Trusted

ข้อมูลประจำตัวแบบกระจายอำนาจ: มันมีความสำคัญต่ออนาคตของ Web3 อย่างไร?

3 mins
อัพเดทโดย Apinat Phosuwan

ในปัจจุบัน หัวข้อหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการกระจายอำนาจที่มีการพูดถึงกันเป็นอย่างมากคือเรื่องตัวตนของบุคคล ได้มีความพยายามที่จะพัฒนา “ข้อมูลประจำตัวแบบกระจายอำนาจ” ให้สามารถทำงานร่วมกันได้เพื่อที่จะกลายเป็นมาตรฐานใหม่ ซึ่งจะช่วยในการปรับปรุงในเรื่องการโต้ตอบกับระบบนิเวศและเครือข่ายบล็อกเชนและช่วยให้ผู้ใช้งานได้รับประสบการณ์และความปลอดภัยที่ดียิ่งขึ้น การมีข้อมูลของตัวตนที่มั่นคงนั้นจะกลายเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำผู้คนหลายพันล้านเข้าสู่ระบบนิเวศแบบกระจายอำนาจได้

แล้วสถานะในปัจจุบันของข้อมูลประจำตัวในระบบนิเวศแบบกระจายอำนาจเป็นอย่างไร? มันเป็นเพียงแนวคิดที่ล้ำยุคมากเกินไป? หรือว่าทุกคนกำลังพยายามที่จะปรับตัวเข้าหาและใช้งานตัวตนในรูปแบบใหม่ที่เรากำลังพูดถึงกันอยู่นี้? วันนี้ เราจะมาดูกันว่า “ข้อมูลประจำตัวแบบกระจายอำนาจ” แบบใหม่นี้จะมีความสำคัญต่ออนาคตของ Web3 อย่างไร?

ต้องการพูดคุยเรื่อง Web3 กับคนที่มีความสนใจเหมือนกับคุณหรือไม่? มาเข้าร่วม BeInCrypto Trading Community บน Telegram สิ: พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องโปรเจกต์ Web3 อ่านข่าวสารและรีวิวใหม่ๆ และเรียนรู้เรื่องการวิเคราะห์ทางเทคนิคต่างๆ จากเหล่านักเทรดมืออาชีพ! เข้าร่วมเลยเดี๋ยวนี้

ปัญหาของข้อมูลประจำตัวดิจิทัลในปัจจุบันคืออะไร?

ทำไมเราจึงต้องการข้อมูลของตัวตนที่มีความกระจายอำนาจด้วยหล่ะ? สิ่งที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีปัญหาอย่างไรกันแน่? มาลองดูกัน

ข้อมูลประจำตัวดิจิทัลใน Web2

ปัจจุบัน การมีปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานที่มีต่อแอปพลิเคชั่นแบบกระจายอำนาจ (DApps) และ Web3 นั้นแตกต่างจากรูปแบบที่ทำกันใน Web2 อย่างสิ้นเชิง

ใน Web2 นั้น เรายังมีการใช้ข้อมูลประจำตัวดิจิทัลในแบบเก่าๆ (เช่น การดึงข้อมูลจากศูนย์กลางที่มีความรวมศูนย์) ซึ่งนั่นหมายความว่า ข้อมูลเหล่านั้นจะมีความแตกต่างกันในแต่ละแพลตฟอร์ม หรือ ถูกควบคุมจากบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ผ่านระบบ SSO (Single-Sign-On)(ระบบที่ใช้ในการตรวจสอบข้อมูลใดๆ ก่อนที่จะเข้าใช้บริการต่างๆ หรือก็คือระบบล็อกอินด้วย Username และ Password นั่นเอง)

รูปแบบนี้นั้นจะเป็นการเก็บรักษาข้อมูลประจำตัวของเราในแบบ Custodial (ผู้ใช้งานไม่ได้เป็นผู้เก็บรักษาข้อมูลเอง) ข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องจะถูกเก็บรักษาโดยบุคคลที่สามที่เซิร์ฟเวอร์ของพวกเขา ซึ่งพวกเขาสามารถใช้งาน ลบ หรือปิดกั้นข้อมูลเหล่านี้โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเราได้

ข้อมูลประจำตัวดิจิทัลใน Web3

สิ่งต่างๆ นั้นแตกต่างออกไปใน Web3 ผู้ใช้งานจะเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชั่นแบบกระจายอำนาจต่างๆ โดยใช้กระเป๋าเงินคริปโต ซึ่งการระบุและยืนยันตัวตนของผู้ใช้งานนั้นจะเป็นการใช้การเข้ารหัสข้อมูล

คู่คีย์เข้ารหัสแบบอสมมาตร (Asymmetric) และที่อยู่บล็อกเชน (Blockchain Address) นั้นจะเป็นสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตนของผู้ใช้งานในแบบดิจิทัล ซึ่งวิธีการนี้นั้นเป็นไปในรูปแบบ Non-Custodial หรือ Self-Custodial หรือก็คือผู้ใช้งานจะเป็นผู้ที่ควบคุมดูแลข้อมูลประจำตัวดิจิทัลของพวกเขาเองโดยการถือครองคีย์เข้ารหัสไว้ในกระเป๋าเงินของพวกเขา

การใช้คีย์และลายเซ็นดิจิทัลในการทำธุรกรรมบล็อกเชน ผู้ใช้งานจะสามารถดำเนินการในเรื่องต่างๆ บนบล็อกเชนได้ ซึ่งรวมไปถึงการแลกเปลี่ยนโทเค็น, การซื้อขาย NFTs หรือกระทั่ง การลงคะแนนให้กับข้อเสนอ DAO

รูปแบบของข้อมูลประจำตัวแบบกระจายอำนาจในปัจจุบันนี้จะช่วยให้สามารถสร้างนวัตกรรมและแอปพลิเคชั่นใหม่ๆ ในระบบนิเวศได้มากมาย แต่ถึงกระนั้น มันก็ยังมีข้อบกพร่องอยู่บ้าง ผู้ใช้งานนั้นจะสามารถถูกระบุและยืนยันได้ด้วยที่อยู่บล็อกเชน (Blockchain Address) ซึ่งจะถูกเชื่อมโยงเข้ากับคู่คีย์เข้ารหัสตัวหนึ่ง ซึ่งนั่นหมายความว่า หากผู้ใช้งานสูญเสียการเข้าถึงคีย์ดังกล่าวไป ก็จะเปรียบเสมือนว่าผู้ใช้งานได้สูญเสียตัวตนของตนเองไปด้วยนั่นเอง

และสิ่งนี้ก็คือสิ่งที่เป็นปัญหาต่อการยอมรับในการนำบล็อกเชนมาใช้งานต่อทั่วทั้งโลก เนื่องจากมันทำให้ผู้ที่ไม่เชี่ยวชาญในเรื่องเทคโนโลยีนั้นเกิดความกังวลและความกดดันในการต้องเก็บรักษาคีย์ของตนเองให้ปลอดภัย ถ้าจะให้เห็นภาพง่ายๆ คุณลองนึกภาพการอธิบายเรื่องต่างๆ เหล่านี้ให้ผู้สูงอายุที่บ้านของคุณฟังดูสิ!

ปัญหาอีกประการก็คือเรื่องการจัดเก็บข้อมูลประจำตัวดังกล่าว เนื่องจากข้อมูลจะถูกจัดเก็บอยู่บนบล็อกเชน มันจึงมึความเสี่ยงเรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูลประจำตัวเหล่านั้น หากเป็นบล็อกเชนสาธารณะ มันก็เป็นเรื่องง่ายที่จะเข้าไปดูข้อมูลเหล่านั้น หรือที่แย่ยิ่งไปกว่านั้น ข้อมูลเหล่านั้นสามารถส่งต่อหรือขายให้กับผู้ใช้งานบล็อกเชนรายอื่นๆ ได้อีกด้วย

ข้อมูลประจำตัวแบบกระจายอำนาจ: รูปแบบและวิธีการแก้ไขปัญหา

ข้อมูลประจำตัวแบบกระจายอำนาจนั้นเป็นหนึ่งในหัวข้อที่มีความเคลื่อนไหวมากที่สุดในระบบนิเวศบล็อกเชน เหล่านักพัฒนาต่างก็กำลังทำงานกันอย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะนำรูปแบบตัวตนแบบกระจายอำนาจนี้มาทดสอบและใช้งาน

Vitalik Buterin ผู้ร่วมก่อตั้ง Ethereum กล่าวว่าข้อมูลประจำตัวแบบกระจายอำนาจนั้นเป็นหนึ่งในแอปพลิเคชั่นที่น่าตื่นเต้นที่สุดในระบบนิเวศบล็อกเชน หรือแม้กระทั่งผู้นำในอุตสาหกรรมคนอื่นๆ เช่น ผู้ก่อตั้ง Cardano กล่าวว่าการกระจายอำนาจของตัวตนนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นต่ออนาคตของโลกคริปโต แต่จะแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ได้อย่างไรกัน?

อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น ข้อมูลประจำตัวนั้นมีส่วนที่สำคัญอยู่บางประการ: การจัดการเรื่องการระบุตัวตน และ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวตน ซึ่งการแก้ไขปัญหาทั้งสองเรื่องนั้นจะทำได้ด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน

ข้อมูลประจำตัวบนเครือข่าย: EOAs/AA และ SBTs

ข้อมูลประจำตัวบนเครือข่ายบนเครือข่ายบล็อกเชนและ L2 มากมายนั้นกำลังย้ายออกจาก EOA ไปยัง “บัญชีแบบนามธรรม” (Account Abstraction หรือ AA) หรือ “กระเป๋าเงินสัญญาอัจฉริยะ” (Smart Contract Wallet หรือ SCW) รูปแบบใหม่เหล่านี้จะช่วยให้การใช้งานฟังค์ชั่นแบบกำหนดเองของบัญชีบล็อกเชนในสัญญาอัจฉริยะเป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้งาน เช่น ความปลอดภัยของกระเป๋าเงินสามารถปรับปรุงได้ด้วยการใข้งานนโยบายที่กำหนดขึ้นมาเองซึ่งจะถูกนำไปใช้ในสัญญาอัจฉริยะ เป็นต้น

สำหรับเรื่องข้อมูลประจำตัว หลายๆ โปรเจกต์นั้นกำลังทดสอบการใช้งานด้วยการใช้ NFT หรือถ้าจะพูดให้เจาะจงกว่านั้นก็คือ SBT (Soulbound Token) ซึ่งเป็นสิ่งที่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการใช้เป็นข้อมูลตัวตน เนื่องจากมันจะไม่สามารถโอนย้ายหรือขายได้ (เหมือนกับตัวตนของเรา)

ข้อมูลประจำตัวนอกเครือข่าย: DIDs และ VCs

ในขณะที่การแก้ปัญหาในแบบแรกนั้นถูกพัฒนาขึ้นในชุมชมบล็อกเชน ข้อมูลประจำตัวนอกเครือข่ายนั้นจะมีรากฐานมาจากองค์ประกอบของ Self-Sovereign Identity (SSI) และ Internet Identity Workshop (IIW)

ข้อมูลประจำตัวในประเภทนี้นั้นจะไม่เชื่อมโยงกับบล็อกเชนมากจนเกินไป บล็อกเชนจะจัดเก็บ Metadata ของตัวตนในรูปแบบที่เชื่อถือได้และไม่มีข้อจำกัดใดๆ สิ่งที่ใช้ระบุตัวตนในรูปแบบนี้ก็คือ Decentralized Identifiers (DIDs) ซึ่งค่าเหล่านี้จะไม่ซ้ำใคร (ทั่วทั้งโลก) และมีความคล้ายคลึงกับที่อยู่บล็อกเชน เบื้องหลัง DID แต่ละตัวก็คือ DID Document (เอกสาร DID)

เอกสารเหล่านี้จะประกอบไปด้วย Metadata ของ Identifiers (ตัวระบุตัวตน) เช่น คีย์สาธารณะแบบเข้ารหัสที่ใช้สำหรับการยืนยันตัวตน Identifier แต่ละตัวนั้นจะได้รับการอธิบายด้วย DID Method ซึ่งกำหนดการเปลี่ยนแปลงและการทำงานของ DID ประเภทนั้นๆ ตัวอย่างเช่น DID Method ethr จะระบุว่า DID Document นั้นยึดโยงอยู่กับ Ethereum หรือบล็อกเชนที่ทำงานได้กับ Ethereum เป็นต้น DID Record (ประวัติ/บันทึก DID) นั้นจะสามารถอัพเดตได้บนเครือข่าย ซึ่งทำให้สามารถหมุนเวียนและมอบหมายคีย์เข้ารหัสได้

ข้อมูลประจำตัวนั้นจะถูกแสดงด้วย Verifiable Credentials (VCs) ซึ่งเป็นการรับรองแบบนอกเครือข่าย (Off-Chain) จากหน่วยงานที่มีชื่อเสียง(ไม่มากก็น้อย) การรับรองและข้อมูลทั้งหมด — เช่น พาสปอร์ต, ประวัติความสำเร็จต่างๆ, ใบรับรอง/ประกาศนียบัตรต่างๆ — จะหลอมรวมกันเป็น VCs

มันจะมีองค์ประกอบสำคัญอยู่ 3 ส่วนในวงจรชีวิตของ VC ได้แก่ ผู้ออก (Issuers), ผู้ถือ (Holders) และ ผู้ตรวจสอบยืนยัน (Verifiers) แต่ละคนจะมี DID ของตนเองและใช้มันเพื่อวัตถุประสงค์ในการยืนยันตัวตน ดังนั้น VCs จะประกอบไปด้วยข้อมูลของผู้ออกและผู้ถือ DID และเนื่องจากมันเป็นแบบนอกเครือข่ายอย่างสมบูรณ์ มันจึงเหมาะสมกับในกรณีที่ต้องการความเป็นส่วนตัว เทคนิคการเข้ารหัสขั้นสูง เช่น Zero-Knowledge Proofs (ZKPs) นั้นสามารถทำให้มันมีความเป็นส่วนตัวได้มากยิ่งขึ้นไปอีก โดยการเปิดเผยข้อมูลเฉพาะบางส่วนใน VCs หรือทำการยืนยันข้อมูลแทนที่จะเป็นการแสดงค่าจริง

แล้วแบบไหนดีกว่ากันหล่ะ?

ถึงแม้ว่าการแก้ปัญหาของตัวตนทั้งในแบบบนเครือข่ายและนอกเครือข่ายจะตั้งเป้าในเรื่องการแก้ปัญหาที่คล้ายคลึงกัน แต่การใช้งานพวกมันนั้นก็สมเหตุสมผลสำหรับกรณีการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป

ข้อมูลประจำตัวบนเครือข่ายนั้นเหมาะสมกับแอปพลิเคชั่นที่ข้อมูลควรจะถูกเปิดเผยต่อสาธารณะและเปิดให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ สิ่งนี้อาจจะเป็นข้อมูลสมาชิกของโปรเจกต์/องค์กร ซึ่งข้อมูลของสมาชิกทั้งหมดควรจะตรวจสอบได้เพื่อความโปร่งใส ข้อดีอีกอย่างก็คือมันจะง่ายต่อการนำไปใช้งานหรือมีปฏิสัมพันธ์ใดๆ กับสัญญาอัจฉริยะอื่นๆ เพราะว่าข้อมูลนั้นอยู่บนเครือข่าย ตัวอย่างเช่น การช่วยให้ผู้ใช้งานที่เป็นเจ้าของ SBTs บางตัวสามารถมิ้นต์ (สร้าง) NFT ได้

ในทางกลับกัน ข้อมูลประจำตัวนอกเครือข่ายนั้นกลับเหมาะกับแอปพลิเคชั่นที่ต้องการความเป็นส่วนตัวมากกว่า อย่างเช่นการยืนยันข้อมูลพาสปอร์ตหรือใบขับขี่ เป็นต้น ข้อดีอีกอย่างของข้อมูลตัวตนนอกเครือข่ายนั้นคือการไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ในการออก (หรือการแชร์/ตรวจสอบยืนยัน) ข้อมูลที่เชื่อถือได้เหล่านี้

เรื่องของข้อมูลประจำตัวแบบกระจายอำนาจนั้นมีความซับซ้อนและยังมีองค์ประกอบอื่นๆ อีกมากมายที่ต้องทำการพิจารณาก่อนที่จะเลือกเส้นทางที่จะก้าวกันต่อไป แต่ข้อมูลประจำตัวทั้ง 2 ประเภท ซึ่งอาจจะรวมไปถึงแนวทางที่แตกต่างอื่นๆ หรือแบบไฮบริด (เช่น Sismo หรือ Polygon ID) จะมีบทบาทสำคัญในแอปพลิเคชั่น Web3 อย่างแน่นอน

กรณีการใช้งานข้อมูลประจำตัวแบบกระจายอำนาจ

Web3

การกำกับดูแล DAO ที่มีความยุติธรรมมากยิ่งขึ้น

Decentralized Autonomous Organizations (DAO) หรือองค์กรอัตโนมัติแบบกระจายอำนาจได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในช่วงตลาดกระทิงรอบที่ผ่านมา บางแห่งมีผู้ใช้งานหลายพันคนที่ช่วยกันดูแลคลังสินทรัพย์มูลค่าหลายล้านดอลลาร์ แต่การที่ไม่มีข้อมูลตัวตนของผู้ใช้งาน/สมาชิกของ DAOs รวมถึงกลไกของระบบชื่อเสียงก็ทำให้เกิดปัญหาอยู่หลายประการ

DAO ส่วนใหญ่ใช้โทเค็นกำกับดูแล (Governance Token) หลากหลายทั้งในแบบ ERC20 หรือ NFTs ในการสร้างอำนาจการกำกับดูแลและชื่อเสียงของสมาชิก ซึ่งมักจะนำไปสู่การที่เหล่าวาฬกว้านซื้อโทเค็นและทำให้เกิดการรวมคะแนนเสียงไว้ที่สมาชิกเพียงไม่กี่คน ด้วยการใช้ SBTs และ VCs มันจะช่วยให้ชื่อเสียงสามารถขึ้นอยู่กับการมีส่วนร่วม, ความสำเร็จในด้านต่างๆ และทักษะต่างๆ ของสมาชิกได้ ซึ่งจะทำให้เกิดความยุติธรรมมากยิ่งขึ้น

เชื่อมโยงข้อมูลในชีวิตจริงเข้ากับโลกเมตาเวิร์ส

กระแสความคลั่งไคล้เมตาเวิร์สที่เกิดขึ้นหลังจากการรีแบรนด์ของ Facebook ได้จางหายไปอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม พื้นที่นี้ยังเต็มไปด้วยความเคลื่อนไหวที่น่าตื่นเต้นมากมาย กราฟิกของโลกดิจิทัลได้มีพัฒนาการมากขึ้นทุกวัน รวมไปถึงประสบการณ์ผู้ใช้งานที่สมบูรณ์และสมจริงมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

หนึ่งในพัฒนาการที่น่าตื่นเต้นในอนาคตที่กำลังจะมาถึงคือการรวมเอาสินทรัพย์ในชีวิตจริงและโลกดิจิทัลเข้าด้วยกันโดยการเลือกใช้ข้อมูลประจำตัวที่เกี่ยวข้อง SBTs และ VCs นั้นจะเป็นสิ่งที่มาช่วยให้เราสามารถสร้างประสบการณ์ในโลกความเป็นจริงโดยอ้างอิงจากสิ่งต่างๆ จากโลกเสมือนจริงได้

เวชระเบียน (ข้อมูลส่วนตัวทางการแพทย์)

มันยังมีกระบวนการที่ไร้ประสิทธิภาพอยู่มากมายในการใช้และแบ่งปันข้อมูลทางการแพทย์ระหว่างสถาบันต่างๆ ด้วยการแปลงข้อมูลเหล่านี้ให้เป็นดิจิทัลและจัดเก็บเป็น VCs ผู้ใช้งานจะเป็นเจ้าของข้อมูลของตนเองและสามารถแบ่งปันให้กับใครก็ตามที่พวกเขาต้องการ

การป้องกันการโจมตีแบบซีบิล (Sybil Attack)

แม้ว่าความเป็นนิรนามจะเป็นหนึ่งในข้อได้เปรียบที่สำคัญที่สุดของบล็อกเชน แต่มันก็ทำให้เกิดปัญหามากมายกับหลายๆ แอปพลิเคชั่น เช่น การกำกับดูแล DAO เป็นต้น การสร้างตัวตนขึ้นมาจะช่วยแก้ปัญหาการโจมตีแบบซีบิลได้ในระดับหนึ่ง ถึงแม้ว่าการสร้างบัญชีมากมายจะยังคงเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ แต่มันก็น่าจะเป็นเรื่องยากที่จะได้รับข้อมูลประจำตัวที่น่าเชื่อถือ

โปรไฟล์ประจำตัวของผู้ใช้งาน

ผู้ใช้งานสามารถสร้างโปรไฟล์ประจำตัวของพวกเขาได้โดยการรวบรวมหรือรับ SBTs และ VCs ซึ่งอาจจะเป็นข้อมูลบัตรสมาชิก, ใบรับรองหลักสูตร, หรือการมีส่วนร่วมในการกำกับดูแลของ DAO เป็นต้น ข้อมูลประจำตัวเหล่านี้มักจะถูกมองข้าม แต่มันสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมาก เช่นการสร้าง Watchlist ของ NFTs ที่ชื่นชอบ เป็นต้น

แทนที่จะเก็บข้อมูลเหล่านี้ไว้บนเซิร์ฟเวอร์ของแพลตฟอร์มหรือกระเป๋าเงินของผู้ใช้งาน ข้อมูลเหล่านี้สามารถแชร์และใช้งานได้ทุกที่ รวมถึงบนแพลตฟอร์ม NFT ต่างๆ การใช้ VCs เป็นข้อมูลเหล่านั้นยังไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ อีกด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยให้ผู้ใช้งานได้มีประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้นและยังช่วยเพิ่มความสามารถในการใช้ข้อมูลร่วมกันอีกด้วย

ใบรับรอง KYC ที่นำมาใช้ใหม่ได้

หลายๆ แพลตฟอร์มนั้นต้องการให้ผู้ใช้งานทำการลงทะเบียน KYC ก่อนเข้าใช้งานบริการต่างๆ ตามข้อบังคับของแต่ละประเทศนั้นๆ แต่ในปัจจุบัน KYC นั้นจะต้องดำเนินการแยกกันในแต่ละแพลตฟอร์ม เนื่องจากข้อมูลถูกเก็บไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ส่วนกลางของกระดานเทรด (หรือเซิร์ฟเวอร์ผู้ให้บริการ KYC)

แต่ใบรับรอง KYC สามารถออกเป็น VCs (หรือ SBTs — ถึงแม้ว่าอาจจะมีคำถามเรื่องความเป็นส่วนตัวก็ตาม) และเก็บมันไว้ในกระเป๋าเงินของผู้ใช้งานได้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานมันได้ซ้ำๆ ในแพลตฟอร์มอื่นๆ และให้ความยินยอมในการใช้งานเมื่อจำเป็น

ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ของข้อมูลประจำตัวแบบกระจายอำนาจ

Web3

หนึ่งในความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือการเตรียมความพร้อมให้ผู้ใช้งานเปลี่ยนไปใช้การจัดการข้อมูลประจำตัวแบบ Non-Custodial หรือ Self-Custodial ด้วยวิธีการกู้ข้อมูลผ่านโซเชี่ยล AA และ DIDs นั้นจะช่วยแก้ปัญหาการสูญเสียคีย์เพื่อยืนยันตัวตนของคุณไป อย่างไรก็ตาม มันยังต้องมีการเตรียมการและทำให้เข้าใจง่ายสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป

เครื่องมือและกระเป๋าเงินจำนวนมากสำหรับ Web3 นั้นพัฒนามาไกลมากแล้วในแง่มุมของฟีเจอร์ต่างๆ และประการณ์ผู้ใช้งาน การสนับสนุนในขั้นพื้นฐานเหล่านี้ยังต้องการการพัฒนาเพิ่มเติม (โดยเฉพาะกระเป๋าเงิน AA, DIDs และ VCs) เพราะว่ามันมีรูปแบบในการจัดการข้อมูลและตัวตนอยู่มากมาย ทำให้การทำให้แนวทางต่างๆ เป็นมิตรกับผู้ใช้งานนั้นอาจจะเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาและความพยายามเป็นอย่างมากในการปรับใช้งาน ทดสอบซ้ำไปซ้ำมา และได้รับการยอมรับในวงกว้างในอนาคต

ใครที่จะเป็นผู้สร้าง?

โปรเจกต์ต่างๆ และบริษัทมากมายต่างกำลังสร้างองค์ประกอบของข้อมูลประจำตัวแบบกระจายอำนาจ Binance ประกาศว่าจะสร้าง Binance Account Bounds (BAB) เป็น SBTs ซึ่งจะเป็น SBT ตัวแรกบน BNB Chain ในแวดวง AA ก็มีความเคลื่อนไหวมากมายเช่นกัน มีโปรเจกต์มากมายที่สร้างและสนับสนุน SCW (กระเป๋าเงินสัญญาอัจฉริยะ) เช่น Argent อีกทั้ง มันยังมีการเสนอมาตรฐานใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมามากมาย เช่น EIP-4337 เป็นต้น

ระบบนิเวศ SSI ร่วมกับ Web3 นั้นก็ได้เริ่มขยายตัวเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน บางโปรเจกต์ เช่น Veramo และ Spruce ID กำลังสร้างไลบรารีโอเพ่นซอร์สเพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับ DIDs และ VCs ได้เร็วยิ่งขึ้น Gitcoin Passport ใช้ VC เพื่อแสดงข้อมูลประจำตัวและความสำเร็จต่างๆ เช่น กิจกรรม POAP และ GitHub และผู้ใช้งานยังสามารถโหวตบนแพลตฟอร์ม Snapshot เป็นต้น ปลั๊กอินก็กำลังถูกพัฒนาขึ้นมาเช่นกัน ตัวอย่างเช่น Blockchain Lab:UM ที่กำลังพัฒนาปลั๊กอิน/ส่วนขยาย Snap สำหรับ Metamask ซึ่งช่วยให้กระเป๋าเงินสามารถรองรับ DID และ VC ได้โดยตรง

จะเริ่มสร้างตัวตนของเราได้อย่างไร? หรือมันยังเร็วเกินไปหรือไม่?

เราสามารถเริ่มสร้างข้อมูลประจำตัวแบบกระจายอำนาจของเราได้แล้ววันนี้! ผู้ใช้งานสามารถสะสม SBTs และ VCs ได้จากหลายๆ แพลตฟอร์มที่ได้กล่าวถึงไปก่อนหน้านี้ ถึงแม้ว่าจะยังมีสิ่งที่ต้องพัฒนาเพิ่มเติมในระดับ R&D (การศึกษาข้อมูลและพัฒนา) และเรื่องประการณ์ของผู้ใช้งาน ความคืบหน้าของการพัฒนาตัวตนแบบกระจายอำนาจก็ยังคงดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง

ตัวตนแบบกระจายอำนาจนั้นจะมีบทบาทเป็นองค์ประกอบสำคัญในการใช้งานในหลายๆ ด้านในอนาคตที่กำลังจะมาถึง ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญต่ออนาคตของ Web3 ที่จะทำให้ผู้ใช้งานได้รับประสบการณ์ที่สมบูรณ์และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

คำถามที่พบบ่อย

ข้อมูลประจำตัวแบบกระจายอำนาจคืออะไร?

Self-Sovereign Identity (SSI) คืออะไร?

Account Abstraction (AA) คืออะไร?

Soulbound Tokens (SBTs) คืออะไร?

Decentralized Identifiers (DIDs) คืออะไร?

Verifiable Credentials (VCs) คืออะไร?

แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | พฤศจิกายน 2024
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | พฤศจิกายน 2024
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | พฤศจิกายน 2024

ข้อจำกัดความรับผิด

ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์

Akhradet-Mornthong-Morn.jpg
Akradet Mornthong
อัครเดช หมอนทอง เป็น นักแปล/นักเขียนคอนเทนต์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน NFT Games, Metaverse, AI, Crypto และเทคโนโลยีใหม่ๆ เขาจบการศึกษาในสาขาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล และมีประสบการณ์ในการทำงานในวงการเกมมากกว่า 10 ปี เมื่อ NFT Games ได้กลายเป็นกระแสขึ้นมาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เขาก็ไม่พลาดที่จะก้าวเข้ามาในวงการนี้เพื่อศึกษาข้อมูลในเชิงลึกต่างๆ ของวงการ NFT รวมไปถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Blockchain และ Crypto อีกด้วย
READ FULL BIO
ได้รับการสนับสนุน
ได้รับการสนับสนุน