Trusted

Play-to-earn ไม่มีจริง? ทำไม Play to earn ถึงเป็นแค่คำพูดเชิญชวน? (1/2)

1 min
อัพเดทโดย Passanai Jiraruekmongkol

Axie infinity และ play-to-earn ที่มาแรงในช่วงปีที่ผ่านมานั้นไม่ยั่งยืน เศรษฐศาสตร์เบื้องหลังนั้นจะอธิบายว่าทำไมมันถึงไม่ได้ตลอด?

ทุกวันนี้ตลาดคริปโตเหมือนจะมีขึ้นละลงแบบปกติ แต่ Play-to-earn เหมือนจะเป็นปรากฎการณ์ครั้งใหม่ที่รู้สึกว่ามันจะเอากำไรที่ไหนมาจ่ายให้เราฟรีๆ? ในภาวะที่ทุกคน Hype เล่นมันและรวยกันอย่างเป็นบ้าเป็นหลัง จากเศรษฐศาสตร์ของมัน play-to-earn ที่ทำให้คนกำไรนั้นดูเหมือนจะเป็นคนส่วนน้อย ในขณะที่คนส่วนใหญ่นั้นจะขาดทุน (หรือได้ตัวละครไปแทน) ทุกวันนี้คอนเซ็ปนั้นดูใช้ได้ แต่เกมที่ทุกคนยอมจ่ายเปล่าๆเพื่อได้ตัวละครมาเล่นราคาเป็นหลักหมื่นนั้น ยังเป็นไปได้ยาก จะต้องเป็นเกมที่มีแฟนคลับยาวนานจริงๆ ในช่วงที่คนคลั่งกันอย่างเป็นบ้าเป็นหลัง ดูเหมือนมันจะเป็นเกมออนไลน์ที่แค่มีระบบตลาดและเก็งกำไรเหรียญเสียมากกว่า

ต่อไปนี้จะเป็นเหตุผลว่าเหตุใดเกม Play-to-earn นั้นไม่เวิร์คในระยะยาวสำหรับทุกคน หรือสำหรับทุกเกม

โดยจะเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ ‘ความสำเร็จที่เป็นไปได้ของเกม’ และ ‘โอกาสที่เกมจะล้มเหลว’ ซึ่งเกมทั้งหลายล้วนมีวันเกิดและวันดับ

เบื้องต้นเราควรรู้พื้นฐานเหล่านี้ก่อน

  • Axie Infinity (AXS) มีมูลค่าตลาดรวมอยู่ที่ 4.7 Billion, ซึ่งคาดการณ์ว่ามีผู้เล่นกว่า 8 ล้านไอดี
  • Minecraft เกมที่ใช้เงิน 900 บาทเพื่อซื้อกลับขายไปได้ในมูลค่าเพียง 1.7 Biliion ซึ่งมีจำนวนผู้เล่นมากกว่า Axie อยู่ถึง 16 เท่า และเป็นเกมที่ประสบความสำเร็จสูงสุดและเกมมีคอมมูนิตี้ที่ดีที่สุดตลอดกาล
  • คนส่วนใหญ่ใน Axie เล่นเพื่อหารายได้หลักพันต่อวันโดยไม่หลับไม่นอนทุกวัน ซึ่งนั้นไม่ใช่ปกติของการเล่นเกม ซึ่งคนจะเล่นเพื่อความสนุกและไม่ได้หักโหมขนาดนั้น
  • วิธีที่หารายได้จากเกมหลักๆมีอยู่ 2 อย่างคือ 1. ขายไอเท็มในเกม 2. ผู้เล่นจะต้องซื้อไอเท็มหรือเกมเพื่อเล่นก่อนที่จะเริ่มเกม (คล้ายๆการ์ดเกมที่ต้องซื้อ Starter Pack ก่อนเล่น)
  • เกมส่วนใหญ่จะพึ่งโมเดลซักแบบหรือไม่ก็จะหารายได้ไม่ได้

อะไรคือ Play-to-earn?

ให้อธิบายแบบง่ายๆ Play-to-earn เป็น Buzzword ที่อธิบายเกมที่ออกแบบมาให้ ‘ผู้เล่น’ เป็นผู้ได้ผลตอบแทนจากการเล่นเกม โดยผู้เล่นส่วนใหญ่จะคิดถึง ROI (Return on Investment) เป็นหลัก เมื่อเล่นเกม ผู้เล่นจะได้รางวัลกลับมา ไม่ว่าจะเป็น NFT, Currency และนำไอเท็มเหล่านั้นไปขายผู้เล่นใหม่ และแลก Currency ออกมาเป็นเงินปัจจุบันได้ (คล้ายๆกับ Maplestory หรือ Yulgang ที่คนเก่งฟาร์มไอเท็มยากๆแล้วเอามาขาย ฟาร์มเงิน M แล้วขาย M ตามร้านเกม) ซึ่งถ้าคุณรักการเล่นมากพอ การฟาร์มไอเท็มหรือได้เหรียญมาจะพอสร้างรายได้เลี้ยงชีพคุณได้

สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่ มันเกิดขึ้นกับเกมออนไลน์ชื่อดังหลายๆเกม เช่น World of Warcrafe และเกม MMOs หลายๆเกมที่คนเล่นกันนานเป็นหลักปี แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือ ‘Local Exchange Rate’ ที่พอเซิฟเวอร์ไม่ได้แบ่งแยกกันแล้ว ทำให้คนที่อยู่ในประเทศที่ได้ค่าแรงที่ถูก การเล่นเกมอาจสร้างรายได้ได้มากกว่าเงินประจำที่ทำได้ปกติซะอีก

ทุกๆเกมนั้นไอเท็มจะถูกขายให้ Player หน้าใหม่ (ต่างจาก Free to play โมเดลที่เกมสมัยนี้ให้คนเล่นก่อน ถ้าติดใจค่อยซื้อไอเท็มเสริม) และ Currency ในเกมเหล่านั้นสามารถแลกเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ ปัญหาคือคนส่วนใหญ่เล่นเพื่อได้เงิน แม้ว่าจะเล่นไม่สนุกก็ตามที

🎄แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | ธันวาคม 2024
🎄แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | ธันวาคม 2024
🎄แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | ธันวาคม 2024

ข้อจำกัดความรับผิด

หมายเหตุบรรณาธิการ: เนื้อหาต่อไปนี้ไม่ได้สะท้อนถึงมุมมองหรือความคิเห็นของ BeInCrypto มันจัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้นและไม่ควรถูกตีความว่าเป็นคำแนะนำทางการเงิน กรุณาทำการวิจัยของคุณเองก่อนที่จะทำการตัดสินใจลงทุนใดๆ

BIC_userpic_sb-31-1.jpg
Passanai Jiraruekmongkol
เด็กหนุ่มผู้ฝันใฝ่ในอนาคต เชื่อมั่นว่าคริปโตจะเป็นตลาดทุนที่ทุกคนสามารถเข้าถึงโอกาสการลงทุนที่ดีได้ จบรัฐศาสตร์การปกครอง มีประสบการณ์ทำงานด้านวงการธุรกิจ ได้หันตัวมาทุ่มสุดตักกับคริปโต
READ FULL BIO
ได้รับการสนับสนุน
ได้รับการสนับสนุน