National Digital ID (NDID) เป็นแพลตฟอร์มโครงสร้างพื้นฐานเพื่อพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ข้อมูลเหล่านี้จะเชื่อมโยงกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในภาครัฐและภาคเอกชน โดยผู้ใช้งานจะต้องลงทะเบียนเบื้องต้นผ่านธนาคาร
ระบบยืนยันระบุตัวตนนี้ เป็นระบบกลางสำหรับทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล เปรียบเสมือนระบบ KYC ที่จะต้องลงชื่อยอมรับการเปิดเผยข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับการเชื่อมโยงข้อมูลและแบ่งปันข้อมูลต่างๆ (data sharing) ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ปัจจุบัน บริษัท แนชั่นแนลดิจิทัล ไอดี จำกัด ที่เกิดจากการระดมทุนและร่วมมือกันกว่า 60 บริษัทในประเทศไทย ทั้งธนาคาร บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทประกันภัยต่างๆ และ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อสร้างระบบจัดเก็บ Digital ID
องค์ประกอบการทำงานของ NDID
แพลตฟอร์มขั้นตอนการทำงานของระบบประกอบไปด้วย 3 ภาคส่วน และตัวแพลตฟอร์ม NDID เองจะไม่สามารถเห็นข้อมูลการทำธุรกรรมของผู้ใช้งานได้ แต่จะเห็นเพียง Timestamp บนระบบ Blockchain ว่า การส่งผ่านข้อมูลและยืนยันข้อมูล ในขั้นตอนการพิสูจน์ตัวตนทั้งหมดเกิดขึ้น ณ เวลาใดเพียงเท่านั้น
1.RP (Relying Party) ส่วนนี้คือหน่วยงานผู้ให้บริการแก่ลูกค้าโดยตรง เช่น บริษัทหลักทรัพย์ หากคุณต้องการเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์กับบริษัทหลักทรัพย์หนึ่ง บริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าว คือ RP ในกระบวนการ ปัจจุบันบริษัทที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการเงินและการธนาคารจะต้องให้ลูกค้ายืนยันตัวตนผ่านช่องทางนี้เพิ่มเติม และจะต้องจ่ายค่าทำธุรกรรม (tx fees) ทุกการเรียกใช้ในแต่ละครั้ง คาดว่าในอนาคตผู้บริการสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศไทยก็จะต้องใช้งานระบบนี้เช่นกัน
2.IdP (Identity Provider) ส่วนนี้ คือหน่วยงานที่มีหน้าที่พิสูจน์และยืนยันตัวตนผู้ขอใช้บริการที่ถูกส่งมาจาก RP และจะต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยและสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ ธนาคารและบริษัทโทรคมนาคม บริษัทเหล่านี้สามารถเปิดช่องทางอำนวยความสะดวกผ่าน Mobile Banking ได้
3.AS (Authoritative Source) คือ หน่วยงานที่มีข้อมูลส่วนบุคคลเช่น ธนาคาร บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (NDB) และหน่วยงานรัฐอย่างกรมการปกครองที่ฐานมีข้อมูลบัตรประชาชน AS จะเก็บข้อมูลที่ผ่านการยืนยันและพิสูจน์จาก idP มาแล้ว
ขั้นตอนการสมัครผ่านธนาคารต่างๆ
ข้อสังเกตหนึ่งคือ หากบัญชีธนาคารของคุณเพิ่งเปิดในช่วง 1-2 ปี ที่ผ่านมา คุณจะสามารถทำผ่าน Mobile Banking ได้เลย เพราะทางธนาคารเคยเก็บข้อมูล เช่น รูปถ่ายและลายนิ้วมือจากคุณไปแล้ว แต่หากเป็นบัญชีที่เปิดไว้หลายปีแล้ว คุณจะต้องไปดำเนินการที่สาขาธนาคารนั้นๆ
ผู้ใช้งานสามารถศึกษาวิธีเปิดใช้บริการของธนาคารต่างๆ ซึ่งจะแตกต่างกันออกไป ได้ตามลิงค์ธนาคารด้านล่างนี้
ธนาคารกสิกรไทย (KBANK)
ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB)
ธนาคารกรุงไทย (KTB)
ธนาคารกรุงเทพ (BBL)
ธนาคารกรุงศรี (BAY)
ธนาคารเกียรตินาคินภัทร (KKP)
ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย (CIMB)
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (GHB)
ข้อจำกัดความรับผิด
หมายเหตุบรรณาธิการ: เนื้อหาต่อไปนี้ไม่ได้สะท้อนถึงมุมมองหรือความคิเห็นของ BeInCrypto มันจัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้นและไม่ควรถูกตีความว่าเป็นคำแนะนำทางการเงิน กรุณาทำการวิจัยของคุณเองก่อนที่จะทำการตัดสินใจลงทุนใดๆ