Trusted

Web 3.0 คืออะไร? วิวัฒนาการโลกอินเตอร์เน็ตไร้ตัวกลาง อัพเดตปี 2023

10 mins
อัพเดทโดย Apinat Phosuwan

Web 3.0 คือ แนวคิดของเว็บไซต์ในอนาคตที่จะเอื้อให้ผู้ใช้งานได้สิทธิ์ความเป็นเจ้าของสินทรัพย์ดิจิตัลอย่างสมบูรณ์ โดยจะเป็นเว็บที่มีความอัจฉริยะมากขึ้น สามารถทำงานได้แบบอัตโนมัติ และเชื่อมต่อกับพวกเทคโนโลยีอย่าง AI หรือ บล็อกเชนได้ด้วย โดยคนจะเรียกว่าเป็น The Next Era of the Internet

ย้อนกลับไปนับตั้งแต่ WWW ได้ถือกำเนิดขึ้นในช่วงปี 1990 โลกอินเตอร์เน็ตก็ได้มีพัฒนาการอยู่เรื่อยมา จากที่เคยเป็นเพียงเว็บไซต์ในการหาข้อมูล มันก็ได้เริ่มเปลี่ยนแปลงเป็นสถานที่ที่ผู้คนสามารถเชื่อมต่อและแบ่งปันความรู้ให้แก่กันและกัน และในปัจจุบัน มันก็กำลังจะพัฒนาไปสู่โลกของอินเตอร์เน็ตยุคใหม่ ซึ่งเป็นยุคของ Web 3.0 หรือ Web3 นั่นเอง

แล้ว Web 3.0 คืออะไร? ทำไมช่วงนี้เราถึงได้ยินคำนี้บ่อยๆ มันมีความสำคัญอย่างไร? วันนี้ เราจะมาตอบข้อสงสัยในเรื่องนี้กัน!

ต้องการเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยีบล็อกเชนใหม่ๆ หรือไม่? มาเข้าร่วม BeInCrypto Trading Community บน Telegram สิ: อ่านข่าวสารและรีวิวใหม่ๆ พูดคุยกันเรื่องสกุลเงินดิจิทัลต่างๆ และเรียนรู้เรื่องการวิเคราะห์ทางเทคนิคต่างๆ จากเหล่านักเทรดมืออาชีพ! เข้าร่วมเลยเดี๋ยวนี้

Web 3.0 คืออะไร?

Web 3.0 คือ แนวคิดของเว็บไซต์ในอนาคตที่ให้ผู้ใช้งานได้สิทธิ์ความเป็นเจ้าของสินทรัพย์ดิจิตัลอย่างสมบูรณ์ เป็น The Next Era of the Internet

สิ่งหนึ่งที่ผู้อ่านหลายๆ ท่านอาจจะสงสัยนอกเหนือไปจากคำถามที่ว่า “Web 3.0 คืออะไร” แล้วมันมี Web 2.0 หรือ Web 1.0 ด้วยหรือเปล่า? ดังนั้น ก่อนที่เราจะไปเรียนรู้ถึงความสำคัญของ เว็บ 3.0 เรามาเรียนรู้เรื่อง เว็บไซต์และวิวัฒนาการของมันในแต่ละยุคกันก่อนดีกว่า

ยุคต่างๆ ของเว็บ

ก่อนไปถึงจุดนั้น เข้าใจกันก่อนว่า เว็บไซต์ คืออะไร

เว็บไซต์ (Website) คือ สิ่งที่นำเสนอข้อมูล หรือ รวบรวมหน้าเว็บเพจหลายๆ หน้า โดยจะมีการระบุโดเมนและเผยแพร่บนเซิฟเวอร์ โดยทั่วไป เนื้อหาจะแสดงผลเป็นเรื่องราวเฉพาะแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ของเจ้าของเว็บไซต์นั้นๆ

Web 1.0 คืออะไร (ปี 1990-2004)

Tim Berners-Lee นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ชาวอังกฤษ คือผู้ที่ให้กำเนิด World Wide Web หรือ Web 1.0 ขึ้นในปี 1989 โดยมีแนวคิดในการสร้างโปรโตคอลกระจายอำนาจแบบเปิดที่อนุญาตให้ผู้ใช้งานค้นหาข้อมูลต่างๆ ได้ผ่านทางเว็บเบราเซอร์อย่าง Internet Explorer หรือ Netscape

เว็บไซต์ในยุคบุกเบิกส่วนใหญ่นั้น หรือ Web 1.0 จะเป็นไปในรูปแบบของ Static Web ซึ่งจะเป็นเว็บไซต์ที่จะไม่มีปฏิสัมพันธ์ใดๆ กับผู้ใช้งาน เป็นเพียงเว็บไซต์ของบริษัทหรือองค์กรต่างๆ ที่ให้ผู้ใช้งานเข้ามาอ่านข้อมูลได้เท่านั้น ซึ่งหมายความว่าเนื้อหาต่างๆ นั้นจะมีอยู่อย่างจำกัดและไม่หลากหลาย

Web 2.0 คืออะไร (ปี 2004 – ปัจจุบัน)

หากเปรียบเทียบให้ Web 1.0 เป็นเว็บไซต์ที่มีการผลิตเนื้อหาโดยกลุ่มบุคคลกลุ่มเล็กๆ ให้กับผู้เข้าชมจำนวนหนึ่ง Web 2.0 ก็จะเป็นเสมือนเว็บไซต์ที่เนื้อหาถูกผลิตด้วยบุคคลจำนวนมากเพื่อแบ่งปันให้กับผู้เข้าชมในจำนวนที่กว้างมากยิ่งขึ้น รูปแบบเว็บไซต์ในยุค 2.0 นั้นจะเป็นไปในรูปแบบของ Dynamic Web ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา รโดยการมีส่วนร่วมของผู้ใช้งานนั้นคือองค์ประกอบที่สำคัญ

ในยุค Web 2.0 มันได้ถูกออกแบบให้ทุกคนสามารถโต้ตอบกันได้ และยังอนุญาตให้ทุกคนสามารถเป็นผู้สร้างเนื้อหาได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น Youtube ที่อนุญาตให้ผู้ใช้งานโต้ตอบหรือแสดงความคิดเห็นต่อคลิปวิดีโอต่างๆ ได้ อีกทั้ง ผู้ใช้งานก็สามารถสร้างและอัพโหลดเนื้อหาของตนเองได้เช่นกัน

Web 2.0 ยังถือว่าเป็นยุคกำเนิดของโซเชี่ยลแพลตฟอร์มยอดนิยมต่างๆ เช่น Facebook หรือ Twitter ซึ่งช่วยให้ผู้คนสามารถแบ่งปันข้อมูลความรู้ หรือเรื่องราวต่างๆ ให้แก่กันได้โดยมีแพลตฟอร์มโซเชี่ยลเหล่านี้เป็นสื่อกลาง และเมื่อมีผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ บริษัทต่างๆ ก็เริ่มที่จะเข้ามาควบคุมและหาผลประโยชน์จากผู้ใช้งาน เช่นการขายโฆษณาบนแพลตฟอร์มหรือคอนเท้นต์ของผู้ใช้งาน หรือใช้ประโยชน์จากข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานต่างๆ ของผู้ใช้งาน

ถึงแม้ว่าเหล่าผู้สร้างคอนเท้นต์ (Content Creator) นั้นจะได้รับรายได้จากคอนเท้นต์ของพวกเขา แต่มันก็เพียงส่วนหนึ่งที่แพลตฟอร์มแบ่งมาให้เท่านั้น ทั้งๆ ที่สิ่งที่แพลตฟอร์มเหล่านี้นำไปหารายได้เป็นคอนเท้นต์ของเรา แต่ทำไมเราถึงไม่ได้รับรายได้จากมันเต็มๆ หล่ะ? นี่จึงเป็นที่มาของแนวคิดในการพัฒนาโลกอินเตอร์เน็ตให้เข้าสู่ยุค Web 3.0 ซึ่งจะเป็นยุคที่จะตัดบทบาทของตัวกลาง (เช่น บริษัทหรือแพลตฟอร์มผู้ให้บริการต่างๆ) ออกไป และให้สิทธิในการควบคุมดูแลและจัดการแก่ผู้สร้างคอนเท้นต์อย่างแท้จริง

Web 3.0 คือ (อนาคต)

Web 3.0 จะเป็นอนาคตของเว็บไซต์ที่อินเตอร์เน็ตจะมีความกระจายอำนาจอย่างแท้จริง ไม่ต้องพึ่งพาบริษัทเทคโนโลยีผู้ให้บริการเจ้าใดเจ้าหนึ่ง

คำว่า Web 3.0 นั้นได้ถูกกล่าวถึงเป็นครั้งแรกในปี 2014 โดย Gavin Wood ผู้ร่วมก่อตั้ง Ethereum โดยเขาระบุว่า Web3 นั้นจะเป็นอนาคตที่อินเตอร์เน็ตมีความกระจายอำนาจอย่างแท้จริง เราจะไม่ต้องมาพึ่งพาบริการที่โฮสต์โดยผู้ให้บริการเจ้าใดเจ้าหนึ่ง

ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ให้บริการมีอำนาจเหนือผู้ใช้งาน แต่จะเป็นอัลกอรึธึมที่โฮสต์โดยทุกๆ คน หรือถ้าจะพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ ผู้ใช้งานทุกคนจะมีสิทธิในการควบคุมดูแลข้อมูลต่างๆ ของตนเองอย่างสมบูรณ์ หรือจะสรุปง่ายๆ คือ

Web 3.0 คือ แนวคิดของเว็บไซต์ในอนาคตที่จะเอื้อให้ผู้ใช้งานได้สิทธิ์ความเป็นเจ้าของสินทรัพย์ดิจิตัลอย่างสมบูรณ์ โดยจะเป็นเว็บที่มีความอัจฉริยะมากขึ้น สามารถทำงานได้แบบอัตโนมัติ และเชื่อมต่อกับพวกเทคโนโลยีอย่าง AI หรือ บล็อกเชนได้ด้วย โดยคนจะเรียกว่าเป็น The Next Era of the Internet

คอนเซ็ปต์หลักของ Web 3.0

ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องยากในการให้คำนิยามใดๆ ต่อ Web3 ณ ขณะนี้ แต่มันก็มีหัวใจสำคัญอยู่บางประการที่จะเป็นแกนหลักของพัฒนาการไปสู่ Web3 ดังนี้

  • การกระจายอำนาจอย่างแท้จริง: แทนที่ข้อมูลจะถูกควบคุมด้วยบริษัทหรือองค์กรขนาดใหญ่ที่เป็นเจ้าของแพลตฟอร์มที่เราใช้บริการ ผู้สร้างและผู้ใช้งานจะได้รับสิทธิ์ความเป็นเจ้าของอย่างแท้จริงต่อเนื้อหาใดๆ ของตนเอง ผู้ใช้งานจะสามารถขายข้อมูลหรือเนื้อหาของตนเองได้ผ่านเครือข่ายแบบกระจายอำนาจโดยตรง — โดยไม่ต้องผ่านตัวกลาง — ทำให้ผู้ใช้งานได้รับรายได้จากเนื้อหาของพวกเขาแบบ 100%
  • สิทธิ์ในการเข้าถึงอย่างสมบูรณ์: เนื่องด้วยความกระจายอำนาจอย่างแท้จริง ทุกคนจะมีสิทธิ์ในการเข้าร่วม Web3 อย่างเท่าเทียมกันโดยไม่ต้องผ่านตัวกลางใดๆ ไม่มีใครที่จะสามารถห้ามหรือระงับไม่ให้คุณเข้าร่วมได้ (Permissionless & Trustless); ตัวอย่างเปรียบเทียบในรูปแบบของ Web 2.0 ก็คือการที่แพลตฟอร์มมีสิทธิ์ในการห้ามหรือระงับบัญชีของคุณไม่ให้ใช้งานแพลตฟอร์มได้
  • การใช้งานเทคโนโลยี AI, Machine Learning: ด้วยการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้จะทำให้ทิศทางของโลกอินเตอร์เน็ตได้รับการคัดกรองมากยิ่งขึ้น AI และ Machine Learning จะเรียนรู้และคัดกรองข้อมูลที่แม่นยำยิ่งขึ้นให้กับผู้ใช้งานตามที่แต่ละคนต้องการ เช่นการคัดกรองข้อมูลที่อาจจะเป็นการบิดเบือนจากกลุ่มคนกลุ่มนึงออกไป และนำเสนอข้อมูลที่มาจากผู้ใช้งานจริงเท่านั้น ทำให้เราได้รับข้อมูลที่เที่ยงตรงต่อผลิตภัณฑ์หรือบริการต่างๆ อย่างแท้จริง
  • ความสามารถในการเชื่อมต่อที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น: เนื้อหาและข้อมูลจะสามารถเข้าถึงได้ง่ายและหลากหลายมากยิ่งขึ้นผ่านแอปพลิเคชั่นหรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ ไม่จำเป็นว่าจะต้องเชื่อมต่อผ่านสมาร์ทโฟนหรือคอมพิวเตอร์เท่านั้น Internet of Things (IoT) คือหนึ่งในตัวอย่างดังกล่าว
  • การใช้งานสกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency): จากรูปแบบของการกระจายอำนาจเต็มรูปแบบ สกุลเงินดิจิทัลจะเข้ามาทำงานแทนที่สกุลเงินทั่วไปเพื่อใช้ในการใช้ซื้อ/ชำระค่าบริการหรือสินค้าต่างๆ แทนที่การทำธุรกรรมผ่านตัวกลางอย่างธนาคารหรือแพลตฟอร์มรับชำระเงินแบบดั้งเดิม

Web 3.0 มีความสำคัญอย่างไร?

ความสำคัญของ Web 3.0 คือ ความเป็นเจ้าของอย่างสมบูรณ์และให้ความสามารถในการจัดการข้อมูลโดยไม่ถูกผูกมัดอะไร

หลังจากที่เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับคอนเซปต์คร่าวๆ ไปแล้ว ตอนนี้ ผู้อ่านทุกท่านก็น่าจะเริ่มมองเห็นประโยชน์ของการมาถึงของ Web3 กันแล้ว เพื่อที่จะใช้มันชัดเจนมากยิ่งขึ้น เราจะมากล่าวถึงกันถึงความสำคัญของมันในบางประการกัน

ความเป็นเจ้าของอย่างสมบูรณ์

ยุคสมัยของ Web2 นั้น เราไม่ได้เป็นเจ้าของสินทรัพย์ของเราอย่างแท้จริง เช่น การเล่นเกมใน Web2 นั้น ถึงแม้ว่าเราจะเป็นเจ้าของไอเทมใดไอเทมหนึ่ง แต่สิทธิ์ขาดของไอเทมเหล่านั้นก็ยังคงเป็นของผู้ให้บริการเกม หากผู้ให้บริการต้องการที่จะปิดให้บริการเกม หรือระงับบัญชีเกมของคุณ มันก็จะส่งผลให้คุณสูญเสียไอเทมเหล่านั้นไปอย่างถาวร

การมาถึงของ Web3 นั้นจะให้สิทธิ์ในการถือครองสินทรัพย์ของคุณอย่างสมบูรณ์ ถ้าให้เปรียบเทียบในรูปแบบเดียวกัน การเป็นเจ้าของไอเทมในเกม Web3 นั้นก็หมายความว่าคุณเป็นเจ้าของ NFT ชิ้นหนึ่ง ซึ่งคุณได้รับสิทธิ์ขาดในการถือครอง NFT นั้นๆ แล้ว จะไม่มีใครที่สามารถลบหรือระงับไม่ให้คุณใช้งานมันได้

ความสามารถในการจัดการข้อมูลของคุณ

ณ ปัจจุบัน ความเป็นตัวตนของคุณนั้นจะถูกควบคุมโดยแพลตฟอร์มส่วนกลาง เช่น บัญชี Facebook หรือ Twitter ของคุณ ถึงแม้ว่าแพลตฟอร์มจะมอบอำนาจในการจัดการดูแลบัญชีโซเชี่ยลของคุณให้กับคุณก็ตาม แต่หากเกิดกรณีปัญหาใดๆ ก็ตามให้คุณไม่สามารถเข้าใช้งานได้ มันก็เสมือนว่าคุณสูญเสียความสามารถในการควบคุมหรือจัดการข้อมูลของคุณไปอย่างสิ้นเชิง

ด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชนที่ Web3 ใช้งาน มันจะช่วยเข้ามาแก้ปัญหาดังกล่าว ความสามารถในการควบคุมตัวตนและข้อมูลจะกลับมาอยู่ที่ผู้ใช้งานอย่างสมบูรณ์ ทำให้ไม่มีใคร (เช่น ผู้ให้บริการแบบรวมศูนย์) สามารถปิดกั้นเราจากการเข้าถึงหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลเหล่านั้นได้อีกต่อไป

ไม่ถูกผูกมัดจากกฏเกณฑ์ใดๆ ของแพลตฟอร์มรวมศูนย์อีกต่อไป

บน Web3 นั้น เนื่องจากสิทธิ์ของเนื้อหาและข้อมูลเป็นของเราอย่างแท้จริง ทำให้การนำมันไปใช้งานจะไม่ถูกจำกัดโดยข้อจำกัดใดๆ อีกต่อไป ตัวอย่างเช่น หาก Youtube เปลี่ยนกฏเกณฑ์ในการอัพโหลดคลิป ผู้ใช้บริการแพลตฟอร์มก็ต้องจำใจทำตามกฏเกณฑ์เหล่านั้นเพื่อที่จะสามารถคงอยู่บนแพลตฟอร์มได้ แต่บน Web3 คุณจะไม่ถูกผูกมัดด้วยกฏเกณฑ์ของแพลตฟอร์มอีกต่อไป เนื่องจากคุณจะมีสิทธิ์ในการเผยแพร่เนื้อหาเหล่านั้นด้วยตัวคุณเอง

การก้าวจากยุคของ Web 2.0 ไปสู่ยุคของ Web 3.0

การเปลี่ยนผ่านจากยุค Web 2.0 ไปสู่ยุค Web 3.0 นั้นกำลังเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ซึ่งนั่นก็คือการใช้งานเทคโนโลยีบล็อกเชนในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หรือบริการต่างๆ, การใช้งานสกุลเงินดิจิทัล หรือการเก็บสะสม NFT เป็นต้น เทคโนโลยีเหล่านี้ต่างก็เป็นพื้นฐานของ เว็บ 3.0 อยู่แล้ว และในปัจจุบันก็มีแพลตฟอร์มหรือแอปพลิเคชั่น Web 3.0 ที่มีผู้ที่ใช้งานกันอยู่บ้างแล้วเช่นกัน ดังนั้น มันก็ขึ้นอยู่กับเวลาแล้วว่าผู้คนจะให้การยอมรับในเทคโนโลยีใหม่นี้เมื่อใด

Blockchain สำคัญอย่างไรต่อ Web 3.0?

ถ้าใครเคยศึกษาเรื่อง Blockchain จะทราบว่าจะใช้ระบบ Consessus ที่ต่างกันไปเพื่อตรวจสอบและรักษาข้อมูล และที่สำคัญกว่านั้นคือการที่ไม่มีตัวกลาง จึงใช้เทคโนโลยีที่มีความโปร่งใส ส่วนตัว แต่ปลอดภัย ซึ่งเมื่อดูคอนเซ็ปต์ของ Web3 จะเห็นว่า ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีอย่างบล็อกเชนเพื่อแก้ปัญหาอินเตอร์เน็ตที่ถูกผูกขาดโดยบริษัทเทคโนโลยีต่าง ๆ

ตัวอย่างของแพลตฟอร์มหรือแอปพลิเคชั่น Web 3.0 ที่น่าสนใจ

  • Brave Browser : หนึ่งในแอปพลิเคชั่นเว็บเบราเซอร์ 3.0 ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน จุดแข็งของมันคือความเป็นส่วนตัวและความสามารถในการบล็อก Web Tracker และ Online Ads ได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปลั๊กอินใดๆ เข้าไป
  • Decentraland : โปรเจกต์โลกเสมือนจริงออนไลน์ที่ทำงานอยู่บนบล็อกเชน Ethereum ซึ่งจะช่วยให้ผู้คนสามารถพบปะ โต้ตอบ พูดคุย หรือเล่นเกมกับผู้ใช้งานคนอื่นๆ ได้
  • Storj : หนึ่งในระบบการจัดเก็บไฟล์แบบกระจายอำนาจที่ดีที่สุดของ Web3 ซึ่งคุณสามารถใช้จัดเก็บข้อมูลของคุณได้โดยรับประกันว่าคุณเป็นผู้เดียวเท่านั้นที่จะสามารถเข้าถึงข้อมูลของคุณได้ ทำให้มันมีความปลอดภัยสูง
  • Steemit : แพลตฟอร์มโซเชี่ยลมีเดีย เว็บ 3.0 ที่สร้างขึ้นบนบล็อกเชน Steem จุดเด่นคือคุณจะได้รับรายได้จากมูลค่าของคอนเท้นต์ของคุณโดยตรง โดยมูลค่าของคอนเท้นต์นั้นจะมาจากการโหวตของผู้ใช้งานด้วยกันเอง
  • DTube : แพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่ง เว็บ 3.0 บนบล็อกเชน Avalon เช่นเดียวกันกับ Steemit ผู้ใช้งาน (ไม่ว่าจะเป็นผู้สร้างคอนเท้นต์หรือผู้แสดงความคิดเห็น) จะมีสิทธิที่จะได้รับรายได้จากคอนเท้นต์โดยตรง อีกทั้ง มันยังเป็นแพลตฟอร์มที่ไร้โฆษณาอีกด้วย!

ไม่ช้าก็เร็ว ยุคใหม่ของอินเตอร์เน็ตจะมาถึงอย่างแน่นอน ดังนั้น มันจึงเป็นเรื่องดีที่เราจะทำการศึกษาข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีต่างๆ ที่เป็นพื้นฐานของ Web3 เอาไว้ เพื่อที่จะช่วยให้คุณสามารถปรับตัวและนำหน้าผู้ใช้งานคนอื่นๆ เพื่อฉกฉวยโอกาสที่ดีเอาไว้ก่อนใคร

แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | มกราคม 2025
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | มกราคม 2025
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | มกราคม 2025

ข้อจำกัดความรับผิด

ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์

Akhradet-Mornthong-Morn.jpg
Akradet Mornthong
อัครเดช หมอนทอง เป็น นักแปล/นักเขียนคอนเทนต์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน NFT Games, Metaverse, AI, Crypto และเทคโนโลยีใหม่ๆ เขาจบการศึกษาในสาขาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล และมีประสบการณ์ในการทำงานในวงการเกมมากกว่า 10 ปี เมื่อ NFT Games ได้กลายเป็นกระแสขึ้นมาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เขาก็ไม่พลาดที่จะก้าวเข้ามาในวงการนี้เพื่อศึกษาข้อมูลในเชิงลึกต่างๆ ของวงการ NFT รวมไปถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Blockchain และ Crypto อีกด้วย
READ FULL BIO
ได้รับการสนับสนุน
ได้รับการสนับสนุน