Trusted

รวม Stablecoins ที่ดีที่สุดในปี 2024 เหรียญไหนน่าลงทุน

14 mins
อัพเดทโดย Apinat Phosuwan

Stablecoins มีบทบาทสำคัญในพื้นที่สกุลเงินดิจิทัล โดยการทำหน้าที่เป็นตัวเลือกที่เชื่อถือได้ซึ่งมาทดแทนการทำงานของสกุลเงินเฟียตบนกระดานเทรดคริปโตต่างๆ นอกจากนี้ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องของธนาคารกลางสหรัฐ (US Fed) ในปี 2023 ได้ทำให้มูลค่าของเงินสำรองดอลลาร์เพิ่มมากขึ้น นำไปสู่การถือกำเนิดของผู้เล่นใหม่หลายรายในตลาด Stablecoins แล้วสินทรัพย์ตัวใดที่โดดเด่นกว่าตัวอื่นๆ ในปี 2024? ในบทความนี้ เราจะมาดูรายชื่อ Stablecoins ที่ดีที่สุดในปี 2024 โดยจะพิจารณาถึงข้อมูลและข้อจำกัดต่างๆ ของสินทรัพย์ประเภทนี้กัน

Stablecoins ที่ดีที่สุดในปี 2024

1. PayPal USD (PYUSD)

มูลค่าตลาด
159 ล้านดอลลาร์
อุปทานหมุนเวียน
159 ล้าน PYUSD
ปริมาณการซื้อขาย (24 ช.ม.)
14 ล้านดอลลาร์
บล็อกเชน
Ethereum

2. Tether (USDT)

Tether
มูลค่าตลาด
9 หมื่นล้านดอลลาร์
อุปทานหมุนเวียน
9 หมื่นล้าน USDT
ปริมาณการซื้อขาย (24 ช.ม.)
5 หมื่นล้านดอลลาร์
บล็อกเชน
Ethereum, Omnichain และอื่นๆ อีก 3+ ตัว

3. USDCoin (USDC)

Circle
มูลค่าตลาด
2.4 หมื่นล้านดอลลาร์
อุปทานหมุนเวียน
2.4 หมื่นล้าน USDC
ปริมาณการซื้อขาย (24 ช.ม.)
6 พันล้านดอลลาร์
บล็อกเชน
Ethereum, Solana และอื่นๆ อีก 3+ ตัว
มูลค่าตลาด
5 พันล้านดอลลาร์
อุปทานหมุนเวียน
5 พันล้าน DAI
ปริมาณการซื้อขาย (24 ช.ม.)
302 ล้านดอลลาร์
บล็อกเชน
Ethereum

5. TrueUSD (TUSD)

Techteryx
มูลค่าตลาด
2 พันล้านดอลลาร์
อุปทานหมุนเวียน
2 พันล้าน TUSD
ปริมาณการซื้อขาย (24 ช.ม.)
187 ล้านดอลลาร์
บล็อกเชน
Ethereum, BNB, และ Tron

Stablecoins คืออะไร?

Stablecoins คือ สกุลเงินดิจิทัลที่มีความเสถียรภาพด้านราคา

ถ้าจะให้พูดง่ายๆ Stablecoins ก็คือ สกุลเงินดิจิทัลประเภทหนึ่งที่มีความเสถียรภาพด้านราคาจากการสนับสนุนโดยสินทรัพย์สำรอง

Cryptocurrency (สกุลเงินดิจิทัล) เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่เมื่อผู้คนส่วนใหญ่พูดถึง “Crypto” พวกเขามักจะนึกถึง BTC, ETH, XRP และอื่นๆ อีกสองสามชื่อ ซึ่งปัญหาหลักๆ ของสินทรัพย์ประเภทนี้คือ ความผันผวนทางด้านราคา

มีสาเหตุอยู่หลายประการที่ทำให้ตลาดไม่สามารถคาดเดาได้ เหตุผลแรกคือขนาดของตลาด ถึงแม้ว่าจะได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก แต่ตลาดสกุลเงินดิจิทัลก็ยังมีขนาดเล็ก (ในแง่ของมูลค่าตลาด) เมื่อเทียบกับตลาดอื่นๆ ที่มีชื่อเสียง เช่น ตลาดหุ้นสหรัฐฯ หรือ ตลาดทองคำ เป็นต้น

ในพื้นที่สกุลเงินดิจิทัล ความเคลื่อนไหวของเงินทุนเล็กน้อยก็อาจจะส่งผลกระทบที่มีนัยสำคัญต่อตลาดได้ นอกจากนี้ คุณอาจจะต้องพิจารณาถึงเทคโนโลยีที่เป็นพื้นฐานของคริปโต เช่น บล็อกเชน ซึ่งยังคงเป็นเทคโนโลยีที่ค่อนข้างใหม่และมีศักยภาพในการพัฒนาต่อไป ถึงแม้ว่า “คริปโต” จะพิสูจน์ตัวเองแล้วว่ามีศักยภาพในการกักเก็บมูลค่า แต่ราคาที่ตกต่ำบ่อยครั้งที่เกิดขึ้นในช่วงตลาดหมีก็อาจจะเป็นบ่อนทำลายชื่อเสียงของตัวมันเองในฐานะตัวเลือกของการลงทุนได้

ความจำเป็นของ Stablecoins

  • ลดความผันผวน: Stablecoins คือ สิ่งที่เข้ามาช่วยแก้ไขเรื่องปัญหาความผันผวนของราคา Stablecoins ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้มูลค่ามีเสถียรภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับนักลงทุนที่ต้องการมีส่วนร่วมในตลาด นอกจากนี้ ความมีเสถียรภาพนี้ยังช่วยให้สามารถคาดการณ์ตลาดได้ดียิ่งขึ้น และยังสามารถดึงดูดนักลงทุนสถาบันได้อีกด้วย
  • ทำให้เกิดการยอมรับในสกุลเงินดิจิทัล: ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนรายย่อยหรือนักลงทุนสถาบัน สินทรัพย์ดิจิทัลที่มีความผันผวนสูงนั้นอาจจะเป็นเรื่องที่ “ฮาร์ดเซล” ไปหน่อย ความผันผวนของมันทำให้ธุรกิจต่างๆ ไม่กล้าที่จะเปิดใจยอมรับสกุลเงินดิจิทัลได้ง่ายๆ Stablecoins จะช่วยเร่งกระบวนการนี้ให้มีความรวดเร็วยิ่งขึ้น และดึงดูดให้เกิดการลงทุนในภาคสกุลเงินดิจิทัลได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ผู้ใช้งานยังสามารถแปลงสินทรัพย์เหล่านี้ให้กลายเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ใช้กันทั่วไปได้ ตัวอย่างเช่น คู่การซื้อขายยอดนิยมอย่าง BTC/USDT เป็นต้น
  • การป้องกันความเสี่ยง: Stablecoins เป็นสกุลเงินดิจิทัลที่จะทำให้นักลงทุนมีทางเลือกในการป้องกันความเสี่ยงต่อเงินทุนของพวกเขาจากความไม่แน่นอน แม้แต่ผู้คนในประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อสูงก็สามารถใช้ Stablecoins เป็น Store of Value เพื่อรักษามูลค่าของสินทรัพย์ของตนเอาไว้ได้

ข้อดีของ Stablecoins

  • Stablecoins มีข้อได้เปรียบเช่นเดียวกับสกุลเงินดิจิทัล (มีค่าธรรมเนียมที่ไม่แพง, การทำธุรกรรมที่รวดเร็ว, มีความปลอดภัย) ในขณะเดียวกัน ก็ให้ความเสถียรแบบที่สินทรัพย์ดิจิทัลดั้งเดิมไม่มี
  • มีกฏระเบียบควมคุม
  • ช่วยให้เกิดการยอมรับสกุลเงินดิจิทัลมากขึ้น

ประเภทของ Stablecoins

Stablecoins มีอยู่หลายประเภท

Stablecoins ทำงานในรูปแบบต่างๆ ซึ่งจะเป็นตัวที่กำหนดว่าพวกมันเป็น Stablecoins ประเภทไหน ประเภทหลักๆ ได้แก่:

1. Fiat-Collateralized Stablecoin (Stablecoin ที่มีสกุลเงินเฟียตเป็นหลักประกัน)

Fiat-Collateralized Stablecoins ก็คือ เหรียญ Stablecoins ที่ได้รับการสนับสนุนโดยสกุลเงินเฟียต ดังนั้น ทุกๆ เหรียญ Stablecoins เหล่านี้ที่ออกมา จะมีสกุลเงินเฟียตที่ตรึงมูลค่าไว้ — เช่น เงินมูลค่า 1 ดอลลารสหรัฐ — ถูกนำไปเก็บไว้อย่างปลอดภัยในที่จัดเก็บ ซึ่งหมายความว่า คุณสามารถแลกเปลี่ยน Fiat-Collateralized Stablecoins เป็นเงินสดได้อย่างง่ายดาย เนื่องจากมันจะมีสกุลเงินเฟียตสำรองอยู่ตลอดเวลาในมูลค่าที่เทียบเท่ากัน

บริษัทที่อยู่เบื้องหลัง Fiat-Collateralized Stablecoins จะสามารถออกเหรียญได้มากเท่าที่พวกเขามีเงินสด (ในสกุลเงินเฟียต) สำรองอยู่มากเพียงพอที่จะสนับสนุนการออกเหรียญดังกล่าว โดยทั่วไปแล้ว พวกเขาจะต้องมีอัตราส่วนเป็น 1:1 ระหว่าง Stablecoins และ ทุนสำรองที่บริษัทผู้ออกถือไว้เป็นหลักประกัน (เช่น Stablecoins ที่ตรึงมูลค่ากับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐจำนวน 5 พันล้านเหรียญ กับ เงินสำรองเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นจำนวนเงิน 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นต้น)

โทเค็นที่มีอยู่ในการหมุนเวียนจะได้รับการตรวจสอบอยู่เสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าบริษัทผู้ออกเหรียญจะไม่ส่งเหรียญออกมามากกว่าจำนวนเงินสดที่พวกเขามีอยู่ในทุนสำรอง

นอกจากนี้ มันยังมี Resource-Collateralized Stablecoins (Stablecoins ที่มีทรัพยากรเป็นหลักประกัน) ถึงแม้ว่าจะไม่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย แต่มันก็ได้รับการสนับสนุนจากราคาของทรัพยากรที่เฉพาะเจาะจง เช่น รัฐบาลเวเนซุเอลาได้เปิดตัว Petro ซึ่งเป็น Stablecoins อย่างเป็นทางการของพวกเขาในปี 2018 และระบุว่า ราคาของ Petro จะถูกผูกไว้กับราคาน้ำมันหนึ่งบาร์เรล Resource-Collateralized Stablecoins ทำงานคล้ายกับ Fiat-Collateralized Stablecoins แตกต่างกันแค่เพียงสินทรัพย์ที่นำมาใช้สนับสนุนเพียงเท่านั้น

ตัวอย่างของ Fiat-Collateralized Stablecoins ก็ได้แก่ Tether (USDT) และ TrueUSD เป็นต้น

หมายเหตุ: Resource-Collateralized Stablecoins บางตัวอาจจะถูกเรียกว่า Commodity-Backed Stablecoins จากลักษณะของสิ่งที่มันถูกตรึงมูลค่าไว้ ตัวอย่างเช่น Paxos Gold (PAXG) ซึ่งเป็น Stablecoin ที่ใช้ ทอง (Gold) เป็นหลักประกัน

ข้อดี

  • มีความเสถียรเนื่องจากหลักประกันมักจะเป็นเงินสดหรือสิ่งที่มีค่าเทียบเท่าเงินสด
  • โครงสร้างของเหรียญประเภทนี้เข้าใจได้ง่าย

ข้อเสีย

  • มักจะมาพร้อมกับความรวมศูนย์ ซึ่งอาจจะทำให้ตกเป็นเป้าหมายของการโจมตีได้
  • คุณจะต้องมีความเชื่อถือต่อองค์กรส่วนกลาง ซึ่งเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับแนวคิดหลักของการกระจายอำนาจ

2. Crypto-Collateralized Stablecoin (Stablecoin ที่มีสกุลเงินดิจิทัลเป็นหลักประกัน)

Crypto-Collateralized Stablecoins ได้รับการสนับสนุนจากสกุลเงินดิจิทัลแทนที่จะเป็นสกุลเงินเฟียต อย่างไรก็ตาม เนื่องจากตลาดสกุลเงินดิจิทัลมีความผันผวนมากกว่าตลาดสกุลเงินทั่วไป Crypto-Collateralized Stablecoins จึงมักจะมีหลักประกันในอัตราส่วนที่มากกว่า 1:1 เพื่อใช้เป็นทุนสำรอง สิ่งนี้จะถูกเรียกกันว่า “Over-Collateralization”

“Over-Collateralization” ยังสามารถช่วยรักษาการกระจายอำนาจไว้ได้ เนื่องจากเงินสำรองที่เป็นสกุลเงินดิจิทัลจะช่วยดูดซับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงราคา อย่างไรก็ตาม ปัญหาหลักของสินทรัพย์เหล่านี้ก็คือ การออกเหรียญจะต้องใช้เงินทุนสำรองที่มากขึ้น ตัวอย่างที่เป็นที่รู้จักกันดีของ Crypto-Collateralized Stablecoins ก็คือ DAI ของ MakerDAO

นี่คือวิธีการทำงานของ Over-Collateralization: หากคุณต้องการซื้อ DAI มูลค่า 1,000 ดอลลาร์ คุณจะต้องทำการฝาก ETH ไว้เป็นมูลค่า 2,000 ดอลลาร์ ตัวเลขนี้อาจจะไม่ตรงเป๊ะๆ แต่เป็นเพียงการสมมุติหลักการทำงานของ Over-Collateralization ในอัตราส่วน 2:1

ข้อดี

  • มีการกระจายอำนาจ ดังนั้น จึงถือว่าเป็นการปฏิบัติตามหลักการของสกุลเงินดิจิทัล
  • สามารถใช้เพื่อสร้างเลเวอเรจสำหรับการซื้อขายได้
  • มีบล็อกเชนสาธารณะ ดังนั้น การทำธุรกรรมทั้งหมดจึงโปร่งใส

ข้อเสีย

  • การได้รับการสนับสนุนจากสกุลเงินดิจิทัลเป็นสิ่งที่อาจจะทำให้เกิดความผันผวนมากกว่าปกติ
  • โครงสร้างมีความซับซ้อน ยากที่จะทำความเข้าใจ

3. Uncollateralized Stablecoin (Stablecoin ที่ไม่มีหลักประกัน)

Uncollateralized Stablecoins ทำการโยนหลักการสนับสนุนและหลักประกันทิ้งไป สินทรัพย์เหล่านี้ทำหน้าที่เหมือนธนาคารสำรอง พวกเขาจะตรวจสอบอุปสงค์และอุปทาน และซื้อเหรียญในระบบหมุนเวียนเมื่อราคาต่ำลง เมื่อราคาสูงขึ้น พวกเขาก็จะออกเหรียญใหม่ เป้าหมายของเหรียญเหล่านี้คือการรักษาราคาให้สอดคล้องกับราคาของสินทรัพย์ที่ตรึงไว้ ตัวอย่างที่รู้จักกันดีก็คือ BASIS

นอกจากนี้ก็ยังมี Algorithmic Stablecoins ที่ไม่จำเป็นต้องมีหลักประกัน และอาศัย Smart Contracts และอัลกอริธึมพิเศษเพื่อรักษามูลค่าเอาไว้โดยสมบูรณ์ สินทรัพย์ดิจิทัลเหล่านี้จะอาศัยวงจรของอุปสงค์-อุปทานเพื่อสร้างตัวมันเอง UST — เหรียญ Stablecoin ที่เคยโด่งดังของ Terra — ก็คือเหรียญประเภทนี้ที่ผู้คนรู้จักกันมากที่สุด

ข้อดี

  • มีการกระจายอำนาจ เนื่องจาก การปรับเปลี่ยนทั้งหมดจะถูกทำขึ้นบนเครือข่าย
  • มูลค่าจะถูกปรับตามกลไกของตลาด ดังนั้น ราคาจึงค่อนข้างคงที่
  • เหรียญจะถูกสร้างขึ้นหรือถูกทำลายโดยอัลกอริธึม ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องมีหลักประกัน

ข้อเสีย

  • ไม่ได้รับการสนับสนุนจากสินทรัพย์ใดๆ ดังนั้น โครงสร้างของมันจึงมีความซับซ้อนเช่นกัน

ทำไม Stablecoin จึงได้รับความนิยมมากนัก?

เหตุผลที่ทำให้ Stablecoins ได้รับความนิยมนั้นเรียบง่ายมาก เนื่องจากพวกมันให้ความเสถียร ซึ่งช่วยขจัดความไม่แน่นอนให้กับผู้บริโภคและนักลงทุนในตลาดสกุลเงินดิจิทัล

Stablecoins นำเสนอวิธีการที่ปลอดภัยในการจัดเก็บสินทรัพย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อตลาดคริปโตมีความผันผวนแบบที่ไม่สามารถคาดเดาได้ ลูกค้าที่มีความกังวลเกี่ยวกับสภาวะตลาดที่ไม่แน่นอนสามารถแลกเปลี่ยนเหรียญคริปโตของพวกเขาให้กลายเป็น Stablecoins ได้อย่างง่ายดาย และไม่จำเป็นต้องแปลงมันกลับเป็นสกุลเงินเฟียต ซึ่งได้รับผลกระทบจากช่วงเวลาที่ไม่เอื้ออำนวยเช่นกัน นอกจากนี้ เนื่องจากการแปลงระหว่าง Stablecoins และ Cryptocurrency อื่นๆ เสร็จสิ้นภายในโลกของสกุลเงินดิจิทัล ดังนั้น การโอนย้ายมูลค่าจึงมีราคาถูก ไม่ต้องมีการจ่ายค่าธรรมเนียมให้ 3rd Party เช่น ประมวลผลการชำระเงิน, ธนาคาร ฯลฯ เช่นเดียวกับการแลกเปลี่ยนระหว่างเงินสดและของมีที่มูลค่าเทียบเท่าเงินสดนั่นเอง

เหรียญเหล่านี้ “เสถียร” จริงหรือไม่?

การล่มสลายของ UST ทำให้เกิดความกังวลอย่างมากเกี่ยวกับความเสถียรและความน่าเชื่อถือของ Algorithmic Stablecoins สิ่งสำคัญก็คือ นี่ไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงครั้งแรกและครั้งเดียวเท่านั้น แต่กลุ่มสินทรัพย์ประเภทนี้ต่างต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ มากมาย ตัวอย่างเช่น Tether ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์และลงโทษอยู่บ่อยครั้ง เนื่องจากขาดความโปร่งใสเกี่ยวกับสินทรัพย์จริงที่พวกเขาอ้างว่าเก็บไว้เป็นหลักประกัน

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าเหรียญ Stablecoins บางเวอร์ชั่นที่มีการกระจายอำนาจจะมีปัญหาในการรักษาราคา แต่ความเชื่อมั่นในกลุ่มสินทรัพย์ทั้งหมดก็ยังไม่ได้สูญเสียไป Stablecoins ยังคงมีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศแบบกระจายอำนาจ และช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับผู้คนในภาคส่วนคริปโต

คำถามที่พบบ่อย

Stablecoins คืออะไร?

Stablecoins รักษาความเสถียรของราคาได้อย่างไร?

Stablecoins ปลอดภัยสำหรับการลงทุนหรือไม่?

Stablecoins สามารถใช้งานเหมือนสกุลเงินปกติได้หรือไม่?

แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | พฤศจิกายน 2024
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | พฤศจิกายน 2024
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | พฤศจิกายน 2024

ข้อจำกัดความรับผิด

ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์

Akhradet-Mornthong-Morn.jpg
Akradet Mornthong
อัครเดช หมอนทอง เป็น นักแปล/นักเขียนคอนเทนต์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน NFT Games, Metaverse, AI, Crypto และเทคโนโลยีใหม่ๆ เขาจบการศึกษาในสาขาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล และมีประสบการณ์ในการทำงานในวงการเกมมากกว่า 10 ปี เมื่อ NFT Games ได้กลายเป็นกระแสขึ้นมาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เขาก็ไม่พลาดที่จะก้าวเข้ามาในวงการนี้เพื่อศึกษาข้อมูลในเชิงลึกต่างๆ ของวงการ NFT รวมไปถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Blockchain และ Crypto อีกด้วย
READ FULL BIO
ได้รับการสนับสนุน
ได้รับการสนับสนุน