ตลาดสกุลเงินคริปโตนั้นให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าแต่ก็คาดเดาไม่ค่อยได้ หากคุณยังเป็นเพียงแค่มือใหม่ ไม่ใช่เรื่องแปลกที่คุณจะรู้สึกสับสน เวลาที่เห็นราคาของเหรียญหรือโทเค็นมีมูลค่าเพิ่มขึ้นมากกว่า 50% ภายในเวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมง เมื่อเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น มันก็อาจจะนำไปสู่อาการ FOMO ได้ ทำให้คุณหวังว่าจะรู้วิธีการเทรดในตลาด แต่การใช้เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคเพื่อช่วยให้การเทรดก็ไม่ใช่เรื่องง่าย อินดิเคเตอร์บางตัวก็อาจจะมีความซับซ้อนเกินไป และอาจจะใช้เวลาฝึกฝนเป็นเวลานานกว่าจะนำไปใช้ได้จริง อย่างไรก็ตาม คุณสามารถเริ่มต้นได้ง่ายๆ ด้วยการเรียนรู้การทำงานของ “Moving Averages”
“Moving Averages” เป็นตัวชี้วัดที่เรียบง่าย แต่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งจะช่วยให้คุณเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของราคาที่ซับซ้อนได้ อีกทั้ง พวกมันยังทำงานร่วมกับตัวชี้วัดอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี ในบทความนี้ เราจะมาสำรวจถึงรายละเอียดต่างๆ ของ “Moving Averages” เช่น วิธีการทำงาน, ประเภทของ MA, และการนำไปใช้งานในการเทรดคริปโต เป็นต้น นอกจากนี้ เรายังจะไปดูวิธีการใช้งาน MA ร่วมกับตัวชี้วัดอื่นๆ เพื่อให้ได้ผลลัพท์ที่แม่นยำยิ่งขึ้น
กระดานเทรดคริปโตชั้นนำ
ดีที่สุดเรื่องอัตราดอกเบี้ย
ดีที่สุดเรื่องการเทรดแบบ Spot
ดีที่สุดเรื่องการเทรด Altcoins
- ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ “Moving Averages”
- Moving Averages ประเภทต่างๆ
- Moving Averages แบบไหนที่เหมาะกับ Cryptocurrency มากที่สุด
- การใช้ “ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่” ในเชิงลึก: Golden Cross และกลยุทธ์อื่นๆ
- วิธีการใช้ 5-8-13 EMA: เครื่องมือเทรดที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก
- ช่วงระยะเวลากับ Moving Average
- อินดิเคเตอร์ตัวไหนที่ใช้คู่กับ “Moving Averages” ได้ดีที่สุด
- Moving Averages: เครื่องมือพร้อมใช้งานสำหรับการวิเคราะห์ทางเทคนิค
- คำถามที่พบบ่อย
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ “Moving Averages”
Moving Averages (MA) หรือ ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ จะช่วยให้เรามีข้อมูลและทำความเข้าใจในการเทรดสกุลเงินคริปโตได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในตลาดคริปโตที่มีความผันผวน มันไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะตรวจสอบข้อมูลราคาในระยะยาว หรือแม้แต่ในระยะสั้นก็ตาม การใช้ Moving Average Indicator จะช่วยให้เราตรวจสอบค่าเฉลี่ยของราคาได้ง่ายขึ้นเป็นอย่างมาก
Moving Average Indicator คืออะไร?
Moving Average (MA) คือ Lagging Indicator (ตัวชี้วัดที่จะเกิดผลหลังจากมีข้อมูล) และ เครื่องมือในการวิเคราะห์ทางเทคนิคที่จะทำให้ข้อมูลราคาเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้นโดยการใช้ข้อมูลราคาในอดีต MA สามารถใช้งานได้ในหลายกรอบเวลา ขึ้นอยู่กับความต้องการในการเทรดของคุณ และ MA จะช่วยให้คุณเห็นภาพความเคลื่อนไหวของราคาของสินทรัพย์ในช่วงระยะเวลาหนึ่งได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
Moving Averages ไม่ได้จำกัดการใช้งานอยู่แค่เพียงกับสกุลเงินคริปโตเท่านั้น:
ค่า MA จะแสดงผลออกมาเป็นเส้นค่าเฉลี่ยหนึ่งเส้น และสามารถใช้เพื่อคาดการณ์ถึงเทรนด์ของราคาในอนาคตได้ แต่ก็จะเป็นหลังจากที่เทรนด์ได้เริ่มต้นขึ้นไปแล้วเท่านั้น
วิธีง่ายๆ ในการทำความเข้าใจค่า MA ก็คือ การบวกราคาปิดของสินทรัพย์ในช่วงเวลาที่กำหนดไว้ จากนั้น หารผลรวมดังกล่าวด้วยช่วงเวลานั้นๆ (จำนวนวันหรือชั่วโมงที่คุณต้องการจะดูค่าเฉลี่ย) ตัวอย่างเช่น Simple Moving Average (SMA) 5 วัน คือการบวกราคาปิดของ 5 วันที่ผ่านมา แล้วหาผลรวมนั้นด้วย 5
ข้อมูลจะถูกแสดงผลออกมาเป็นเส้นค่าเฉลี่ยที่เรียบง่ายเส้นหนึ่ง ที่สามารถใช้เพื่อระบุทิศทางการซื้อขายสินทรัพย์ได้
รู้หรือไม่ว่า? ในโลกของคริปโตจะไม่มีคอนเซปต์ของ “ราคาปิด” เนื่องจากตลาดคริปโตนั้นไม่เคยหลับใหล แต่จะเป็นการเลือกเวลาที่เฉพาะเจาะจงในช่วง 24 ชั่วโมงมา เพื่อใช้เป็นราคาปิดในรอบ 24 ชั่วโมงนั้นๆ เวลานี้อาจจะแตกต่างกันไปตามแพลตฟอร์มต่างๆ ขึ้นอยู่กับมาตรฐานเวลาสากลเชิงพิกัด (UTC) ซึ่งจะคล้ายกับ GMT หรือเวลามาตรฐานกรีนิช
ในการคำนวณ “ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่” ของสกุลเงินคริปโตในกรอบเวลาสั้นๆ เช่น รายชั่วโมง หรือ นาที ราคาซื้อขายล่าสุดในช่วงเวลาที่กำหนดจะถูกนำมาพิจารณาด้วย
ตัวอย่างอื่นๆ ของการทำงานของ “ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่”
วิธีที่ดีที่สุดในการทำความเข้าใจ “ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่” คือ การดูว่าค่าเฉลี่ยเหล่านี้นำไปใช้ในการซื้อขาย Bitcoin อย่างไร หลังจากที่มีการปรับฐานจากระดับสูงสุดในเดือนพฤศจิกายน 2021 ราคาของ BTC ก็ยังคงผันผวนอยู่ ในระหว่างเดือนมิถุนายน 2022 ถึงกรกฎาคม 2023 และต่อเนื่องไปจนถึงเดือนสิงหาคม 2023 ราคามีการขยับขึ้นเป็นอย่างมาก แต่กลับไม่มีเทรนด์ที่ชัดเจน
อย่างไรก็ตาม หากเราดูที่ “ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่” ในช่วง 200 วันที่ผ่านมา (SMA 200-day) ดูเหมือนว่าเทรนด์ขาลงนั้นได้ดำเนินมาจนถึงเดือนมีนาคม 2023 และเริ่มดีขึ้นหลังจากนั้น เราใช้ SMA 200 วัน เนื่องจากมันเป็นผลดีต่อการตัดสินใจในระยะยาว นอกจากนี้ คุณสามารถใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 50 วัน เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของราคาในช่วงเวลาที่สั้นลงได้
และนี่คือเหตุผลว่าทำไมระดับค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่จึงควรค่าแก่การตรวจสอบ:
ราคาของ Bitcoin ได้ทะลุเส้นค่าเฉลี่ย 50 วันไปแล้ว! นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก ในปี 2017 มันเกิดขึ้นเพียงไม่กี่ครั้งเท่านั้น แต่ทุกครั้งที่เกิดขึ้น มันก็เป็นโอกาสในการซื้อที่ดีเป็นอย่างมาก
Lark Davis นักเทรดคริปโต: Twitter
สูตรของ Moving Average
ในการเทรด ปกติแล้ว เราจะใช้ Moving Averages อยู่ 2 ประเภท: Simple Moving Average (SMA) และ Exponential Moving Average (EMA)
สูตรคำนวนของแต่ละตัวมีดังนี้:
- SMA = (A1 + A2 + A3 + … + An) / n
โดยที่ A1, A2, …An แทนราคาปิดของทุกๆ ช่วงเวลาจนถึง n ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการคำนวณ SMA 7 วัน n ก็จะเท่ากับ 7 ในกรณีของ SMA นั้น ราคาทั้งหมดภายในช่วงเวลาจะมีการถ่วงน้ำหนักเท่ากัน
- EMA = (ราคาปิด – EMA ของวันก่อนหน้า) * (2/(ช่วงเวลาที่เลือก + 1)) + EMA ของวันก่อนหน้า
EMA จะไม่ได้ถ่วงน้ำหนักราคาเท่าๆ กัน แต่จะถ่วงน้ำหนักที่ราคาล่าสุดมากกว่า
ทำไมเราถึงต้องใช้ Moving Averages
นอกจากเรื่องที่ว่า MA เป็นอินดิเคเตอร์ที่ใช้งานได้ง่ายแล้ว ต่อไปนี้คือเหตุผลอื่นๆ ที่เราควรใช้งาน MA:
- ใช้ทำหน้าที่เป็นระดับแนวรับและแนวต้านไปพร้อมๆ กับเส้นแนวโน้มและเส้นแนวนอนตามปกติ ซึ่งจะช่วยให้ทำการเทรดแบบกริด (Grid Trading) และตั้งจุด Stop Loss ได้ดียิ่งขึ้น
- ช่วยในการระบุเทรนด์ ราคาซื้อขายที่อยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ในระยะยาวจะถืออยู่ในเทรนด์ขาขึ้น หรือ เกือบจะเข้าสู่เทรนด์ขาขึ้น
- เป็นสัญญาณในการเทรดให้กับนักเทรด เมื่อใช้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ตั้งแต่ 2 เส้นขึ้นไป สัญญาณเหล่านี้อาจจะเป็นได้ทั้ง Golden Cross หรือ Death Cross
นี่คือทวีตจากเดือนพฤษภาคมที่แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของ Bitcoin:
Moving Averages ประเภทต่างๆ
“ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่” นั้นมีอยู่หลายประเภท ซึ่งแต่ละตัวก็มีประโยชน์ในสถานการณ์การเทรดที่แตกต่างกัน
Simple Moving Average (SMA)
อย่างที่อธิบายไปแล้วในส่วนของสูตรการคำนวน SMA จะให้น้ำหนักกับข้อมูลราคาทั้งหมดในทุกช่วงเวลาเท่าๆ กัน หากคุณต้องการตรวจสอบเทรนด์ของสินทรัพย์ในระยะยาว การใช้ SMA จะเหมาะสมมากกว่า เนื่องจากเป็นการเรียกใช้ข้อมูลแบบไม่ได้เน้นที่ส่วนใดเป็นพิเศษ SMA จะไม่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาในระยะสั้น และใช้งานได้ง่าย
Exponential Moving Average (EMA)
SMA อาจจะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาล่าสุดได้ไม่ค่อยดีนัก เนื่องจากมันให้น้ำหนักกับทุกจุดราคาเท่าๆ กัน ในทางตรงกันข้าม EMA จะให้ความสำคัญกับข้อมูลล่าสุด ทำให้มันเหมาะสำหรับการเทรดระยะสั้น เช่น Day Trading, Scalping, และ Swing Trading
Weighted Moving Average (WMA)
EMA จะให้น้ำหนักข้อมูลล่าสุดแบบเอกซ์โปเนนเชียล ในขณะที่ Weighted Moving Average (WMA) จะให้น้ำหนักข้อมูลใหม่มากกว่าข้อมูลเก่า และนี่คือลักษณะของสูตรคำนวนของ WMA:
WMA = (P15 + P24 + P33 + P42 + P5*1) / (5+4+3+2+1)
โดยที่
- P1 = ราคาวันล่าสุด
- P2 = ราคาของวันก่อน P1
- P3, P4, P5 = ราคาของวันที่ 3, 4 และ 5
จะเห็นได้ว่า P1 มีน้ำหนักมากที่สุด นั่นก็คือ 5 ในขณะที่ P5 มีน้ำหนักน้อยที่สุด ซึ่งก็คือ 1
WMA เป็นวิธีการที่จัดลำดับความสำคัญของราคาล่าสุด แต่มีความไวน้อยกว่า EMA ซึ่งจะช่วยลดโอกาสในการรับสัญญาณการซื้อขายที่ผิดพลาดได้
โดยสรุปแล้ว SMA คือเครื่องมือที่ยอดเยี่ยมสำหรับใช้วิเคราะห์ตลาดในระยะยาว ในขณะที่ EMA และ WMA มีไว้ใช้สำหรับสถานการณ์การเทรดที่ราคาเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว
Moving Averages แบบไหนที่เหมาะกับ Cryptocurrency มากที่สุด
การเทรดในตลาดคริปโตนั้นจะเต็มไปด้วยสถานการณ์ที่แตกต่างกันมากมาย แต่ไม่ต้องกังวลไป คุณสามารถใช้เส้น MA ที่แตกต่างกันเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเทรดของคุณได้
การใช้ “Moving Averages” สำหรับ Scalping
การซื้อขายในระยะสั้น หรือ Scalping คือ การเทรดระยะสั้น โดยจะเน้นการมองหาโอกาสในการทำกำไรผ่านการเคลื่อนไหวของราคาเพียงเล็กน้อย และความผันผวนในตลาด ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง และเพื่อให้เทรดได้อย่างมีประสิทธิภาพ การใช้ MA ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ก็จะเหมาะสมที่สุด 5-8-13 Period EMA จะดีที่สุดเนื่องจากมันจะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาที่เล็กน้อยที่สุดได้
นี่คือกลยุทธ์บางส่วนที่เหล่า Scalper ใช้เพื่อช่วยให้ทำการเทรดได้ดียิ่งขึ้น:
- ใช้การตัดกันของราคา — แท่งเทียนระยะสั้นที่ตัดขึ้นไปเหนือเส้น MA ระยะสั้น อาจจะเป็นสัญญานของขาขึ้น
- ใช้การตัดกันของเส้น MA — เมื่อเส้น MA ระยะสั้น เช่น 5-Period EMA ตัดขึ้นไปหรือเส้น EMA ที่นานกว่า เช่น 8-Period EMA ก็อาจจะถือได้ว่าเป็นสัญญาขาขึ้น
การใช้ “Moving Averages” สำหรับ Day Trading
กลยุทธ์การเทรดรายวัน (Day Trading) จะแตกต่างจากการเทรดแบบ Scalping เนื่องจากนักเทรดต้องมองหาสัญญาณการเทรดทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เป้าหมายคือการใช้ค่า EMA ระยะสั้น เช่น 10 หรือ 20-Period เพื่อระบุเทรนด์ล่าสุดหรือโอกาสในการกลับตัว เส้น MA ระยะสั้นนี้สามารถใช้ร่วมกับ EMA หรือ SMA ระยะยาว เช่น 50 หรือ 200-Period เพื่อช่วยให้เข้าใจสภาวะของตลาดโดยรวมได้ดียิ่งขึ้น
หมายเหตุ: คำว่า “Period” จะหมายถึงไทม์ไลน์ของกราฟนั้นๆ เช่น 200-Period MA ในกรอบเวลารายวัน ก็จะหมายความว่าจะเป็นการใช้ช่วงระยะเวลา 200 วันมาประกอบการพิจารณา
โปรดจำไว้เสมอว่า คุณสามารถใช้เส้น MA ต่างๆ ร่วมกันได้ในเกือบทุกกรอบเวลา
ต่อไปนี้คือกลยุทธ์ Day Trading ด้วยการใช้ค่า MA ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด:
- ใช้เส้น MA เป็นระดับแนวระดับและแนวต้านแบบไดนามิค (ระดับที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา)
- ใช้การตัดกันของเส้น MA เพื่อกำหนดสภาวะกระทิง (ขาขึ้น) หรือหมี (ขาลง)
นี่คือตัวอย่างของวิธีการใช้เส้น MA 50-วัน เป็นเหมือนแนวรับ:
การใช้ “Moving Averages” สำหรับ Swing Trading
สำหรับ Swing Trading จะหมายถึงการถือครองสินทรัพย์ไว้เป็นเวลาหลายวันหรือสัปดาห์ เพื่อจับการเปลี่ยนแปลงของราคาที่เหมาะสม 50 หรือ 200-Period MA จะมีประโยชน์มากที่สุด ตัวอย่างเช่น หากคุณเห็นว่าเส้น MA ทั้ง 2 เส้นพุ่งสูงขึ้น นั้นอาจจะหมายถึงเทรนด์ขาขึ้นกำลังจะเริ่มขึ้น และเนื่องจากการ Swing Trading จะเป็นการเทรดในช่วงเวลาหลายวัน คุณควรจะใช้ SMA แทน EMA เพื่อให้ได้สัญญาณการเทรดที่เหมาะสมที่สุด
สำหรับแนวทางในการเทรด ให้ทำตามแนวทางเดียวกับ Day Trading โดยการใช้เส้น MA เป็นระดับแนวรับและแนวต้าน หรือการใช้เส้น MA หลายเส้นเพื่อหาจุดตัดกัน
การใช้ “ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่” ในเชิงลึก: Golden Cross และกลยุทธ์อื่นๆ
คุณอาจจะเห็นว่าเรามีการพูดถึงการตัดกันของเส้น MA ไปบ้างแล้ว มันเป็นเรื่องที่ไม่ได้ซับซ้อนแต่อย่างใด และต่อไป เราจะไปลงลึกกันว่า มันมีความหมายต่อการเทรดคริปโตของคุณอย่างไร
Golden Cross และ Death Cross
Golden Cross ก็คือการที่เส้น MA ระยะสั้นเคลื่อนผ่านเส้น MA ระยะยาวไปอยู่ด้านบน ซึ่งเป็นสัญญาณของการเปลี่ยนแปลงจากสภาวะตลาดหมีไปสู่ตลาดกระทิง เป็นข้อมูลที่บ่งบอกว่าผู้ซื้อเริ่มเข้ามามีอำนาจมากขึ้น หากคุณต้องการที่จะลงทุน ที่อาจจะเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่จะซื้อสินทรัพย์แล้วถือมันเอาไว้
สิ่งที่ตรงกันข้ามกับเหตุการณ์ที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ จะถูกเรียกว่า Death Cross ซึ่งจะเป็นการที่เส้น MA ในระยะยาววิ่งตัดผ่านเส้น MA ในระยะสั้นลงมา แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของขาลง ซึ่งอาจจะเป็นตัวเลือกที่ดีในการขายสินทรัพย์ออกไป
วิธีการใช้ 5-8-13 EMA: เครื่องมือเทรดที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก
หากคุณเป็นนักเทรดในระยะสั้นที่ต้องการทำการเทรดอย่างรวดเร็ว หรือมองหาสัญญาณการซื้อขายในเชิงรุก และโอกาสในการเก็งกำไร การใช้งาน 5-8-13 EMA ก็ถือเป็นตัวเลือกที่ดี อย่างไรก็ตาม ตัวเลขเหล่านี้ไม่ได้ถูกเลือกขึ้นมาแบบสุ่มๆ แต่เป็นตัวเลขฟีโบนัชชีที่สามารถทำงานเสริมกันได้อย่างดี โดยเฉพาะเมื่อมันต้องทำหน้าที่เป็นแนวรับหรือแนวต้านในระยะสั้น
หากต้องการใช้งานมันอย่างมีประสิทธิภาพ ให้มองหาการวิ่งตัดกันของเส้น MA เหล่านี้ เมื่อเส้น 5-Period EMA — ซึ่งเป็นเส้นที่ให้ความสำคัญกับราคาล่าสุด — วิ่งผ่านขึ้นไปเหนือเส้น 8-Period EMA และ 13-Period EMA ก็จะเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงสภาวะกระทิง ในทางกลับกัน หากเส้น 5-Period EMA ตกลงไปอยู่ต่ำกว่าเส้น EMA ทั้ง 2 เส้น นั่นอาจจะหมายถึงการเทขายทั่วทั้งตลาดก็เป็นได้
อย่างไรก็ตาม แนวทางการใช้ 5-8-13 EMA จะมีประสิทธิภาพมากที่สุดในตลาดที่มีเทรนด์ที่ชัดเจน มันอาจจะไม่ได้ให้สัญญาณที่แม่นยำมากนักในตลาดที่กำลังชะลอตัว
ช่วงระยะเวลากับ Moving Average
คุณเคยเปรียบเทียบเส้น MA ที่ระยะสั้น เช่น เส้น 10-Period หรือ 20-Period MA กับเส้น MA เส้นระยะยาว เช่น เส้น 100-Period หรือ 200-Period MA หรือไม่? คุณจะเห็นได้ว่า เส้น MA ระยะสั้นจะมีการขยับขึ้นและลงมากกว่าเส้น MA ระยะยาว เนื่องจากเส้น MA ในระยะสั้นนั้นมีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของราคามากกว่า
และนั่นจึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมช่วงระยะเวลาจึงมีความสำคัญ หากคุณต้องการซื้อขายและได้รับสัญญาณอย่างรวดเร็ว การใช้ 50-Period MA หรือต่ำกว่า ก็น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า และคุณอาจจะเลือกใช้ EMA แทนที่จะเป็น SMA เนื่องจากความอ่อนไหวต่อราคาที่มากกว่า แต่หากคุณต้องการที่จะดูตลาดในระยะยาว คุณควรจะเลือกช่วงเวลาที่ยาวนานกว่า
อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญก็คือ ช่วงระยะเวลาของ “ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่” นั้นจะไม่เหมือนกับกรอบเวลาของกราฟที่คุณใช้ คุณสามารถใช้เส้น MA ใดๆ ก็ได้เพื่อประเมินสภาวะของตลาด โดยไม่ต้องคำนึงถึงกรอบเวลาของกราฟ ตัวอย่างเช่น คุณสามารถเปิดกราฟ 4 ชั่วโมง และยังคงใช้เส้น 50-Period และ 200-Period MA เพื่อมองหาจุดตัดที่อาจจะเกิดขึ้น (ในกรณีนี้ Period จะเท่ากับ 4 ชั่วโมง)
อินดิเคเตอร์ตัวไหนที่ใช้คู่กับ “Moving Averages” ได้ดีที่สุด
ถึงแม้ว่าเส้น MA นั้นค่อนข้างที่จะน่าเชื่อถืออยู่แล้ว แต่การใช้มันร่วมกับอินดิเคเตอร์อื่นๆ ก็จะช่วยให้ได้สัญญาณที่แม่นยำยิ่งขึ้นไปอีก นี่คืออินดิเคเตอร์บางส่วนที่ทำงานร่วมกับเส้น MA ได้เป็นอย่างดี:
Relative Strength Index (RSI)
ในฐานะที่เป็น Momentum Oscillator (กราฟเส้นที่ใช้วัดโมเมนตัมของราคาสินทรัพย์) RSI สามารถทำงานร่วมกับ MA ได้ยอดเยี่ยมเป็นอย่างมาก และนี่คือกลยุทธ์การเทรดที่คุณอาจจะนำไปประยุกต์ใช้ได้:
หากต้องการตรวจสอบว่าราคาจะเพิ่มสูงขึ้นหรือไม่ ให้ลองดูว่าราคาอยู่สูงกว่าเส้น MA ที่กำหนดไว้ (เช่น เส้น MA 50 วัน) หรือไม่ ถ้าใช่ นั่นหมายความว่าตลาดอาจจะอยู่ในสภาวะขาขึ้น และเพื่อยืนยันสิ่งนี้ ให้ดูว่า RSI อยู่ในช่วง Oversold หรือต่ำกว่า 40 หรือไม่?
คุณยังสามารถใช้สัญญาณ RSI Divergence เพื่อยืนยันสัญญาณขาขึ้น (Bullish) และ ขาลง (Bearish) ที่แม่นนำยิ่งขึ้นได้ นอกจากนี้ RSI ยังสามารถใช้ยืนยันการเกิด Death Cross หรือ Golden Cross ซึ่งจะช่วยให้ยืนยันการกลับตัวของเทรนด์ได้อีกด้วย
ต่อไปนี้คือไอเดียการนำ RSI ไปใช้งานที่น่าสนใจ (โปรดใช้ดุลยพินิจก่อนตัดสินใจ):
Volume-Weighted Average Price
นี่คืออินดิเคเตอร์ที่จะโฟกัสในการเทรดแบบ Scalping ซึ่งทำงานได้ดีเมื่อใช้ร่วมกับแนวทางการเทรดโดยใช้ 5-8-13 EMA หากต้องการใช้งาน คุณเพียงแค่ต้องตรวจสอบว่า 5-Period EMA วิ่งตัดผ่านเส้นอื่นๆ ขึ้นไปหรือไม่ ซึ่งจะเป็นว่าเป็น Bullish Crossover (การวิ่งตัดกันเป็นขาขึ้น)
หากมันเกิดขึ้น การเคลื่อนไหวอยู่เหนือเส้น VWAP จะเป็นการยืนยันถึงสัญญาการเทรดที่แข็งแกร่ง อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ตรงกันข้ามกันจะเกิดขึ้นเมื่อเส้น 5-Period EMA วิ่งตัดลงต่ำกว่าเส้นอื่นๆ ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อราคาอยู่ต่ำกว่าเส้น VWAP เท่านั้น
Bollinger Bands
Bollinger Bands คือตัวชี้วัดที่แสดงให้เห็นว่าราคาของสกุลเงินคริปโตมีการเปลี่ยนแปลงไปมากเพียงใด โดยจะใช้ 20-Period SMA เป็นจุดอ้างอิง ซึ่งจุดอ้างอิงเหล่านี้สามารถใช้เพื่อคาดการณ์ความเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ในอนาคตได้ เช่น หากราคาขยับเข้าไปใกล้แถบด้านบน ราคาก็อาจจะตกลง เพราะมันอยู่ในโซน Overbought หรือเช่นเดียวกัน หากมันขยับลงไปในโซนด้านล่าง ซึ่งเป็นโซน Oversold นั่นอาจจะบ่งบอกถึงการเพิ่มขึ้นของราคา
หากคุณต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับกลยุทธ์ที่เน้นการใช้ Bollinger Bands นี่คือเธรดที่คุณสามารถลองศึกษาดูได้:
Moving Average Convergence-Divergence (MACD)
MACD เป็น เครื่องมือที่ใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เพื่อตรวจสอบหาเทรนด์ MACD จะถูกคำนวนจากส่วนต่างของเส้น 26-Period EMA และเส้น 12-Period EMA เมื่อคำนวนออกมาแล้วก็จะได้เป็นเส้น MACD จากนั้น เส้นสัญญาณ (Signal Line) ก็จะถูกสร้างขึ้นโดยการคำนวนจากเส้น 9-Period EMA ของ เส้น MACD
การรวมตัวกันอย่างซับซ้อนนี้จะให้ข้อมูลเชิงลึกต่อไปนี้แก่เรา:
- เมื่อเส้น MACD ข้ามขึ้นไปเหนือเส้น Signal นั่นอาจจะเป็นสัญญาณการเทรดขาขึ้น
- เมื่อเส้น MACD ตกลงมาใต้เส้น Signal นั่นอาจจะเป็นสัญญาณการเทรดขาลง
- เพื่อการตรวจสอบยืนยันเพิ่มเติม คุณสามารถเพิ่มเส้น 200-Period และ 50-Period EMA ลงไปบนกราฟได้
Moving Averages: เครื่องมือพร้อมใช้งานสำหรับการวิเคราะห์ทางเทคนิค
จากข้อมูลต่างๆ ที่เราได้อธิบายไป คุณจะเห็นได้ว่าเส้น “ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่” เป็นตัวชี้วัดที่ใช้งานในการเทรดคริปโตได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นมือใหม่ หรือ นักเทรดที่มีประสบการณ์สูงก็ตาม เครื่องมือเหล่านี้มีประโยชน์ทั้งการใช้มองภาพรวมในระยะยาว หรือการเทรดในระยะสั้นก็ตาม
อย่างไรก็ตาม การใช้งานเส้น MA เพื่อการเทรดคริปโต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้งานร่วมกับอินดิเคเตอร์ตัวอื่นๆ นั้นจำเป็นจะต้องมีการฝึกฝนด้วยเช่นกัน และมันก็ไม่สามารถป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้น มันจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีแนวทางในการจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสมด้วย ไม่ว่าคุณจะทำการเทรดในรูปแบบใดก็ตาม
คำถามที่พบบ่อย
SMA หรือ EMA แบบไหนที่ดีกว่ากัน?
Moving Averages แบบไหนที่ไหนที่ใช้งานได้ดีกว่ากัน?
“ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่” มีกี่ประเภท? อะไรบ้าง?
สูตรของการคำนวน “ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่” เป็นอย่างไร?
Moving Average Indicator คืออะไร?
ทำไมเราจึงต้องใช้ “ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่”?
Moving Average เป็นอินดิเคเตอร์ที่ดีหรือไม่?
ข้อจำกัดความรับผิด
ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์