Trusted

Sidechains คืออะไร? ทำงานอย่างไร?

12 mins
อัพเดทโดย Apinat Phosuwan

โลกบล็อกเชนกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เครือข่ายต่างๆ เริ่มได้รับการยอมรับมากขึ้น ตัวอย่างเช่น Ethereum ที่มีจำนวนการรับส่งข้อมูลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้ผู้ใช้งานต้องมองหาโซลูชั่นที่มีความรวดเร็วและราคาไม่แพงมากยิ่งขึ้น แล้ว Sidechains คืออะไร? มันสามารถช่วยในเรื่องนี้ได้อย่างไร? เหมือนที่ชื่อของมันอธิบายไว้ Sidechains คือ Chain รองที่เชื่อมต่อกับ Parent Chain (เครือข่ายหลัก) ในขณะที่ทำงานคู่ขนานกันไปพร้อมๆ กัน ถึงตอนนี้ คุณอาจจะเดาได้แล้วว่า Sidechains ช่วยลดภาระการรับส่งข้อมูล, เพิ่มปริมาณข้อมูลที่สามารถประมวลผลได้, และลดค่าธรรมเนียมเครือข่ายให้กับ Parent Chain ได้

ในบทความนี้ เราจะมาอธิบายถึงข้อมูลต่างๆ ของ Sidechains และวิธีการทำงานจากมุมมองทางเทคนิค พร้อมทั้งไปดูตัวอย่าง, ข้อดีและข้อเสีย, และอนาคตของเทคโนโลยีนี้กัน!

[สารบัญ]

Sidechains คืออะไร?

Sidechain เป็น Blockchain ที่เป็นอิสระหรือแยกออกมาซึ่งเชื่อมต่ออยู่กับ Parent Chain โดยที่ Sidechains จะทำงานควบคู่ไปกับ Parent Chain โดยมุ่งเน้นในเรื่องการเพิ่มขีดความสามารถของเครือข่ายหลัก

สิ่งสำคัญก็คือ Sidechains มีกฏและกลไกฉันทามติเป็นของตัวเอง อย่างไรก็ตาม เนื่องจากพวกมันเชื่อมต่ออยู่กับ Parent Chain มันจึงมีกฎที่เฉพาะเจาะจงถูกตั้งเอาไว้เพื่อช่วยเหลือข้อมูลและการถ่ายโอนสินทรัพย์ระหว่าง Sidechain และ Parent Chain

Sidechains คืออะไร
Sidechains คืออะไร: BeInCrypto

ตัวอย่างหนึ่งก็คือ Liquid Network ซึ่งเป็น Sidechain ยอดนิยมของ Bitcoin Liquid Network ช่วยให้การทำธุรกรรมบนเครือข่าย Bitcoin รวดเร็วขึ้น, ลดความตึงเครียดในเครือข่าย Bitcoin, และยังช่วยให้เครือข่าย Bitcoin สามารถปรับขนาดได้อีกด้วย

Sidechains เป็น Layer-2 ใช่หรือไม่?

ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว Sidechains ก็มีประโยชน์เหมือนกับโซลูชั่น Layer-2 ซึ่งเหมาะสำหรับการปรับขนาด Parent Chain แล้ว Sidechain เหมือนกับโซลูชั่นการปรับขนาด Layer-2 หรือไม่?

โซลูชั่น Layer-2 ก็เปรียบเสมือน Rollups ที่สร้างขึ้นบน Parent Chain เชน(หรือเครือข่าย)เหล่านี้ เช่น Polygon สามารถมีเครือข่ายของ Sidechains ของตัวเองได้ เพื่อทำให้โซลูชั่น Layer-2 เร็วยิ่งขึ้นไปอีก Sidechains ที่เป็นส่วนหนึ่งของ Parent Chain จะทำงานได้อย่างเป็นอิสระ และสามารถเชื่อมต่อกับ Mainnet ได้ทั้ง 2 ทิศทาง

อย่างไรก็ตาม Sidechains ก็ยังสามารถทำงานเป็น Layer-2 ได้เช่นกัน

จำได้ไหมว่า Polygon เริ่มต้นจากการเป็น Sidechain ของ Ethereum อย่างไร? เนื่องจาก Polygon ใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยร่วมกับ Ethereum ปัจจุบัน เครือข่ายจึงทำงานเป็นโซลูชั่น Layer-2 อย่างไรก็ตาม Polygon ยังคงรักษาคุณสมบัติของ Sidechain เอาไว้โดยการใช้เทคโนโลยี Plasma เพื่อถ่ายโอนข้อมูลระหว่าง Ethereum และ Child Chains (เครือข่ายย่อยหรือเครือข่ายรอง) ของ Polygon

อย่างไรก็ตาม เครือข่ายยอดนิยมบางส่วน อย่างเช่น Arbitrum และ Optimism ก็ทำงานเป็นเครือข่าย Layer-2 และไม่เข้าข่ายเป็น Sidechains แม้แต่เครือข่ายอย่าง Cartesi และ Loopring ก็เป็นโซลูชั่น Layer-2 ที่ออกแบบมาเพื่อการปรับขนาดและไม่ใช่ Sidechain

ความนิยมของเลเยอร์ 2
ความนิยมของเลเยอร์ 2: Dune Analytics

เพราะเหตุใด Sidechains จึงเป็นที่ต้องการอย่างมาก?

มีเหตุผลหลายประการที่ทำให้ Sidechains ได้รับความนิยม ซึ่งรวมถึง:

  • ช่วยลดภาระของการทำธุรกรรมให้กับ Mainnet (เครือข่ายหลัก)
  • ลดค่าแก๊สโดยการย้ายธุรกรรมไปยังเครือข่ายที่มีความต้องการน้อยลง
  • ลดความแออัดของเครือข่าย

กลไกการทำงานของ Sidechain

เมื่อพูดถึงเรื่องการทำงานของ Sidechains มีเรื่องสำคัญบางประกายที่เราควรจะต้องรู้ ตัวอย่างเช่น Sidechains ตามมาตรฐานจะมีระบบ Two-way Pegging ทำให้มั่นใจได้ว่าสินทรัพย์สามารถเคลื่อนที่ระหว่างเชนต่างๆ ได้อย่างอิสระโดยการใช้กลไกที่กำหนดเอาไว้

กลไกการทำงานของ Sidechains
กลไกการทำงานของ Sidechains: SKALE

วิธีที่ง่ายที่สุดในการทำความเข้าใจสิ่งนี้คือการดูที่ Bitcoin Liquid Network เนื่องจาก Liquid Network เป็น Sidechain ของ Bitcoin มันจึงไม่ได้มีการดึงทรัพย์สินออกจาก Mainnet แต่อย่างใด กลไกการทำงานของมันจะทำให้จำนวนของ BTC ที่จะทำธุรกรรมได้รับการแก้ไขบน Mainnet และจำนวน L-BTC หรือ Liquid Bitcoin ที่เทียบเท่ากันจะถูกปลดล็อกหรือทำให้พร้อมใช้งานในเครือข่ายที่แยกออกมา และนี่คือความหมายของ Two-way Peggingผู้ใช้งานจะสามารถแลก BTC บนเครือข่ายหลักได้โดยการแสดง L-BTC เพื่อเป็นหลักฐานการทำธุรกรรม

ให้ลองนึกภาพผู้ใช้งานที่ต้องการโอน BTC จาก Mainnet ไปยัง Liquid Network เพื่อที่จะดำเนินการในเรื่องดังกล่าว ผู้ใช้งานจะต้องโอน BTC ไปยังที่อยู่เอาท์พุตของ Sidechain (Liquid Network) อย่างไรก็ตาม มันจะไม่มีการโอนโดยตรง แต่ BTC จะถูกล็อกบนบล็อกเชนหลัก และ L-BTC จะถูกปลดล็อกบน Sidechain ตามที่อยู่เอาต์พุตที่ระบุ

Sidechains จะมี Smart Contracts เป็นของตัวเอง ซึ่งจะช่วยให้นักพัฒนาสามารถผสานรวมและทำการทดสอบฟีเจอร์ต่างๆ ของตนเองได้ เพื่อที่จะสามารถทำความเข้าใจวิธีการนำ Smart Contracts ไปใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรามาดู Rootstock (RSK) ซึ่งเป็นหนึ่งใน Sidechains ของ Bitcoin กันดีกว่า ถึงแม้ว่าเครือข่าย Bitcoin หลักไม่รองรับ Smart Contracts โดยตรง แต่ RSK ก็นำเสนอทางเลือกต่างๆ ในสไตล์เดียวกันกับ Ethereum ในขณะที่ยังคงเชื่อมต่อกับ Bitcoin อยู่เช่นเดิม

ความนิยมที่เพิ่มมากขึ้นของ Sidechain ของ Bitcoin
ความนิยมที่เพิ่มมากขึ้นของ Sidechain ของ Bitcoin: DeFillama

สุดท้าย Sidechains สามารถโฮสต์โปรโตคอลฉันทามติของตนเองได้ ตัวอย่างเช่น Polygon ที่ใช้งานสถาปัตยกรรม Proof-of-Stake ในขณะที่ Ethereum (ณ ช่วงเวลาก่อนหน้านี้) ยังคงสนับสนุนการใช้งาน Proof-of-Work

การใช้งาน Sidechain และตัวอย่างต่างๆ

เราได้พูดถึงองค์ประกอบทางเทคนิคของ Sidechains กันไปบ้างแล้ว ต่อไป เรามาดูกันดีกว่าว่า เทคโนโลยีนี้สามารถนำไปใช้งานได้อย่างไร

Ethereum Plasma

Plasma เป็นหนึ่งในคอนเซปต์ของการนำ Ethereum Sidechain ไปใช้งาน ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของ Polygon นั่นเอง คอนเซปต์ก็คือ การมี Sidechains หลายๆ เชนหรือที่เรียกว่า Child Chain ที่เชื่อมต่อกับ Ethereum Mainnet เอาไว้ เป้าหมายของ Plasma คือการลดค่าแก๊สของเครือข่าย Ethereum และปรับปรุงความรวดเร็วในการทำธุรกรรม

Skale

Sidechain ของ Ethereum นี้ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางสำหรับ DApps และ Smart Contracts ต่างๆ มากมาย Skale เป็นเครือข่ายแบบ Multi-Chain ที่สามารถช่วยปรับขนาดเครือข่าย Ethereum EVM ได้

SKALE และ Sidechains
SKALE และ Sidechains: SKALE

นอกจากนี้ มันยังนำเสนอแนวคิดของ Sidechains แบบยืดหยุ่นซึ่งมีศักยภาพมหาศาลใน DeFi, Crypto Gaming, IoT และพื้นที่อื่นๆ อีกมากมาย

รู้หรือไม่ว่า? CrossBell เป็นการนำเทคโนโลยี Sidechains มาใช้งานอย่างสร้างสรรค์ที่ไม่ค่อยมีใครรู้จักมากนัก ซึ่งจะนำเสนอคุณสมบัติที่นอกเหนือไปจากการปรับขนาดและการประมวลผลธุรกรรม CrossBell ทำงานร่วมกันได้กับ EVM (Ethereum Virtual Machine) และใช้กลไกฉันทามติแบบ Proof-of-Authority

Gnosis

Gnosis คือ Ethereum Sidechain ที่มี Validators กว่า 100,000 รายที่คอยรักษาระดับความปลอดภัยและสุขภาพเครือข่าย เป้าหมายหลักของ Gnosis Chain คือการลดค่าแก๊สสำหรับ Ethereum Sidechain โดยเฉพาะ

Gnosis Sidechain
Gnosis Sidechain: Gnosis.io

ตัวเลือก Sidechain อื่นๆ ได้แก่ SmartBch สำหรับ Bitcoin Cash และ Polygon สำหรับ Ethereum ซึ่งทำหน้าที่เป็นโซลูชั่น Layer-2 เช่นกัน

Sidechain ที่โด่งดังของ Ethereum อีกเชนหนึ่ง ได้แก่:

ทำไมจึงต้องมี Sidechains?

นี่คือข้อดีของ Sidechains ที่คุณสามารถนำไปพิจารณาได้:

ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ

Ethereum Sidechains ซึ่งรวมถึง Polygon ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพได้ด้วยการช่วยลดภาระของการทำธุรกรรมของ Mainnet ได้เป็นจำนวนมาก จากการที่ Polygon มีความสามารถในการเป็น Layer-2 ท้ายสุดแล้ว การทำธุรกรรมทั้งหมดจะถูกรวมเป็นก้อนเดียวแล้วก็จะถูกส่งไปยัง Mainnet ถึงกระนั้น มันก็จะทำงานเป็นธุรกรรมเดียว ซึ่งจะช่วยลดความแออัดของ MainNet ได้เป็นอย่างมาก

ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับ MainNet

เชื่อหรือไม่ว่า Sidechains ที่มีประสิทธิภาพสามารถทำให้ความปลอดภัยของเครือข่ายแข็งแกร่งขึ้นได้ เราจะอธิบายให้ฟังโดยใช้ Liquid Network เป็นตัวอย่าง เครือข่าย Sidechain นี้จะสามารถจัดการการทำธุรกรรมที่เป็นความลับในนามของ Bitcoin ได้ โดยจะโฟกัสไปที่เรื่องความเป็นส่วนตัวของการเคลื่อนไหวของเงินทุนและข้อมูล

นอกจากนี้ มันยังมีกลไกการถ่ายโอนสินทรัพย์และ Two-way Pegging ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเคลื่อนย้ายสินทรัพย์จาก Liquid Network ไปยัง Bitcoin Mainnet ได้

ช่วยให้ Mainnets บรรลุเป้าหมายได้

เครือข่ายขนาดใหญ่ เช่น Ethereum จะใช้การอัพเกรดหลักของเครือข่ายในรูปแบบของ Ethereum Improvement Proposals หรือ EIPs ซึ่งจะพึ่งพา Mainnet เป็นอย่างมาก แต่ Sidechains จะสามารถช่วยให้ Parent Chain เปิดรับศักยภาพได้อย่างเต็มที่ด้วยการลดภาระการทำธุรกรรมจากเครือข่ายหลักให้

นอกจากนี้ Sidechains ยังสามารถใช้เป็นพื้นที่ทดสอบสำหรับ EIP หรือ ระบบการทำงานหลายๆ อย่างได้ นอกจากนี้ ในกรณีที่อาจจะเกิดข้อถกเถียงใน EIPs บางตัว การใช้งาน Sidechains ก็จะถือเป็นทางเลือกที่ดีเช่นกัน

ตัวอย่างของ Sidechains ที่ช่วยปรับปรุงการขุด:

อีกสิ่งหนึ่งที่ยอดเยี่ยมเกี่ยวกับ Sidechains ก็คือพวกเขาสามารถทำให้การอัพเกรด MainNet เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นได้ด้วยการใช้งาน Smart Contracts คุณสมบัตินี้มีประโยชน์อย่างยิ่งใน Sidechain Rootstock ของ Bitcoin ซึ่งตอนนี้สามารถทดสอบคุณสมบัติที่ขับเคลื่อนด้วย Smart Contracts ได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อ Mainnet

ความเสี่ยงและความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับการใช้งาน Sidechains

แม้ว่า sidechains จะมีประโยชน์มากมาย แต่มันก็ยังมีความเสี่ยงที่จะต้องพิจารณาเมื่อนำไปใช้งาน โดยมีหัวข้อที่สำคัญๆ ดังต่อไปนี้:

ความเสี่ยงด้านความปลอดภัย

ในการใช้งาน Sidechain นั้น หากนำไปใช้อย่างไม่ถูกต้อง ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาด้านความปลอดภัยได้ ซึ่งแตกต่างจากโซลูชั่น Layer-2 ที่สืบทอดความปลอดภัยจากเครือข่ายหลัก เพราะ Sidechain มีมาตรการรักษาความปลอดภัยเป็นของตนเอง

นอกจากนี้ การขาดความนิยมในการใช้งานอาจจะนำไปสู่การมีกลุ่มนักขุดหรือ Validators ขนาดเล็ก ซึ่งสามารถก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยได้ เช่น 51% Attack หรือภัยคุกคามอื่นๆ นอกจากนี้ คอนเซปต์ของที่อยู่เอาต์พุตที่อยู่ในบล็อกเชนที่แยกออกไปต่างหาก ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยก็จะยิ่งชัดเจนมากยิ่งขึ้น

การกระจายอำนาจที่จำกัด

เนื่องจากกลุ่ม Validators มีจำนวนน้อยลง Sidechains อาจจะมีความรวมศูนย์ได้เมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับคอนเซปต์การกระจายอำนาจของเครือข่ายบล็อกเชน ตัวอย่างเช่น Sidechains ที่ใช้ฉันทามติ POA พึ่งพา Validators ที่เชื่อถือได้ในจำนวนที่คงที่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยได้ แต่ก็อาจจะส่งผลกระทบถึงการกระจายอำนาจในเครือข่ายได้เช่นกัน

ระบบนิเวศคริปโตที่แยกส่วนออกไป

ต่างจากโซลูชั่น Layer-2 ที่สร้างขึ้นบน Parent Chains และได้รับการออกแบบมาเพื่อให้ทำงานร่วมกันได้ Sidechains อาจจะนำไปสู่ระบบนิเวศที่แยกส่วนออกไปได้มากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น Sidechain ที่เชื่อมต่อกับเครือข่าย Ethereum อาจจะสร้างโทเค็นของตัวเองได้เพราะมันสามารถทำงานได้อย่างอิสระ โทเค็นนี้ก็อาจจะไม่สอดคล้องกับมาตรฐาน ERC-20 หรือ ERC-721 ซึ่งอาจจะทำให้เกิดปัญหาเมื่อถ่ายโอนได้

นอกจากนี้ Sidechains และ Parent Chains ยังใช้กลไกสะพาน (Bridge) ซึ่งอาจจะมีความเสี่ยงและนำไปสู่ปัญหาด้านความปลอดภัยได้

“ข้อโต้แย้งของผมในเรื่องที่ว่าทำไมในอนาคตจะต้องเป็น Multi-Chain ไม่ใช่ Cross-Chain: ก็เพราะว่ามีข้อจำกัดพื้นฐานในการรักษาความปลอดภัยของสะพานที่ใช้ข้ามระหว่าง “เขตอำนาจอธิปไตย” ที่แตกต่างกัน”

Vitalik Buterin, ผู้ร่วมก่อตั้งของ Ethereum: X

หากรู้สึกเหมือนว่าความเสี่ยงด้านความปลอดภัยจะสูงเกินไป การใช้งานโซลูชั่น Layer-2 อย่าง zkEVM ก็อาจจะเป็นความคิดที่ดีเช่นกัน ด้วย zkEVM การทำธุรกรรมจะยังคงมีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น และยังทำงานได้ดีกับ Smart Contracts ของ Ethereum

Bitcoin Stacks และ TVL
Bitcoin Stacks และ TVL: DeFillama

อีกวิธีหนึ่งในการจัดการกับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับ Sidechains ก็คือ การเลือกใช้ Pegged Layer-1 Chains อย่างเช่น Stacks ซึ่งจะทำงานคล้ายกับ Bitcoin Sidechain แต่มันจะไม่ได้มี Two-way Pegging กับ Bitcoin แต่จะเป็นไปในทิศทางเดียวโดยการใช้ฉันทามติ Proof-of-Transfer (PoX)

อนาคตของ Sidechains

ตอนนี้ เราเข้าใจว่า Sidechains คืออะไร และ พวกมันทำงานอย่างไร ถึงเวลาแล้วที่เราจะมองไปยังอนาคตที่ไกลกว่านี้ โซลูชั่น Layer-2 อย่าง Arbitrum และ Optimism ทำงานได้เป็นอย่างดีในการปรับขนาด Parent Chain ของพวกเขาอย่าง — Ethereum — ความสำเร็จของ Sidechains เหล่านี้จะขึ้นอยู่กับมาตรการรักษาความปลอดภัย, ระดับการกระจายอำนาจ, และความสามารถในการทำงานร่วมกันได้ เมื่อปัจจัยเหล่านี้ได้รับการแก้ไขแล้ว เราจะสามารถคาดหวังถึงการยอมรับการใช้งาน Sidechain อย่างกว้างขวาง เนื่องจากเครือข่ายขนาดใหญ่เช่น Ethereum และ Bitcoin จะต้องมีการปรับขนาดที่เพิ่มขึ้นอีกอย่างแน่นอน

คำถามที่พบบ่อย

ทำไมถึงต้องใช้ Sidechains?

Solana เป็น Sidechain ใช่หรือไม่?

Ethereum เป็น Sidechain ใช่หรือไม่?

ทำไมมันจึงถูกเรียกว่า Sidechain?

🎄แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | ธันวาคม 2024
🎄แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | ธันวาคม 2024
🎄แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | ธันวาคม 2024

ข้อจำกัดความรับผิด

ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์

Akhradet-Mornthong-Morn.jpg
Akradet Mornthong
อัครเดช หมอนทอง เป็น นักแปล/นักเขียนคอนเทนต์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน NFT Games, Metaverse, AI, Crypto และเทคโนโลยีใหม่ๆ เขาจบการศึกษาในสาขาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล และมีประสบการณ์ในการทำงานในวงการเกมมากกว่า 10 ปี เมื่อ NFT Games ได้กลายเป็นกระแสขึ้นมาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เขาก็ไม่พลาดที่จะก้าวเข้ามาในวงการนี้เพื่อศึกษาข้อมูลในเชิงลึกต่างๆ ของวงการ NFT รวมไปถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Blockchain และ Crypto อีกด้วย
READ FULL BIO
ได้รับการสนับสนุน
ได้รับการสนับสนุน