ดูเพิ่มเติม

บริษัท Big Tech ชั้นนำ 5 ราย ที่เลือกใช้งานเทคโนโลยี Web3

9 mins
โดย Chris Adede
แปลแล้ว Akradet Mornthong

Web3 กำลังกลายมาเป็นสิ่งที่อยู่ในกระแสหลักอย่างรวดเร็ว Metaverse นั้นมีศักยภาพที่ไร้ขีดจำกัด ทำให้ผู้คนสามารถโต้ตอบกันผ่านโลกออนไลน์ในรูปแบบใหม่ๆ ได้ บริษัท Big Tech หลายแห่งต่างก็ให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ และพยายามที่จะผันตัวกลายมาเป็นบริษัท Web3 — หรืออย่างน้อยๆ ก็พยายามที่จะทำให้มันกลายเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจของพวกเขา

ใบบทความนี้ เราจะมาดูรายชื่อของ 5 บริษัท Big Tech ชั้นนำ ซึ่งเป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงในแวดวงเทคโนโลยี และต่างก็มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่กำลังพัฒนาเทคโนโลยีและโซลูชั่น Web3 กัน

อยากจะคุยเรื่อง Web3 กับใครซักคนหรือไม่? เข้าร่วม BeInCrypto Trading Community บน Telegram: พูดคุยกันเกี่ยวกับเรื่องโปรเจกต์ Web3 อ่านบทวิเคราะห์เกี่ยวกับเหรียญคริปโตต่างๆ และสอบถามข้อมูลต่างๆ ที่คุณต้องการจากทีมงานนักเทรดมืออาชีพของเรา! มาเข้าร่วมกันเลย!

“5 บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำ” ที่นำเทคโนโลยี Web3 มาใช้งาน

ปัจจุบัน มีองค์กรและบริษัทมากมายที่ร่วมลงทุนกันเพื่อพัฒนาและก้าวเข้าสู่โลก Web3 รายชื่อต่อไปนี้คือ “5 บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำ” ที่นำเทคโนโลยี Web3 มาใช้งาน

1. Meta

Meta Web3

Facebook บริษัทโซเชี่ยลมีเดียชื่อดัง รวมทั้งยังเป็นเจ้าของบริการโซเชี่ยลชั้นนำต่างๆ เช่น WhatsApp, Instagram และ Messenger ได้ทำการรีแบรนด์และเปลี่ยนชื่อของบริษัทเป็น Meta เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงจุดมุ่งหมายที่สำคัญของพวกเขาที่ต้องการก้าวเข้าสู่โลกแห่ง Metaverse

จากข้อมูลของ Statista ในช่วง Q2 ของปี 2022 ฐานผู้ใช้งานของ Facebook, Instagram, WhatsApp หรือ Messenger นั้นมีอยู่ราวๆ 2.87 พันล้านคน และ Meta ตั้งเป้าหมายที่จะดึงดูดผู้ใช้งานหลายพันล้านคนเหล่านี้เข้าสู่โลก Web3 ซึ่ง Meta มองว่า มันเป็นเส้นทางที่จะนำทุกคนไปสู่โลกอินเตอร์เน็ตในยุคที่ 3 และเป็นช่องทางสำคัญที่จะทำให้บริษัทก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำได้

นอกจากนี้ Meta ยังตั้งใจที่จะพัฒนาอุปกรณ์ VR สวมหัวที่ราคาไม่แพงและมีน้ำหนักเบา เพื่อให้ผู้คนได้ใช้มันในการโต้ตอบซึ่งกันและกันได้ ดังนั้น หลังจากที่รีแบรนด์แล้ว Meta ได้เพิ่มการลงทุนใน Oculus Quest ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้งานได้เข้าถึงโลกแห่ง Metaverse ได้ง่ายๆ

2. Shopify

Shopify Web3

Shopify คือ บริษัทสัญชาติแคนาดาที่ช่วยให้กลุ่มพ่อค้าแม่ค้ารายย่อย สร้างเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์แบบสำเร็จรูปได้ Shopify เปิดตัวแพลตฟอร์มการซื้อขาย NFT เวอร์ชั่น Beta ของพวกเขาในปี 2021 ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถสร้างเหรียญ/โทเค็น หรือแม้แต่ขาย NFT บนหลายๆ บล็อกเชนได้

Tobi Lutke ซีอีโอของ Shopify หรือแม้แต่ ประธานบริษัทอย่าง Harley Finkelstein ต่างก็เคยแสดงความสนใจเป็นอย่างมากต่อเทคโนโลยี Web3 นี้

Finkelstein เคยกล่าวไว้ว่า

“ผมเชื่อว่า อนาคตของการค้าขายรายใหญ่ และรายย่อยจะเกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกหนแห่ง อาจจะเป็นบนโลกออนไลน์, ใน Metaverse, AR หรือ VR ก็สามารถเกิดขึ้นได้ หรือมันอาจจะเป็นร้านแบบออฟไลน์ ในร้านค้าที่ตกแต่งอย่างสวยงาม หรืออยู่ที่ตลาดของเกษตรกรรายใหญ่ก็สามารถเป็นไปได้ทั้งสิ้น”

ตั้งแต่ปี 2018 เป็นต้นมา Shopify ได้เริ่มการผสานรวมความสามารถในการขายของด้วยการใช้ AR (Augmented Reality หรือ เทคโนโลยีที่ผสานรวมวัตถุแห่งโลกเสมือนเข้าสู่โลกแห่งความเป็นจริง) เข้าสู่พื้นที่ดิจิทัลของพวกเขา ตัวอย่างของกรณีล่าสุดที่เกิดขึ้นก็คือ การเข้าซื้อกิจการบริษัทออกแบบบ้านโดยการใช้เทคโนโลยี AR ซึ่งก่อตั้งโดยทีมงานที่อยู่เบื้องหลัง Primer

การขายของด้วยการใช้ AR มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะนำเสนอสินค้าต่างๆ ในลักษณะที่มีความสมจริง และช่วยให้ลูกค้าสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับมันได้ ซึ่งจะช่วยลดโอกาสที่ผู้ใช้งานเกิดความไม่พอใจต่อสินค้า และทำให้เจ้าของสินค้าประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย Instant Pot, Allbird และ Magnolia คือตัวอย่างของแบรนด์ชั้นนำที่ใช้งานเทคโนโลยี AR ของ Shopify

นอกจากนี้ Shopify ยังได้ยื่นจดสิทธิบัตรหลายฉบับเกี่ยวกับ AR ซึ่งรวมไปถึง ระบบวัดขนาดร่างกายด้วยการใช้เทคโนโลยี AR ซึ่งช่วยให้สามารถแนะนำขนาดเสื้อผ้าที่แม่นยำได้

ในทางตรงกันข้าม โปรแกรม NFT ของ Shopify ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถสร้างและขาย NFT ของพวกเขาได้ โดยการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน เช่น Ethereum และ Polygon และสิ่งนึงที่แตกต่างจากตลาด NFT รายอื่นๆ ก็คือ ร้านค้าไม่จำเป็นต้องรับชำระเงินด้วยสกุลเงินคริปโต พวกเขาสามารถรับ Shop Pay, บัตรเดบิต หรือบัตรต่างๆ ที่ออกธนาคารเพื่อเป็นการชำระเงินสำหรับ Shopify ได้

3. Twitter

Twitter Web3

Twitter เป็นอีกหนึ่งบริษัทชั้นนำที่เริ่มให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี Web3 และในฐานะที่พวกเขาเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่ได้รับความนิยมสูงสุด ความเคลื่อนไหวของพวกเขาอาจจะส่งผลกระทบเป็นอย่างมาก ตัวอย่างเช่น เมื่อไม่นานมานี้ พวกเขาได้เริ่มเปิดให้ใช้งาน NFT เป็นรูปโปรไฟล์ได้แล้ว

การใช้งาน NFT เป็นรูปโปรไฟล์เป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมสำหรับเจ้าของ NFT ที่ต้องการแสดงสถานะและความเป็นเจ้าของสินทรัพย์ดิจิทัล ปัจจุบัน Twitter ยังเป็นผู้ให้บริการเพียงรายเดียวที่ได้นำแนวคิดใหม่นี้มาใช้

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ใช้งานที่สมัครใช้งาน Twitter Blue จะสามารถเลือกใช้งาน NFT เป็นรูปโปรไฟล์หลักได้ และผู้ใช้งานที่มี NFT ที่ได้รับการยืนยันแล้วจะได้รับการแสดงผลรูปโปรไฟล์ของพวกเขาเป็นแบบหกเหลี่ยม อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน มันยังมีข้อจำกัดต่างๆ มากมายในการใช้งาน NFT เป็นรูปโปรไฟล์ ตัวอย่างเช่น ฟีเจอร์นี้จะสามารถใช้งานได้เฉพาะใน 4 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย แคนาดา และนิวซีแลนด์ เป็นต้น

ถึงกระนั้นแล้ว ด้วยการเปิดให้ใช้งาน NFT เป็นรูปโปรไฟล์ Twitter ได้แสดงให้เราเห็นถึงความต้องการของพวกเขาที่จะเดินหน้าเข้าสู่โลกแห่ง Web ในยุคถัดไป

4. Spotify

Spotify Web3
ที่มา: Depositphotos

Spotify เป็นบริการสตรีมเพลงชื่อดังสัญชาติสวีเดนที่ถูกสร้างขึ้นในปี 2006 โดย Daniel Ek และ Martin Lorentzon ด้วยจำนวนผู้ใช้งานที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว พวกเขาได้กลายเป็นหนึ่งในบริการสตรีมมิ่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก ปัจจุบัน Spotify มีผู้ใช้งานมากกว่า 422 ล้านคน

เมื่อไม่นานมานี้ Spotify ได้เริ่มมองหาคนที่จะมาทำงานเกี่ยวกับการพัฒนา Web3 โดยเปิดรับสมัครงานในตำแหน่งต่างๆ เช่น ผู้จัดการ วิศวกร และผู้เชี่ยวชาญในสาขาเทคโนโลยีดังกล่าว

นี่อาจจะเป็นเพราะว่า ศิลปินบางคนเริ่มที่จะวางขายผลงาน NFT ของพวกเขาแล้ว ดังนั้น มันจึงไม่น่าแปลกใจเท่าไหร่ที่ Spotify กำลังจะก้าวเข้ามามีส่วนร่วมในโลก Web3 ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า Spotify จะสร้างตลาดซื้อขาย NFT ของตัวเองหรือไม่ แต่ศิลปินอย่าง Snoop Dogg, King of Leon และ Grimes ต่างก็ทำยอดขายได้เป็นอย่างดีสำหรับ Music NFT ของพวกเขา

5. Microsoft

Microsoft Web3

Microsoft หนึ่งในบริษัทเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดในโลก ประกาศว่าพวกเขาจะให้การสนับสนุน Astar Network ในการสร้างอนาคตของโลก Web3 ผ่าน Astar Incubation Program สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ Microsoft จะจัดหาเครื่องมือและการสนับสนุน รวมถึงการให้คำปรึกษาและความช่วยเหลือต่างๆ ในด้านการตลาดอีกด้วย

นอกจากนี้ เพื่อที่จะแข่งขันกับ บริษัท Big Tech ชั้นนำต่างๆ อย่างเช่น บริษัท Meta เพื่อแย่งส่วนแบ่งการตลาดของตลาดบล็อกเชน Microsoft ได้ให้การสนับสนุน ConsenSys โดยการเข้าร่วมในรอบ Investment Round ด้วยเงินลงทุนมูลค่า 450 ล้านดอลลาร์ ซึ่งช่วยเพิ่ม Market Cap ของบริษัทสตาร์ทอัพนี้ถึง 2 เท่าเป็น 7 พันล้านดอลลาร์

Microsoft และ ConsenSys บริษัทผู้พัฒนา MetaMask กระเป๋าเงินคริปโตที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เริ่มทำงานร่วมกัน หลังจากที่ Microsoft หยุดให้บริการบล็อกเชน Azure และเริ่มส่งต่อลูกค้าของพวกเขาให้กับ ConsenSys ในปี 2021

นอกจากนี้ Microsoft ยังแสดงความสนใจใน Polkadot ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสัญญาอัจฉริยะอีกหนึ่งรายที่แข่งขันกับ Ethereum ผ่าน Astar Network อีกด้วย เราจึงสามารถพูดได้ว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ควรค่าแก่การจับตามองจริงๆ

บริษัท Web3 เริ่มที่จะมองเห็นอนาคตใหม่ๆ

ในอนาคต Web3 จะมีมูลค่ามากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ จากการรวมตัวกันของเทคโนโลยีต่างๆ เช่น IoT, Machine Learning และ การวิเคราะห์ข้อมูล ฯลฯ สิ่งที่ขับเคลื่อนให้เกิดพัฒนาการในด้านต่างๆ อย่างมีนัยสำคัญต่อวงการนี้ก็คือ ความต้องการที่จะทำให้ End-User (ผู้ใช้งานที่นำสิ่งต่างๆ ที่คนอื่นสร้างหรือเขียนขึ้นมาไว้แล้วมาใช้งาน) สามารถใช้งานสิ่งต่างๆ ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ง่ายมากยิ่งขึ้น และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Web3 จะเป็นเปลี่ยนวิธีการที่เรามีปฏิสัมพันธ์กับโลกดิจิทัลไปอย่างสิ้นเชิง ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดผลกระทบอย่างมหาศาล ต่อทั้งผู้คนทั่วไปและภาคธุรกิจต่างๆ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจก็คือ การเปลี่ยนผ่านจาก Web2 ไปยัง Web3 นั้นจะไม่เกิดขึ้นในชั่วข้ามคืนอย่างแน่นอน นั่นหมายความว่า บริษัท Big Tech เหล่านี้จะมีเวลามากเพียงพอที่จะปรับตัวและดำเนินการสิ่งต่างๆ ในรูปแบบที่พวกเขาต้องการ

หากต้องการทราบข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับเทคโนโลยี Web3 เราขอแนะนำให้คุณเข้าร่วมกลุ่ม BeInCrypto Community บน Telegram ซึ่งคุณจะได้รับทราบข่าวสารเกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ มากมายอย่างเร็วทันใจอย่างแน่นอน

คำถามที่พบบ่อย

บริษัท Web3 คือบริษัทแบบไหน?

ผลิตภัณฑ์ Web3 เป็นอย่างไร?

เครือข่าย Web3 คืออะไร?

บริษัทบล็อกเชนที่ใหญ่ที่สุดคือบริษัทใด?

แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | พฤษภาคม 2024

Trusted

ข้อจำกัดความรับผิด

ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์

Akhradet-Mornthong-Morn.jpg
Akradet Mornthong
อัครเดช หมอนทอง เป็น นักแปล/นักเขียนคอนเทนต์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน NFT Games, Metaverse, AI, Crypto และเทคโนโลยีใหม่ๆ เขาจบการศึกษาในสาขาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล และมีประสบการณ์ในการทำงานในวงการเกมมากกว่า 10 ปี เมื่อ NFT Games ได้กลายเป็นกระแสขึ้นมาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เขาก็ไม่พลาดที่จะก้าวเข้ามาในวงการนี้เพื่อศึกษาข้อมูลในเชิงลึกต่างๆ ของวงการ NFT รวมไปถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Blockchain และ Crypto อีกด้วย
READ FULL BIO
ได้รับการสนับสนุน
ได้รับการสนับสนุน