีประสบการณ์และภูมิคุ้มกันทางไซเบอร์ จุดอ่อนนี้ทำให้เกิดการฉ้อโกงและหลอกลวงมากมาย

ในปี 2020 มิจฉาชีพขโมยเงินของนักลงทุนไปกว่า 4.26 พันล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2021-2022 ตลาดหมีที่ผ่านมา มีการฉ้อโกงกว่า 11 พันล้านดอลลาร์ และ 5.9 พันล้านดอลลาร์ ตามลำดับ อ้างอิงจาก Chainalysis

ข้อมูลเหล่านี้ชี้ว่า มิจฉาชีพเป็นภัยตลอดเวลาไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปีก็ตามตราบใดที่อุตสาหกรรมนี้ยังมีเม็ดเงิน นักลงทุนควรจะมีความรู้ในเบื้องต้นว่า กลโกงจะมาในรูปแบบใดได้บ้าง

Crypto Scam คืออะไร

การฉ้อโกงคริปโตนับเป็น “อาชญากรรมทางไซเบอร์ (Cybercrime)”  และมีความผิดตามกฎหมาย มิจฉาชีพจะใช้วิธีการต่างๆ ในการหลอกล่อเอาเงินทุนของนักลงทุนไป ไม่ว่าจะเป็นการหลอกแฮคเลขกระเป๋า (seeds) หลอกให้โอน หรือแม้แต่การตั้งโบรกเกอร์ปลอม

มิจฉาชีพมักจะนำประวัติอัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมมาล่อ เพราะอุตสาหกรรมคริปโตเคอเรนซี่ให้ผลตอบแทนที่สูงมากในวัฏจักรที่ผ่านมา

4 ประเภทของ Crypto Scam ที่พบเห็นได้บ่อยๆ

ปัจจุบันมีกลโกงสารพัดวิธีนับไม่ถ้วน แต่ยังมีบางวิธีที่แพร่หลายอยู่ อย่างน้อยในเบื้องต้นนักลงทุนควรจะทราบรูปแบบคร่าวๆ และวิธีการทำงานของกลโกงเหล่านี้ไว้

1.การฟิชชิ่ง (Phishing)

การหลอกลวงแบบ Phishing  มักมาในรูปแบบ “Link ปลอม” เช่น การปลอมเว็ปไซต์ของกระดานซื้อขายชื่อดังต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น CEX หรือ DEX รวมถึงทุกๆ เว็ปไซต์ที่คุณจะต้องเชื่อมต่อกระเป๋าคริปโตพร้อมส่ง สัญญาอัจฉริยะปลอมเพื่อสูบเงิน หรือใส่รหัสผ่าน ในบางครั้งเว็บปลอมอาจโผล่ขึ้นมาในหน้าแรกของ Search Engine เลยด้วยซ้ำ

นอกจากนี้อาจมีการส่ง “Email ปลอม พร้อมลิ้งค์ปลอม” ที่อ้างตัวว่าส่งมาจากเว็ปไซต์ที่คุณอาจเคยใช้บริการต่างๆ นักลงทุนจึงควร “ตรวจสอบลิ้งค์ให้รอบครอบและสังเกตอีเมลของผู้ส่งก่อนการคลิ๊กหรือกรอกรหัสผ่านต่างๆ ก่อน” นอกจากนี้ยังมี Romance Scam ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้นอีกด้วย

2.โบรกเกอร์ปลอม และ Crypto Wallet ปลอม

หากคุณต้องการจะเก็บเงินหรือต้องการลงทุนในคริปโต คุณต้องเริ่มศึกษาแพลตฟอร์มที่คุณจะนำเงินไปใส่ไว้เพื่อเทรดหรือเพื่อเก็บเป็นอย่างแรก

โบรกเกอร์ปลอม มักเป็นกระดานซื้อขายที่ไม่มีใครรู้จัก แต่จะเข้าถึงนักลงทุนด้วยการยิงโฆษณาแอบแฝงตามแพลตฟอร์มโซเชียลต่างๆ โดยมักจะโฆษณาว่าแพลตฟอร์มนี้มีเซียนเทรดใช้งาน และจะให้คุณเข้าร่วมกลุ่มกับเขา แต่มีเงือนไขว่าคุณจะต้องสมัครและเข้าเทรดกับแพลตฟอร์มนี้เป็นต้น เมื่อคุณฝากเงินเข้าไป คุณอาจจะไม่สามารถถอนเงินได้อีกเลย

นักลงทุนควรมี “วิธีเลือกกระดานโบรกเกอร์ซื้อขาย” ที่มีชื่อเสียงและน่าไว้ใจ เช่น OKX, Kraken, หรือ Binance หรือ กรณี DEX อย่าง dYdX เป็นต้น

Crypto Wallet ปลอมเป็นอีกหนึ่งภัยร้าย กระเป๋าเงินคริปโตเป็นกระเป๋าแบบ Self-custodian หรือคุณสามารถจัดเก็บสินทรัพย์ของคุณได้โดยไม่ต้องไปฝากไว้กับใคร นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมต่อกระเป๋ากับบริการ DeFi ต่างๆ ได้โดยตรง

ทว่า ปัจจุบันมีมิจฉาชีพพยายามสร้างแพลตฟอร์มกระเป๋าปลอมเพื่อหลอกให้นักลงทุนโอนคริปโตเข้าไป นักลงทุนจึงควรศึกษาหา “Crypto Wallet ที่น่าเชื่อถือ” และตรวจสอบ Link ก่อนใช้งานทุกครั้ง เพราะ Seed Phrase จะเป็นรหัสสำคัญที่มจฉาชีพพยายามจะขโมยไป เพื่อปลดล๊อคกระเป๋าคุณและขโมยคริปโตออก

3.หลอกลงทุนในเหรียญ ICOs และ Rugpull

อีกสิ่งหนึ่งที่นักลงทุนควรระวังคือ “โปรเจคเหรียญคริปโตปลอม” รูปแบบของ ICOs ปลอมคือ การเสนอโปรเจคที่ดูชวนฝัน และปั่นกระแสว่าจะเติบโต 10 เท่า หรือ 100 เท่า ในบางครั้งก็มาในรูปแบบเหรียญ Meme ก็เป็นไปได้เช่นกัน เมื่อหลอกให้นักลงทุนเข้าไปซื้อเหรียญแล้ว ก็มีการเทขายและทิ้งโปรเจคในทันที

นักลงทุนควรตรวจสอบโปรเจคที่จะลงทุนให้ดีก่อนทุกครั้ง การทำ ICOs เพื่อ Rugpull มักเกิดขึ้นในช่วงตลาดกระทิง ที่นักลงทุนหน้าใหม่พยายามจะหา เหรียญพึ่งเกิด และหวังว่าจะสามารถทำกำไรได้เป็น 100x ในเวลาอันสั้น บางครั้งอาจมีการใช้ Influencer เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือหรือสร้างภาพฝันที่เกินจริงในการล่อลวง

4.แชร์ลูกโซ่ (Pyramid Scheme)

แชร์ลูกโซ่ เป็นหนึ่งในภัยร้ายในทุกวงการ สำหรับคนไทยคงจะเคยได้ยินเกี่ยวกับ Forex3D มาแล้ว แชร์ลูกโซ่ในตลาดคริปโตก็ไม่แตกต่างกัน

วิธีการของพวกเขาคือ การโฆษณาว่าหากมาร่วมทุนกับพวกเขา คุณจะได้รับผลตอบแทน 10% ทุกเดือน หรือเป็นจำนวนเงินใดๆ ก็ตาม วิธีการโกงนี้คล้ายกับการทำโบรกเกอร์ปลอมแต่ครั้งนี้เป็นการหลอกว่าตนเองเป็นเซียนเทรด และหลอกให้คุณโอนเงินไปให้

หากคุณพลาดตกเป็นเหยื่อ มิจฉาชีพจะบอกให้คุณโอนเงินเข้ามาเพิ่มด้วยเหตุผลสารพัดถงจะถอนเงินออกไปได้ ทำให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้น หากพลาดแล้วคุณไม่ควรโอนเงินใดๆ เพิ่มเติมเด็ดขาด

ข้อสังเกตว่าอาจจะเป็นมิจฉาชีพ

ตามประเภทของการหลอกลวงที่เราได้กล่าวถึงไป เราสามารถสังเกตรูปแบบของมิจฉาชีพได้ดังนี้

  • อ้างตัวเป็นเซียนเทรดและต้องการให้คุณโอนเงินให้เขา โดยจะตัดเปอร์เซ็นต์กำไรให้
  • โฆษณาชวนเชื่อว่าจะให้ผลตอบแทนสูงผ่าน Social Media ต่างๆ
  • โบรกเกอร์ที่ไม่เป็นที่รู้จัก ไม่มีที่มาที่ไปและไม่มีใบอนุญาตใดๆ
  • Link ปลอม และ Email ปลอม โดยชื่อลิ้งค์หรือผู้ส่งผิดปกติ
  • โปรเจคเกิดใหม่ที่ไม่มีข้อมูลที่โปร่งใสหรือมากพอแก่นักลงทุน

วิธีป้องกัน Crypto Scam

  • เช็ค Link ที่ถูกส่งต่อและ domain เว็ปไซต์ (www….)ให้แน่ใจก่อนทุกครั้ง กดกรอกข้อมูลหรือเชื่อมต่อใดๆ กับแพลตฟอร์ม
  • การลงทุนในสินทรัพย์ใดก็ตาม ต้องศึกษาก่อนทุกครั้ง (DYOR) เช่น ทีมผู้ก่อตั้ง Tokenomics เทคโนโลยีและโปรเจคที่นำเสนอ
  • ไม่มีกำไรที่ได้มาฟรีๆ (No Free Lunch) ไม่มีใครที่จะมาหาเงินหากำไรให้กับคุณโดยไร้ความเสี่ยง อย่าตกเป็นเหยื่อเพราะโฆษณาชวนเชื่อว่าคุณจะได้เงินมาฟรีๆ ไม่ว่าจะกรณีใดก็ตาม
  • เรียนรู้โลกคริปโตเบื้องต้นว่า อุตสาหกรรมคริปโตมีองค์ประกอบอะไรบ้าง อย่างน้อยคุณควรรู้ถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนและเงินของคุณว่าสิ่งเหล่านี้คืออะไร และมีแพลตฟอร์มไหนบ้างในปัจจุบันที่น่าเชื่อถือ เช่น DeFi, CEX, DEX, Crypto Wallet, Seed Phase, NFTs, ICOs, Staking และ Airdrop เป็นต้น

วิธีตรวจสอบและรายงานเบาะแสมิจฉาชีพ

หากคุณพบเจอกลุ่มคนหรืออีเมลที่อาจเป็นมิจฉาชีพ คุณสามารถหาแจ้งเบาะแสเพื่อการตรวจสอบได้ดังนี้

  • กรณีสงสัยว่าแอบอ้างเป็นบริษัทหรือแพลตฟอร์มชื่อดัง ให้ถ่ายภาพข้อความหรืออีเมลเพื่อสอบถามกับ Customer Support ของแต่ละแพลตฟอร์มก่อน
  • กรณีสงสัยว่าเป็นมิจฉาชีพหลอกลวงให้ร่วมลงทุนในไทย ให้แจ้งไปที่เว็ปไซต์กรมสอบสวนพิเศษ (Department of Special Investigation – DSI) หรือติดต่อกับ พนักงานสอบสวนกองคดีธุรกิจการเงินนอกระบบ : 02-142-2831 หรือสายด่วนกรมสอบสวนพิเศษ 1202
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | พฤศจิกายน 2024
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | พฤศจิกายน 2024
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | พฤศจิกายน 2024

ข้อจำกัดความรับผิด

ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์

IMG_4466-1.png
Nonthachai Sukkankosol
นนทชัย สักการโกศล จบการศึกษาปริญญาโท ด้านการวิจัยผลงานศิลปะร่วมสมัย จาก SOAS University of London แต่ผันตัวมาเป็นผู้แนะนำการลงทุนที่บริษัทหลักทรัพย์ Finansia Syrus Securities PLC. เขาถือใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุนตราสารทุน ตราสารหนี้และกองทุนรวม และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า รวมถึงใบรับรองด้านการวิเคราะห์เชิงเทคนิค CMT ระดับ 2 จาก CMT Association ประเทศสหรัฐอเมริกา เขามีประสบการณ์เกี่ยวกับการลงทุนในผลิตภัณฑ์ต่างๆ และเริ่มลงทุนคริปโตเคอเรนซี่มาตั้งแต่ปี 2016
READ FULL BIO
ได้รับการสนับสนุน
ได้รับการสนับสนุน