ดูเพิ่มเติม

คริปโต vs. ธนาคาร: เก็บเงินแบบไหนอุ่นใจกว่ากัน?

14 mins
โดย Ananda Banerjee
แปลแล้ว Akradet Mornthong

เราควรจะเก็บเงินสดของเราเอาไว้ที่ไหน? จะเก็บมันไว้ในตลาดคริปโตที่ทำให้เลือดลมสูบฉีด หรือ เก็บไว้ในธนาคารแบบดั้งเดิมดี? ในปี 2022 คริปโตก็ไม่ได้มีปีที่ดี หลังจากการล่มสลายของ Terra และ FTX ที่ทำให้เกิดภาวะตลาดหมี ส่วนในปี 2023 ธนาคารต่างๆ ก็เริ่มล้มลงเช่นกัน ในบทความ “คริปโต vs. ธนาคาร” นี้ เราจะมาสำรวจกันถึงสถานการณ์ต่างๆ เพื่อที่จะช่วยให้คุณตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาดในเรื่องทางการเงินของคุณ คริปโตหรือ TradFi จะเป็นตัวเลือกที่ปลอดภัยกว่าหรือไม่? ไปดูกันเลย!

BeInCrypto Trading Community บน Telegram

เข้าร่วมชุมชนของเราเพื่อรับข่าวสารล่าสุดและการวิเคราะห์เกี่ยวกับเหรียญคริปโตต่างๆ พร้อมทั้งพูดคุยกับผู้คนที่มีความสนใจเหมือนกันและนักเทรดผู้เชี่ยวชาญของเรา!

สมาชิกของเรายังจะได้รับสิทธิประโยชน์มากมายอีกด้วย:

  • รีวิวและวิเคราะห์ตลาดรายวันจากนักเทรดผู้มีประสบการณ์
  • พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ต่างๆ กับผู้ที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน
  • ข้อเสนอและการแข่งขันชิงรางวัลสุดพิเศษสำหรับสมาชิกชุมชน
  • เข้าถึงข่าวสารและกิจกรรมล่าสุดของโลกคริปโตได้อย่างรวดเร็ว

เข้าร่วม BeInCrypto Trading Community ของเราได้แล้ววันนี้ แล้วเพลิดเพลินไปกับสิทธิประโยชน์ต่างๆ จากชุมชนของเรา!

มาเข้าร่วมกันเลย!

เก็บเงินไว้กับ “คริปโต” : มันมีข้อดีและข้อเสียอย่างไร?

คริปโต คือ อนาคต! เทคโนโลยี ความปลอดภัย และความโปร่งใสมาจาก DLT (Distributed Ledger Technology) และ Blockchain นั้นไม่เป็นสองรองใคร ซึ่งแตกต่างจากธนาคารตรงที่มันไม่ได้ถูกจัดการโดยหน่วยงานส่วนกลาง แต่เป็นการจัดการจากผู้ที่เข้าร่วมระบบนิเวศเหล่านั้น

Bitcoin สกุลเงินดิจิทัลที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดและเป็นสกุลเงินดิจิทัลเชิงพาณิชย์รายแรกที่มีนักขุดที่ช่วยในการจัดการเครือข่ายของตน Ethereum เป็นแหล่งรวมของสัญญาอัจฉริยะ มีตัวตรวจสอบความถูกต้องที่ช่วยทำให้เครือข่ายปลอดภัย ซึ่งระบบนิเวศเหล่านี้จะทำงานแยกกันเหมือนเป็นโลกดิจิทัลทั้ง 2 โลก ซึ่งสกุลเงินดั้งเดิมของระบบนิเวศอย่าง BTC และ ETH จะถูกใช้ในการทำธุรกรรมและชำระค่าบริการภายในโลกเหล่านั้น

พูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ คริปโต แต่ละตัวคือสิ่งที่ช่วยขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของระบบนิเวศของตน ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นสกุลเงินเฟียตของประเทศต่างๆ นั่นเอง

ข้อดีของ “คริปโต”

คริปโตมีประโยชน์มากมายที่ทำให้มันเป็นที่ต้องการ ลองไปดูกันดีกว่า

การกระจายอำนาจ

การกระจายอำนาจหมายถึงจะไม่มีการควบคุมจากหน่วยงานกลางใดๆ ดังนั้น มันจึงเป็นเรื่องง่ายกว่าที่จะใช้ คริปโต ในการชำระหรือโอนเงินข้ามพรมแดน ธุรกรรมคริปโตมีความปลอดภัยอย่างมากเนื่องจากข้อมูลจะถูกเก็บอยู่บนบัญชีแยกประเภทแบบกระจายอำนาจด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน อีกหนึ่งเหตุผลคือการกระจายอำนาจมาพร้อมกับความไม่เปลี่ยนแปลง (Immutability) ซึ่งทำให้มันสามารถต่อต้านการฉ้อโกงทางการเงินได้ ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ TradFi ต้องทำงานร่วมกับเทคโนโลยี Blockchain, Crypto และ DeFi อย่างใกล้ชิด

คริปโต vs. ธนาคาร / TradFi vs. DeFi: Cindicator

มีปฏิสัมพันธ์ของกับมนุษย์น้อยที่สุด

คริปโตสามารถตั้งโปรแกรมให้โอนจากที่อยู่หนึ่งไปยังอีกที่อยู่หนึ่งได้ ซึ่งช่วยให้ลดการควบคุมจากตัวกลางลดลง ทำให้สินทรัพย์ดิจิทัลมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นและมีแนวโน้มที่จะมีปฏิสัมพันธ์และการจัดการของมนุษย์น้อยลงไปอีกด้วย

ความโปร่งใส

แพลตฟอร์มเช่น Etherscan ช่วยให้คุณสามารถติดตามความเคลื่อนไหวของสินทรัพย์ดิจิทัลในที่อยู่ต่างๆ ได้ ซึ่งหมายความว่า ทุกคนสามารถมองเห็นความเคลื่อนไหวของ คริปโต ที่เกิดจากที่อยู่ของเหล่าวาฬและฉลามได้ ซึ่งทำให้ธุรกรรมคริปโตต่างๆ มีความโปร่งใสเป็นอย่างมาก

ธุรกรรมคริปโต: Etherscan.io

ลดโอกาสในการถูกปิดกั้น

เนื่องจากสกุลเงินดิจิทัลมีการกระจายอำนาจ การที่มันจะถูกปิดกั้น (เพื่อไม่ให้สามารถใช้งานได้) จึงเป็นเรื่องยากมาก เว้นแต่ว่าระบบนิเวศจะมีโค้ดที่ตั้งโปรแกรมไว้ล่วงหน้าเพื่อตรวจจับพฤติกรรมที่น่าสงสัย (ซึ่งจะป้องกันการทำธุรกรรมประเภทใดประเภทหนึ่งโดยเฉพาะ)

ประตูสู่อิสรภาพทางการเงิน

เราสามารถส่งคริปโตให้ใครก็ได้ทั่วโลกโดยไม่ต้องเสียค่าคอมมิชชั่นหรือค่าธรรมเนียมที่สูงจนเกินไป ด้วยอุปสรรคในการเข้าถึงที่ลดลง คริปโตจึงสามารถเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น

ข้อเสนอที่หลากหลาย

ถึงแม้ว่าวงการคริปโตจะเป็นเหมือนวงการที่พึ่งตั้งไข่ แต่มันก็นำมาซึ่งโอกาสทางการเงินมากมาย ในขณะที่คุณสามารถซื้อขาย คริปโต ได้เหมือนหลักทรัพย์ทั่วไป โลกของ DeFi ก็ยังเปิดทางเลือกใหม่ๆ ให้กับคุณไปพร้อมกัน เช่น Yield Farming, Flash Loans, Liquidity Pooling และอื่นๆ อีกมากมาย ด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน มันทำให้ผู้คนสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินที่หลากหลายได้โดยไม่ต้องพึ่งพาตัวกลางอย่างธนาคารกลาง

ข้อเสียของ “คริปโต”

ถึงแม้ว่าคริปโตจะให้ประโยชน์มากมาย แต่มันก็ยังห่างไกลจากความสมบูรณ์แบบ ณ วันที่ 14 มีนาคม 2023 Euler Finance ซึ่งเป็นโปรโตคอลการให้กู้ยืมบน Ethereum ประสบปัญหาจากการโจมตี Flash Loan ซึ่งทำให้เงินทุนมูลค่า 195 ล้านดอลลาร์ถูกขโมยไปได้

และนั่นไม่ใช่แค่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแค่เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ต่อไปนี้คือข้อเสียบางประการของคริปโต โดยเฉพาะเรื่องการจัดเก็บเงินทุนหรือการลงทุน

ไม่มีการรับประกัน

ต่างจากธนาคารที่คุณได้รัยความคุ้มครองจาก FDIC หรือหน่วยงานเฉพาะของในแต่ละประเทศ เงินทุนใดๆ ของคุณที่ฝากไว้ในกระเป๋าเงินคริปโตหรือโปรโตคอล DeFi จะไม่ได้รับความคุ้มครองหรือไม่มีการรับประกันจากกองทุนใดๆ มีเพียงกระดานเทรดบางแห่งเท่านั้นที่ให้การรับประกันบางอย่าง แต่เมื่อเทียบกันแล้ว ลูกค้าของโลกคริปโตนั้นจะได้รับความคุ้มครองน้อยกว่าเมื่อเทียบกับผู้ใช้งานที่มีปฏิสัมพันธ์กับโลกการเงินแบบดั้งเดิม

ความผันผวน

ถึงแม้ว่าสินทรัพย์แบบ High-Beta ทุกตัวจะมีความผันผวน แต่ คริปโต นั้นมักจะถูกขับเคลื่อนโดยอารมณ์ตลาดหรือแม้แต่กระทั่งข่าวลือต่างๆ ซึ่งทำให้การเคลื่อนไหวของราคาหลายๆ ครั้งเป็นเพียงการเก็งกำไรเท่านั้น

และนี่คือความเคลื่อนไหวของราคาของ Dogecoin (Memecoin ที่เป็นที่รู้จักกันดี) ตอบสนองต่อบิดาแห่ง Doge อย่าง Elon Musk ที่ทำการเข้าซื้อกิจการ Twitter ได้สำเร็จ

คริปโต
การเพิ่มขึ้นของราคา DOGE และความผันผวน: TradingView

ความผันผวนเหล่านี้ทำให้การลงทุนใน DeFi มีความเสี่ยงที่จะถูกชำระบัญชีได้อย่างง่ายดาย

กฏระเบียบที่ยังไม่ชัดเจน

เริ่มตั้งแต่การถูกห้ามขุดเหมืองในประเทศจีน ไปจนถึงการเก็บภาษีที่เข้มงวดในประเทศต่างๆ เช่น อินเดีย ขอบเขตของการยอมรับและความชัดเจนของกฏระเบียบต่างๆ ทั่วโลกไม่ได้มีเหมือนกัน ความเอาแน่เอานอนไม่ได้ของกฏระเบียบที่เกี่ยวกับ คริปโต ในประเทศต่างๆ นั้นเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ใช้งานเกิดความกังวล

ยังต้องแลกเปลี่ยนด้วยสกุลเงินเฟียต

คริปโต ยังไม่ได้รับการยอมรับในวงกว้างสำหรับการใช้เป็นสินทรัพย์ในการชำระเงินหรือการโอนเงิน ดังนั้น นักลงทุนจึงยังต้องพึ่งพาการแลกสกุลเงินเฟียตเพื่อตอบโต้กับระบบนิเวศคริปโต และต่อให้ผู้ใช้งานมีคริปโตอยู่เท่านั้น แต่การใช้งานในชีวิตประจำวัน ผู้คนยังคงต้องใช้สกุลเงินเฟียต ซึ่งนั่นหมายถึงก็ต้องพึ่งพาการแปลงสกุลเงินคริปโตเป็นสกุลเงินเฟียตอยู่ดี

UI/UX ที่สับสน

ถึงแม้ว่าโปรโตคอลที่เน้นเรื่องผู้ใช้งานเป็นศูนย์กลาง เช่น ERC-4337 จะเริ่มมีพัฒนาการอย่างช้าๆ แต่การใช้งานหลักของผู้ใช้งานคริปโตก็ยังคงมีพื้นฐานจากการใช้งานกระเป๋าเงินและ Seed Phrase ซึ่ง UI และ UX ที่ชวนให้เข้าใจยาก (สำหรับมือใหม่หรือผู้ใช้งานทั่วไป) เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คริปโตไม่ได้รับการยอมรับเท่าที่ควร

เป็นเป้าหมายของการโจมตี

ตั้งแต่สัญญาอัจฉริยะที่เต็มไปด้วยช่องโหว่, การดึงพรม (Rug Pulls), ไปจนถึงมัลแวร์ต่างๆ คริปโตมักจะตกเป็นเป้าหมายของการโจมตีจากผู้ไม่ประสงค์ดีมากมาย ตัวอย่างเช่น Wormhole Bridge, Nomad Bridge, Ronin Network และการแฮ็กอื่นๆ อีกมากมายในปี 2022

คริปโต
การโจรกรรมคริปโต: Statista

และนั่นคือสรุปข้อดีและข้อเสียของการเก็บเงินทุนในรูปแบบของคริปโต หรือ เก็บไว้ในโปรโตคอลที่เกี่ยวข้องกับคริปโต อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น ถึงแม้ว่าการใช้งาน คริปโต จะมีประโยชน์มากมาย แต่มันก็ยังมีข้อกังวลต่างๆ อยู่มากมายเช่นกัน

เก็บเงินไว้กับ “ธนาคาร” : มันมีข้อดีและข้อเสียอย่างไร?

จบกันไปแล้วกับเรื่องข้อดีข้อเสียของคริปโต ต่อไป เราจะมาให้ความสนใจกันในเรื่อง TradFi หรือการเงินแบบดั้งเดิมอย่าง “ธนาคาร” กัน ถึงแม้ว่าผู้คนจะมีกระแสความคลั่งไคล้คริปโตมากเท่าใด แต่ระบบธนาคารก็ยังไม่เคยสั่นคลอนแต่อย่างใด การต่อสู้ระหว่าง คริปโต vs. ธนาคาร ก็ดูเหมือนจะไม่มีฝ่ายใดได้เปรียบ อีกทั้ง ทั้งสองก็ยังมีการเชื่อมโยงกันอย่างแท้จริง ผู้ใช้งานคริปโตยังคงต้องพึ่งพาระบบธนาคารและสถาบันการเงินแบบดั้งเดิมเป็นอย่างมาก

เรามาดูกันดีกว่าว่า ทำไมธนาคารถึงได้รับความนิยมและยังคงเป็นที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน

ข้อดีของ “ธนาคาร”

ต่อไปนี้คือข้อดีบางประการของการใช้ช่องทางทางการเงินแบบดั้งเดิม เช่น ธนาคาร เพื่อจัดเก็บเงินทุนของคุณ

ความปลอดภัยของเงินทุน

ธนาคารนั้นจะให้การคุ้มครองเงินทุนบางส่วนของผู้ใช้งาน ตัวอย่างเช่น ในประเทศสหรัฐฯ FDIC หรือ Federal Deposit Insurance Corporation จะให้ความคุ้มครองมาตรฐานที่ยอดเงิน 250,000 ดอลลาร์แก่ผู้ฝากทุกคน ถึงแม้ว่าลักษณะของการฝากเงินจะแตกต่างกันไป แต่ยอดคุ้มครองเงินฝาก 250,000 ดอลลาร์ก็จะให้ความครอบคลุม

และนั่นเป็นเพียงการรับประกันเท่านั้น ในกรณีที่มีเหตุการณ์ร้ายแรงเกิดขึ้น (เช่น วิกฤต SVB ในปัจจุบัน) กับธนาคาร หน่วยงานกำกับดูแลสามารถเข้ามาดำเนินการเพื่อคืนเงินทั้งหมดให้กับผู้ฝากทุกคนได้

ใช้งานได้ง่าย

บริการของธนาคาร เช่น การทำธุรกรรมต่างๆ นั้นสามารถเข้าใจได้ง่ายและสะดวกสบาย คุณเพียงแค่ต้องสมัครบัญชีและตรวจสอบ KYC เท่านั้น นอกจากนี้ การกู้คืนบัญชียังง่ายกว่าการจัดการกระเป๋าเงินคริปโตด้วย Seed Phrase เป็นอย่างมากอีกด้วย

โครงสร้างพื้นฐานที่มีความน่าเชื่อถือ

สถาบันการเงินมีสถานะเป็นนิติบุคคล (อย่างน้อยก็โดยส่วนใหญ่) และผู้ใช้งานบางรายยังคงชอบที่จะใช้งานสถาบันการเงินที่มีอยู่ในโลกของความเป็นจริง อีกทั้ง ธนาคารต่างๆ นั้นมีอยู่ทั่วโลก ทำให้สกุลเงินเฟียตได้รับการยอมรับในทุกๆ ที่สำหรับการชำระเงินใดๆ

ข้อเสียของ “ธนาคาร”

คริปโต

หลายปีที่ผ่านมา การลงทุนในผลิตภัณฑ์ธนาคาร เช่น CDs (Certificate of Deposits), บัญชีตลาดเงิน, บัญชีออมทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูง, และ IRA ได้รับการพิจารณาว่ามีผลตอบแทนที่ค่อนข้างคงที่ แต่อย่างไรก็ตาม เหล่านักลงทุนและผู้ฝากเงินเริ่มเห็นสัญญานถึงความเปราะบาง เมื่อธนาคารรายใหญ่ของสหรัฐอย่าง Silvergate และ SVB เริ่มล่มสลายในช่วงกลางเดือนมีนาคม 2023 และนั่นทำให้เราได้พบกับข้อเสียของระบบธนาคารแบบดั้งเดิม

มีความเป็นศูนย์กลาง

ธนาคารนั้นถูกควบคุมโดยหน่วยงานกำกับดูแล ดังนั้น ระบบการเงินแบบดั้งเดิมเหล่านี้สามารถปิดกั้นหรือเลือกที่จะระงับบัญชีของผู้ใช้งานใดๆ ได้ทุกเมื่อ ยิ่งไปกว่านั้น ข้อมูลธุรกรรมของธนาคารจะถูกบันทึกไว้กับธนาคารหรือธนาคารกลาง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับหลักการของความโปร่งใสแต่อย่างใด ถึงแม้ว่าการทำธุรกรรมกับธนาคารอาจจะทำให้รู้สึกเหมือนการทำธุรกรรมแบบ P2P (Peer-to-Peer) แต่ด้วยการควบคุมของหน่วยงานศูนย์กลางไม่ทำให้รู้สึกอย่างนั้นแต่อย่างไร

ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย

ธนาคารเองก็ต้องเก็บเงินของผู้ใช้งานไว้ที่ใดที่หนึ่ง และในกรณีส่วนใหญ่แล้ว จะเป็นการถือหลักทรัพย์มูลค่าคงที่อย่าง พันธบัตรและตั๋วเงินคลัง อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลมีการเปลี่ยนแปลง, ลด, หรือขึ้นอัตราดอกเบี้ย มันก็จะส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่อเงินลงทุนและมูลค่าของธนาคาร ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าการลงทุนเหล่านี้ไม่ใช่ข่าวดีสำหรับธนาคารเสมอไป

คริปโต
คริปโต vs. ธนาคาร และ อัตราการออมเงินที่ต่ำ: Visual Capitalist

ความเสี่ยงเชิงระบบ

มีอยู่บางครั้งที่ธนาคารหนึ่งได้ฝากเงินไว้กับอีกธนาคารหนึ่ง หรืออาจมีเงื่อนไขการกู้ยืมและให้กู้ยืมระหว่างธนาคาร ดังนั้น หากธนาคารใดธนาคารหนึ่งล้มเหลวหรือเผชิญภาวะล้มละลาย สถาบันการเงินอื่นๆ ที่ได้รับการพึ่งพาจากธนาคารดังกล่าวก็อาจจะเริ่มล้มได้เช่นกัน ซึ่งเป็นการก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบการเงินในวงกว้าง

นอกจากข้อเสียต่างๆ ที่ได้กล่าวไปแล้ว ระบบการเงินแบบดั้งเดิมนั้นยังมีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาต่างๆ อย่างเช่น ความโปร่งใสต่ำ, อัตราดอกเบี้ยที่ลดลงสำหรับตราสารเงินที่เฉพาะเจาะจง หรือแม้แต่การเข้าถึงที่จำกัด (ธนาคารปิดในวันหยุดต่างๆ)

คริปโต vs. ธนาคาร: เราได้ผู้ชนะหรือยัง?

ท้ายที่สุดแล้ว เราก็ต้องเคลื่อนย้ายเงินไปเรื่อยตามสถานการณ์ที่เราเห็นสมควร ดังนั้น ในเรื่องที่ว่า คริปโต หรือ ธนาคาร ดีกว่ากันนั้น เราอาจจะไม่ต้องฟันธงลงไปอย่างชัดเจนขนาดนั้น บริษัทคริปโตแบบรวมศูนย์ต่างๆ ก็ยังคงต้องการการสนับสนุนจากธนาคารและการแลกเปลี่ยนแบบ on-ramp / off-ramp เพื่อผลักดันให้เกิดกรณีการใช้งานร่วมกัน แม้กระทั่งบริการแบบกระจายอำนาจต่างๆ อย่าง UniSwap, Curve, หรืออื่นๆ อีกมากมาย การแลกเปลี่ยน(เงิน)ในขั้นสุดท้ายก็ยังจะต้องมีความเกี่ยวข้องกับสถาบันทางการเงินแบบดั้งเดิมในท้ายที่สุด ในทำนองเดียวกัน เทคโนโลยีบล็อกเชนนั้นก็สามารถนำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาของ TradFi ได้ในหลายๆ อย่าง เช่น ปัญหาเรื่องความโปร่งใส ดังนั้น ธนาคารก็ยังคงจะมีส่วนร่วมกับบริการและบริษัทคริปโตต่างๆ ต่อไปเพื่อขยายไปยังฐานลูกค้าที่กว้างขึ้นและเพื่อปรับปรุงส่วนที่เป็นปัญหาสืบทอดกันมา

ทั้งคริปโตและธนาคารต่างก็มีข้อบกพร่องไม่ต่างกัน อย่างไรก็ตาม คริปโตนั้นมีการใช้งานเทคโนโลยีใหม่ๆ มากกว่า ซึ่งเป็นสิ่งที่ธนาคารต่างๆ กำลังพยายามที่จะผสานรวมเทคโนโลยีเหล่านั้นเพื่อตามให้ทัน ดังนั้น การลงทุนกับคริปโตอย่างระมัดระวังดูจะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าเล็กน้อย อย่างที่ทราบ ทั้ง 2 ฝั่งต่างก็มีความเสี่ยงไม่ต่างกัน แต่ด้วยการที่คริปโตพึ่งพาเทคโนโลยีใหม่ๆ มันจึงดูมีความก้าวไปข้างหน้ามากกว่าและเปรียบเสมือนเป็นการพลิกโฉมแนวคิดต่างๆ จากแนวคิดในแบบดั้งเดิมที่ล้าสมัย

คำศัพท์ทางเทคนิคในบทความ

  • DeFi (Decentralized Finance): ระบบการเงินรูปแบบใหม่ที่ให้ทำธุรกรรมทางการเงินโดยไม่ต้องมีตัวกลางอย่างสถาบันการเงินมารองรับ แต่จะเป็นการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน เช่น Smart Contract เป็นต้น
  • On-ramp / Off-ramp: บริการการแปลงสกุลเงินจาก เฟียตเป็นคริปโต (On-ramp) และ คริปโตเป็นเฟียต (Off-ramp)

คำถามที่พบบ่อย

คริปโตดีกว่าธนาคารหรือไม่?

ทำไมคริปโตจึงเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าธนาคารแบบดั้งเดิม?

คริปโตจะมาแทนที่ธนาคารได้หรือไม่?

คริปโตปลอดภัยกว่าธนาคารหรือไม่?

เก็บเงินไว้ในคริปโตหรือธนาคารดีกว่า?

แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | มีนาคม 2024

Trusted

ข้อจำกัดความรับผิด

ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์

bic_photo_6.jpg
Akradet Mornthong
อัครเดช หมอนทอง เป็น นักแปล/นักเขียนคอนเทนต์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน NFT Games, Metaverse, AI, Crypto และเทคโนโลยีใหม่ๆ เขาจบการศึกษาในสาขาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล และมีประสบการณ์ในการทำงานในวงการเกมมากกว่า 10 ปี เมื่อ NFT Games ได้กลายเป็นกระแสขึ้นมาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เขาก็ไม่พลาดที่จะก้าวเข้ามาในวงการนี้เพื่อศึกษาข้อมูลในเชิงลึกต่างๆ ของวงการ NFT รวมไปถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Blockchain และ Crypto อีกด้วย
READ FULL BIO
ได้รับการสนับสนุน
ได้รับการสนับสนุน