Trusted

สรุป Timeline: Twitter หลัง Elon Musk เข้ามามีอะไรเปลี่ยนไปบ้าง?

4 mins
อัพเดทโดย Nonthachai Sukkankosol

Twitter หลัง Elon Musk เข้าซื้อกิจการมาตั้งแต่เมษายน 2022 มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงแพลตฟอร์มไปอย่างไรบ้าง บทความนี้จะมาสรุป Timeline กัน

หลังจากที่ Jack Dorsey ลาออกไปทำโปรเจค Bluesky และ Musk เข้าครอบครองกิจการแทน ดูเหมือนว่าจะมีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย ทั้งในด้านแนวทางของบริษัทและการเปลี่ยนแปลงระบบโครงสร้าง และข้อครหาเป็นจำนวนมากเพราะในบางครั้งการกระทำของเขาดูเหมือนจะขัดแย้งในตนเอง

ตุลาคม 2022 :

พยายามจัดตั้ง “Content Moderation Council”

ในเดือนตุลาคมปีที่แล้ว หลังจาก Musk เข้าครอบครองกิจการโดยสมบูรณ์ได้ไม่นาน เขาประกาศจัดตั้ง “Content Moderation Council” เพื่อ “ตรวจสอบเนื้อหาในทวิตที่สุ่มเสี่ยง”

การตัดสินใจว่าจะแบนหรือปลดแบนบัญชีผู้ใช้งานจะต้องผ่านมติของที่ปรึกษาก่อน เช่น กรณีว่าควรปลดแบนทวิตของ Donald Trump หรือไม่ อย่างไรก็ตาม หน่วยงานที่ปรึกษานี้ไม่เคยเกิดขึ้นและ Musk ตัดสินใจปลดแบนของ Trump แต่เพียงผู้เดียวในเดือนพฤศจิกายน

พฤศจิกายน 2022:

แบนบัญชี ElonJet บน Twitter

แม้ว่าในวันที่ 7 พฤศจิกายน Musk กล่าวจะว่าไม่แบนบัญชี ElonJet ที่รายงานเส้นทางการบินของเครื่องบินส่วนตัวของเขา Gulfstream G700 แบบ Real Time แต่สุดท้ายใน เดือนธันวาคม เขาก็ตัดสินใจแบนบัญชีดังกล่าว โดยอ้างว่าผู้ใช้งานทำผิดกฎนโยบาย doxxing หรือการเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลของคนอื่นในที่สาธารณะ

นอกจากนี้ใน เดือนเดียวกันเขาแบนบัญชีของนักข่าวกว่า 9 บัญชี เพราะพวกเขารีทวิตเนื้อหาจาก ElonJet และยังมีการแบนบัญชีของบริษัทคู่แข่งอย่าง Mastodon อีกด้วย การแบนเหล่านี้ดูเหมือนจะขัดแย้งกับคำพูดว่าจะสนับสนุน Free speech ในช่วงที่เขาเพิ่งเข้ามาครอบครองกิจการเมื่อเดือน เมษายน

ธันวาคม 2022:

เปิดโหวตว่าเขาควรลาออกหรือไม่?

ช่วงปลายเดือนธันวาคมปีที่แล้ว Musk เปิดโหวตในทวิตของเขาว่า “เขาควรลาออกจากตำแหน่ง CEO หรือไม่” โดยมีผู้คนโหวตให้เขาลาออก 57.5% เป็นจำนวน 17.5 ล้านเสียง แต่แล้วจนถึงปัจจุบันเขาก็ยังคงอยู่ในตำแหน่งเช่นเดิม

ระบบ Twitter Bluemark Subscription

ก่อนหน้านี้ วิธีการได้รับ Bluemark หรือเครื่องหมายติ๊กถูกสีฟ้า จะต้องได้รับผ่านระบบ Invite-only หรือระบบเชิญชวนเท่านั้น เพื่อเป็นสิ่งยืนยันว่าบัญชีเหล่านั้น เป็นของบุคคลที่มีชื่อเสียงจริงๆ

ระบบดังกล่าว ถูกเปลี่ยนเป็นระบบ Subscription และใครก็สามารถจ่ายเงินเพื่อซื้อเครื่องหมายดังกล่าวได้ โดยมีราคา 8 ดอลลาร์ ต่อเดือน เขาอ้างว่าระบบนี้จะช่วยลดจำนวนของบัญชีปลอมลง

ทว่า กลับมีบัญชีปลอมมากมายเกิดขึ้นอย่างโจ่งแจ้งเช่น บัญชีที่ปลอมเป็นบริษัทยา Eli Lilly ที่จู๋ๆ ก็ออกมาประกาศว่าจะแจกยาฟรี ทำให้บริษัทได้รับความเสียหาย หลังจากเปลี่ยนระบบนี้ ทำให้บริษัทต่างๆ หลีกเลี่ยงการโฆษณาบนทวิตเตอร์

เมษายน 2023:

การติดป้าย “State-affiliated Media”

Musk ถูกสื่อต่างๆ จากทั้ง NPR, PBS, BBC ออกมาวิจารณ์ เนื่องจากทวิตเตอร์ของพวกเขาถูก แพลตฟอร์มติดป้ายว่าเป็น “State-funded Media” หรือสื่อที่มีรัฐสนับสนุนด้านการเงิน โดยไม่มีการแจ้งเตือนใดๆ ก่อน

NPR was labeled as State-affiliated media

สื่อเหล่านี้กล่าวการ การติดป้ายเช่นนี้อาจทำให้ผู้เสพข่าวเข้าใจผิด ว่าพวกเขาอาศัยเงินของรัฐเพื่อความอยู่รอดและมองว่าพวกเขาเป็นเครื่องมือของรัฐ หลังจาก NPR กล่าวว่าจะออกจากแพลตฟอร์ม Musk เปลี่ยนใจยกเลิกการติดป้ายดังกล่าว

สิ่งที่น่าสนใจคือ หลังจากยกเลิกป้าย State-affiliated Media พบว่า การเข้าถึงของบัญชีสื่อเหล่านี้ พุ่งทะยานขึ้นอย่างมีนัยยะ เพราะป้ายดังกล่าวจำกัดการเข้าถึงของบัญชีเหล่านี้ อ้างอิงจาก Atlantic Council’s Digital Forensic Research lab

มิถุนายน 2023:

ออกจดหมายชะลอการพัฒนา AI

Musk ออกจดหมายเปิดผนึกขอให้บริษัทเทคโนโลยีต่างๆ ชะลอการพัฒนา AI เป็นเวลา 6 เดือนเพราะกังวลถึงผลกระทบและความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น ทว่ามีข่าวลือว่าจริงๆ แล้ว Musk กำลังพัฒนา AI เป็นของตัวเองเพื่อนำมาใช้บน Twitter และลงทุนด้านโครงสร้างและวิศวกรณ์เป็นจำนวนหลายล้านดอลลาร์ในขณะนั้น

กรกฎาคม 2023:

จำกัดจำนวนการเข้าถึง Tweet รายวัน

ล่าสุด Elon Musk ออกนโยบายจำกัดจำนวนโพสที่ผู้ใช้งานจะสามารถอ่านหรือเข้าถึงได้ในแต่ละวัน โดยอ้างว่านโยบายนี้ช่วยป้องกันการถูกดูดข้อมูลบนแพลตฟอร์มไปฟรีๆ

นอกจากนี้ การจะอ่านโพสหรือโปรไฟล์จะต้อง Log in ก่อนเท่านั้น ทั้งที่ตั้งแต่ก่อตั้ง Twitter มา การอ่านทวิตของผู้อื่น ไม่จำเป็นจะต้องเปิดบัญชีกับแพลตฟอร์มก็ได้ ทำให้มีผู้คนจำนวนมากออกมาวิพากย์วิจารณ์นโยบายนี้

ในเบื้องต้นหลังจากผู้ใช้งานออกมาวิจารณ์เป็นจำนวนมาก บัญชีที่ไม่ Bluemark จะถูกจำกัดไว้ที่ 800 โพสต่อวัน ส่วนบัญชีที่มีการยืนยันตัวตนจะอยู่ที่ 1,000 -–10,000 โพสต่อวัน

🎄แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | ธันวาคม 2024
🎄แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | ธันวาคม 2024
🎄แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | ธันวาคม 2024

ข้อจำกัดความรับผิด

หมายเหตุบรรณาธิการ: เนื้อหาต่อไปนี้ไม่ได้สะท้อนถึงมุมมองหรือความคิเห็นของ BeInCrypto มันจัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้นและไม่ควรถูกตีความว่าเป็นคำแนะนำทางการเงิน กรุณาทำการวิจัยของคุณเองก่อนที่จะทำการตัดสินใจลงทุนใดๆ

IMG_4466-1.png
Nonthachai Sukkankosol
นนทชัย สักการโกศล จบการศึกษาปริญญาโท ด้านการวิจัยผลงานศิลปะร่วมสมัย จาก SOAS University of London แต่ผันตัวมาเป็นผู้แนะนำการลงทุนที่บริษัทหลักทรัพย์ Finansia Syrus Securities PLC. เขาถือใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุนตราสารทุน ตราสารหนี้และกองทุนรวม และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า รวมถึงใบรับรองด้านการวิเคราะห์เชิงเทคนิค CMT ระดับ 2 จาก CMT Association ประเทศสหรัฐอเมริกา เขามีประสบการณ์เกี่ยวกับการลงทุนในผลิตภัณฑ์ต่างๆ และเริ่มลงทุนคริปโตเคอเรนซี่มาตั้งแต่ปี 2016
READ FULL BIO
ได้รับการสนับสนุน
ได้รับการสนับสนุน