EPS (Earning Per Share) หรือ กำไรต่อหุ้น เป็นหนึ่งในอัตราส่วนทางการเงินที่นิยมนำมาประเมินสมรรถภาพของบริษัทต่างๆ บทความนี้จะแนะนำวิธีการใช้งาน ความแตกต่างจาก EPS Growth ประโยชน์ และ ข้อจำกัด
หนักลงทุนหลายๆ ท่านคงจะเคยได้ยินคำนี้มาบ้างแล้ว โดยเฉพาะกับการลงทุนในตลาดหุ้น ซึ่งโดยทั่วไปนักวิเคราะห์จะนำอัตราส่วนดังกล่าวมาประเมินว่า หลักทรัพย์นั้น น่าลงทุนหรือไม่
EPS คืออะไร พร้อมสูตรคำนวณง่ายๆ
Earning per Share หรือ กำไรต่อหุ้น ยิ่งกำไรต่อหุ้นมาก ยิ่งบ่งชี้ว่าบริษัทมีความสามารถในการทำกำไรที่ดี และนับเป็นการวิเคราะห์ด้าน Funadmental Analysis เพื่อ “เลือกตัวหลักทรัพย์ที่น่าสนใจ” ซึ่งแตกต่างจาก Technical Analysis เช่น การตีเทรนไลน์ การวิเคราะห์ด้วย Elliot Wave Theory หรือ การใช้ Moving Average ที่เน้นในการหาจังหวะเข้าออกในการเทรด
ในการคำนวณมันคือ อัตราส่วนที่เปรียบเทียบระหว่าง “กำไรสุทธิ (Net Profit)” และ “จำนวนหุ้นบริษัทที่ชำระแล้ว (Outstanding Shares)” โดยสามารถคำนวณได้ดังนี้
วิธีใช้ EPS
เมื่อพูดถึงวิธีการพิจารณา อัตราส่วนกำไรต่อหุ้น นักวิเคราะห์มักใช้ค่าปัจจุบันไปวิเคราะห์เทียบเคียงกับ EPS ในอดีตของบริษัทเดียวกันเสียมากกว่า โดยอนุมานว่า บริษัทจะใช้บรรทัดฐานเดียวกันในการระบุงบกำไรขาดทุน ทำให้การเทียบกับอดีตสามารถสะท้อนภาวะปัจจุบันของบริษัทได้แม่นยำขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น หากคุณเทียบเคียง EPS ของบริษัท A ระหว่างปัจจุบันกับอดีต เช่น
ไตรมาส 1 หุ้น A : มีกำไรสุทธิ 1,000 บาท มีหุ้นบริษัทที่ชำระแล้ว 10 หุ้น แปลว่า บริษัท A มีค่า EPS เท่ากับ 100
ไตรมาส 2 หุ้น A : มีกำไรสุทธิ 500 บาท มีหุ้นบริษัทที่ชำระแล้ว 10 หุ้น แปลว่า บริษัท A มีค่า EPS เท่ากับ 50
เมื่อพิจารณาดูแล้ว เมื่อบริษัทมีโครงสร้างผู้ถือหุ้นเท่าเดิม ค่ อัตราส่วนกำไรต่อหุ้น ที่ลดลงหมายความว่า บริษัท A ทำกำไรได้น้อยลงในไตรมาสที่ 2
ทำไมการเทียบเคียงกันระหว่าง 2 บริษัทถึงไม่นิยม
สมมุติว่าเราต้องการเทียบ อัตราส่วนกำไรต่อหุ้น ระหว่างหุ้น A และ หุ้น B ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน โดยมีรายละเอียดดังนี้
หุ้น A : มีกำไรสุทธิ 1,000 บาท มีหุ้นบริษัทที่ชำระแล้ว 10 หุ้น แปลว่า บริษัท A มีค่า EPS เท่ากับ 100
หุ้น B : มีกำไรสุทธิ 1,000 บาท แต่มีหุ้นบริษัทที่ชำระแล้ว 500 หุ้น แปลว่าบริษัท B มีค่า EPS เท่ากับ 2
หากพิจารณาดู ทั้ง 2 บริษัทมีกำไรสุทธิเท่ากัน ต่างกันที่ โครงสร้างในส่วนของผู้ถือหุ้น สิ่งนี้ทำให้นักวิเคราะห์ไม่สามารถประเมินได้ว่าหุ้นบริษัท A และ B หุ้นไหนถูกหรืออยู่ในราคาที่เหมาะสมกว่ากัน ดังนั้นการจะเทียบเคียงกันระหว่าง 2 บริษัท นักวิเคราะห์ควรนำอัตราส่วนทางการเงินมาประเมินร่วมด้วย เช่น P/E Ratio
EPS Growth คืออะไร
EPS Growth คือ อัตราการเปลี่ยนแปลงของ EPS ที่สะท้อนการเติบโตหรือถดถอยของแต่ละบริษัท ซึ่งจะสะท้อนความสามารถในการใช้ทรัพยากร การจัดการหนี้ และการจัดการค่าใช้จ่าย
การคำนวณ EPS Growth
วิธีการคำนวนการเติบโตของกำไรต่อหุ้น สามารถทำได้ดังนี้
EPS Growth = (EPSt – EPSt-1) / EPSt-1 X 100
EPSt คือ มูลค่ากำไรต่อหุ้นในช่วงเวลาที่ต้องการคำนวณ
EPSt-1 คือ มูลค่ากำไรต่อหุ้นในช่วงเวลาก่อนหน้า
ยกตัวอย่างเช่น
ปี 2021 บริษัท A : มีค่า EPS เป็น 10
ปี 2022 บริษัท B : มีค่า EPS เป็น 15
EPS Growth ของปี 2022 จากปี 2021 คือ (15-10) / 10 x 100 = 50%
ประโยชน์ของการใช้ EPS
- ช่วยวัดความสามารถในการทำกำไรของบริษัท
- สะท้อนภาพรวมกำไรต่อหุ้นที่หักลงหนี้ที่ต้องจ่ายไปแล้ว
- คำนวณได้ง่าย หากโครงสร้างจำนวนหุ้นที่ชำระแล้วไม่มีการเปลี่ยนแปลง
ข้อจำกัดในการใช้ EPS
แม้อัตราส่วนกำไรต่อหุ้น จะช่วยกันการเทียบเคียงสถานะของบริษัทกับความสามารถในอดีตของบริษัทได้ดี แต่นักวิเคราะห์ควรคำนึงถึงการปรับที่มาของ Net Profit ให้ดี เพราะวิธีการระบุงบของแต่ละบริษัท (Benchmark) สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา และอาจทำให้ค่า อัตราส่วนกำไรต่อหุ้น ไม่สะท้อนความสามารถในการทำกำไรและการเติบโตของ EPS Growth ที่แท้จริง
สรุปประเด็นสำคัญ
กำไรต่อหุ้น สามารถคำนวณด้วยการนำ กำไรสุทธิ หารด้วย จำนวนหุ้นที่ชำระแล้ว ยิ่งอัตราส่วนมีตัวเลขที่สูง ยิ่งสะท้อนถึงความสามารถที่สูงตาม
โดยทั่วไป อัตราส่วนกำไรต่อหุ้น จะถูกใช้เพื่อเทียบเคียงระหว่างงบของบริษัทใดบริษัทหนึ่งกับงบในอดีตของบริษัทนั้น โดยคาดหวังว่า งบบริษัทจะถูกระบุด้วยหลักการเดิม (Benchmark) และมีจำนวนหุ้นที่ชำระแล้วเท่าเดิม การวิเคราะห์แบบ Fundamental Analysis นี้ อาจช่วยในการเลือกหุ้น เพื่อมองหา จังหวะการเข้าเทรด เพิ่มเติมได้
ข้อจำกัดความรับผิด
ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์