Trusted

Damus คืออะไร: โซเชียลมีเดียหน้าใหม่ที่จะมาเขย่าบัลลังค์ของ Twitter!

13 mins
อัพเดทโดย Apinat Phosuwan

คู่แข่งของ Twitter นั้นปรากฏตัวขึ้นมามากมายนับตั้งแต่ Elon Musk เข้าซื้อกิจการแพลตฟอร์ม “นกฟ้า” นี้ ซึ่งบรรดาแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียใหม่ๆ เหล่านี้ก็พยายามจะใช้ประโยชน์จากความไม่มั่นคงที่เกิดขึ้นกับ “อดีตยักษ์ใหญ่” ที่ตกเป็นข่าวฉาวไม่เว้นแต่ละวัน และในขณะที่ Spill, T2, และ Mastodon เริ่มที่จะเดินหน้าชิงฐานลูกค้าจาก Twitter แล้ว Damus ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มใหม่ล่าสุดก็เริ่มที่จะเคลื่อนไหวบ้างเช่นกัน แต่ Damus คืออะไร? ในบทความนี้ เราจะมาเรียนรู้ในทุกๆ เรื่องที่คุณควรจะรู้เกี่ยวกับแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย Web3 แบบกระจายอำนาจใหม่ล่าสุดรายนี้กัน

🛡ท่องโลกอินเตอร์เน็ตอย่างปลอดภัยและเก็บข้อมูลของคุณไว้ให้เป็นส่วนตัว! เมื่อสมัครใช้งาน Atlas VPN ใช้โค้ดโปรโมชั่น ATLASWELCOME เพื่อรับส่วนลด 82% ได้ที่ลิ้งค์นี้เลย!

Damus: แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่กระจายอำนาจอย่างแท้จริง

Damus นั้นเปรียบเปรยว่าตนเองเป็นดั่ง “Twitter Killer” แต่ใครๆ ก็เคยอวดอ้างเรื่องนี้มาก่อนทั้งนั้น ดังนั้น เราไปเจาะลึกกันดีกว่าว่า Damus มีดีมากพอที่จะเป็น “Twitter Killer” ได้หรือไม่?

Damus เป็นแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียแบบกระจายอำนาจที่มี UI ที่เรียบง่าย, ไม่ซับซ้อนที่สร้างขึ้นบนโปรโตคอลโซเชียลมีเดียแบบกระจายอำนาจยอดนิยมอย่าง Nostr และเรื่องสำคัญที่เราต้องรู้เลยก็คือ Nostr นั้นเป็นโปรโตคอล (ซอฟต์แวร์) ในขณะที่ Damus นั้นเป็นแอปใช้งาน และเมื่อนำชื่อของพวกเขามารวมกัน ก็จะออกมาเป็น Nostr-Damus (นอสตราดามุส) ซึ่งเป็นชื่อของนักโหราศาสตร์ชื่อดังชาวฝรั่งเศส

และนี่คือหน้าตาของอินเตอร์เฟสของมัน:

ตัวอย่างหน้าโปรไฟล์ของ Damus จากแอป Damus

ในขณะที่แอปในฝั่ง iPhone/iPad ที่มีพื้นฐานมาจาก Nostr จะถูกเรียกว่า Damus แอปในฝั่งของ Google นั้นจะถูกเรียกว่า Amethyst Damus นั้นตั้งเป้าที่จะลดการการเซ็นเซอร์จากการมีปฏิสัมพันธ์กันทางโซเชี่ยลและทำหน้าที่เป็นแอปสนทนาแบบ End-to-End

Damus นั้นพร้อมให้บริการบน App Store แล้ว และลองเข้าไปดูที่ส่วนข้อบังคับ “App Privacy” ของแอป

ข้อมูลของแอป Damus จาก App Store

พูดง่ายๆ ก็คือ Damus “Twitter Killer” นั้นเป็นแอปที่มีความกระจายอำนาจอย่างแท้จริงและมีการระบุอย่างชัดเจนว่าไม่ได้มีการเก็บข้อมูลของผู้ใช้งาน แต่อย่างไรก็ตาม หากต้องการทำความเข้าใจ Damus อย่างสมบูรณ์ เราจะต้องไปทำความรู้จักกับ Nostr เสียก่อน

Nostr คืออะไร?

Nostr คือโปรโตคอลโซเชียลมีเดียที่มุ่งเน้นในเรื่องการจัดการข้อมูลและการกระจายอำนาจซึ่งใช้คีย์เข้ารหัสหลายตัว หากต้องการใช้งาน Nostr เครือข่ายแบบกระจายอำนาจใดๆ ที่ขับเคลื่อนโดย Nostr คุณจะต้องมี Public Key ที่สร้างขึ้นโดยการเข้ารหัสและ Private Key ด้วยการมี Nostr เป็นแกนหลักให้กับเครือข่าย ทุกคนสามารถสร้างเครือข่ายแบบกระจายอำนาจด้วยตนเองได้

หากคุณต้องการจับตามองพัฒนาการของ Nostr อย่างใกล้ชิด นี่คือโปรไฟล์ Github ของพวกเขา Nostr Github นั้นประกอบไปด้วย Repository (โครงสร้างโค้ดจัดเก็บข้อมูลประเภทหนึ่ง) และโค้ดแบบเปิดสำหรับทุกคนที่ต้องการสร้างเครือข่ายแบบกระจายอำนาจ

ใครคือผู้ที่อยู่เบื้องหลัง Nostr?

ประการแรก ไม่มีองค์กรใดที่เป็นผู้ควบคุมหรือจัดการ Nostr ดังที่เคยได้กล่าวเอาไว้ มันคือโปรโตคอลแบบโอเพ่นซอร์ส โดยมีนักพัฒนาเพียงไม่กี่คนที่มีส่วนร่วมในโค้ดเบสและสุนทรียศาสตร์ ซึ่ง Fiatjaf เป็นผู้ที่เบิกทางนั้นไว้ให้ สำหรับผู้ที่อาจจะไม่ทราบ Fiatjaf (นามแฝงของนักโปรแกรมเมอร์รายหนึ่ง) คือผู้ที่มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับ Lightning Network ของ Bitcoin

ยิ่งไปกว่านั้น Nostr ยังมีผู้มีส่วนร่วมและผู้ร่วมทดสอบชื่อดังอย่าง วุฒิสมาชิก Lummis, Vitalik Buterin, Jack Dorsey และ Edward Snowden

Nostr: ทำไมต้องชื่อนี้?

หากคุณให้ความสนใจใน Open Protocol (โปรโตคอลที่อนุญาตให้บุคคลที่สนใจสามารถนำไปใช้หรือพัฒนาต่อยอดได้) ของ Web3 โดยเฉพาะ Nostr อาจจะเป็นสิ่งที่คุณควรให้ความสนใจ Nostr เป็นโปรโตคอลที่ช่วยขับเคลื่อนเครือข่ายแบบกระจายอำนาจซึ่งมีตัวย่อมาจาก Notes and Other Stuff Transmitted by Relays (ข้อความและข้อมูลอื่นๆ ที่ส่งมาโดยตัวส่งข้อมูล)

Dumb Relays ซึ่งเป็น Nostr Node นั้นเป็นรากฐานของ Open Protocol นี้ Relays เหล่านี้ส่งข้อมูลจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ซึ่งเป็นการเติมเต็มบทบาทของโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ค ที่มันถูกเรียกว่า Dumb ก็เพราะว่าพวกมันไม่สามารถตีความหรือประมวลผลข้อมูลได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ข้อมูลของผู้ใช้งานมีความเป็นส่วนตัว

และในขณะที่ Relays เหล่านี้เป็น Relays แบบกระจายอำนาจที่เป็นมาตรฐาน Fiatjaf ยังได้นำเสนอ Relays ที่เป็นแบบชำระเงินและปลอดภัยกว่าจำนวนหนึ่ง ซึ่งช่วยให้โปรโตคอลจัดการกับการสแปมในลักษณะที่จดจ่อได้มากยิ่งขึ้น

Damus Relays: Nostr Registry

แต่นั่นไม่ใช่เหตุผลเดียวสำหรับชื่อ Nostr เนื่องจากคำว่า Nostr นั้นคล้ายกับคำหนึ่งในภาษาสเปน “Nuestro” ซึ่งหมายความว่า “ของเรา” และด้วยการที่มีการกระจายอำนาจเป็นแกนหลัก คอนเซปต์ของคำว่า “ของเรา” ก็ดูจะมีความเกี่ยวข้องมากเลยทีเดียว

ระบบนิเวศโซเชี่ยลที่ขับเคลื่อนโดยโปรโตคอล Nostr นั้นเป็นเครือข่ายแบบกระจายอำนาจอย่างแท้จริงซึ่งไม่มีการพึ่งพาเซิร์ฟเวอร์ส่วนกลาง และเนื่องจากมันเป็นโปรโตคอลในระดับพื้นฐาน เมื่อเวลาผ่านไป ผู้ที่ต้องการการกระจายอำนาจมากมายอาจจะลงเอยด้วยการใช้งานโปรโตคอลนี้เพื่อพัฒนาแอปที่สร้างความแตกต่างขึ้นมา ยกตัวอย่างเช่น Start9 ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับโฮมเซิร์ฟเวอร์ ได้มีการใช้ Nostr Relays ในการพัฒนาทางธุรกิจแล้ว

ความเชื่อมโยงกับ Jack Dorsey

Open Protocol อย่าง Nostr นั้นมักจะได้รับการสนับสนุนจากผู้เล่นชื่อดังจากแวดวงโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ค Jack Dorsey อดีต CEO ของ Twitter ก็คือหนึ่งในนั้น ในปี 2022 เขาได้บริจาคเกือบ 14 BTC (มูลค่าราว 245,000 ดอลลาร ณ ขณะนั้น) เพื่อเป็นเงินทุนให้กับ Nostr

เมื่อได้รับเงินทุนดังกล่าวแล้ว Fiatjaf ก็ได้โพสต์บน Twitter โดยระบุว่าเงินครึ่งหนึ่งถูกส่งไปที่ DFND ซึ่งเป็น Damus Foundation เพื่อการพัฒนา Nostr ในทันที

เมื่อ Damus เปิดให้บริการบน App Store แล้ว Jack Dorsey ก็ได้ทวีตเพื่อแจ้งข่าว:

ความเชื่อมโยงของ Nostr-Bitcoin

Damus

Nostr นั้นมีความเชื่อมโยงกับ Bitcoin อยู่บ้างบางเรื่อง เรื่องแรก Fiatjaf ซึ่งเป็นผู้สร้าง Nostr นั้นเคยมีความเกี่ยวข้องกับ Bitcoin Lightning Network เรื่องที่ 2 เครือข่ายแบบกระจายอำนาจที่ขับเคลื่อนโดย Nostr จะผสานรวมกับ Lightning Network เพื่อส่งทิปให้กับผู้สร้างคอนเท้นต์

หากคุณชอบโพสต์ บทความ หรือคอนเท้นต์ใดๆ บนแพลตฟอร์มที่ขับเคลื่อนโดย Nostr คุณสามารถใช้ Strike — ซึ่งเป็นแอปชำระเงินที่รองรับ Lightning Network — เพื่อส่งทิปให้กับเจ้าของเนื้อหาได้ การชำระเงินยังสามารถทำได้ด้วยสกุลเงิน Sats (Satoshi) (เหล่าสาวกต่างก็ถือว่านี่เป็นสกุลเงินอย่างเป็นทางการของ Nostr) ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยผลักดัน Bitcoin ให้ไปสู่กระแสหลักอีกทางหนึ่ง

Nostr เป็นส่วนหนึ่งของ Bitcoin หรือไม่?

Nostr นั้นไม่ใช่บล็อกเชนที่มาพร้อมกับโทเค็นดั้งเดิม (Native Token) แต่เป็นโปรโตคอลของโซเชียลมีเดีย ซึ่งเป็นสิ่งที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง อย่างไรก็ตาม Nostr นั้นตั้งเป้าที่จะเป็นโปรโตคอลแบบ Permissionless (โปรโตคอลที่ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมได้โดยไม่มีข้อจำกัดใดๆ) เช่นเดียวกับ Bitcoin อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญก็คือผู้มีส่วนร่วมและผู้ใช้งานส่วนใหญ่ของ Nostr นั้นคือผู้ที่มีส่วนร่วมกับระบบนิเวศ Bitcoin ด้วยเช่นกัน (รวมถึง Fiatjaf เองด้วย)

Damus
แอป Damus ที่มีการผสานรวม Lightning Network

หลังจากที่เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับ Nostr ไปแล้ว เราจะกลับไปที่คำถามเดิมที่เราค้างไว้ก่อนหน้านี้กัน

Damus คืออะไร?

Damus หรือแอป Damus นั้นคือโซเชี่ยลเน็ตเวิร์คที่ควบคุมโดยผู้ใช้งาน แอป Damus ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นโดย William Casarin นั้นติดขัดอยู่หลายครั้งในการขอเปิดให้บริการบน Apple App Store และหลังจากที่ทำการแก้ไข EULA (End-User License Agreement) อยู่หลายครั้ง Damus ก็เปิดให้บริการบน App Store ได้สำเร็จ

ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2023 Twitter ของ Damus มีผู้ติดตามมากกว่า 23,700 รายแล้ว และเมื่อเวลาผ่านไป Damus ตั้งเป้าที่จะล้มล้างระบบโซเชี่ยลเน็ตเวิร์คแบบเดิมๆ เพื่อนำเสนอคลื่นลูกใหม่ของโซเชี่ยลเน็ตเวิร์คในแบบ Web3

รายละเอียดของข้อมูลและฟีเจอร์ต่างๆ ของ Damus

ตอนนี้ เรามาดูข้อมูลและฟีเจอร์ต่างๆ ที่สำคัญของ Damus กัน:

1. ต่อต้านการตรวจสอบทุกประเภท

2. การสนทนาเข้ารหัสแบบ End-to-End (เข้ารหัสบทสนทนาของผู้ใช้งานทั้ง 2 ฝั่ง)

3. เป็นหนึ่งในไคลเอ็นต์ที่เชื่อมต่อกับโปรโตคอล Nostr และฐานข้อมูล (Relays) ที่เกี่ยวข้องได้ คุณสามารถดาวน์โหลดและส่งข้อความได้เลยทันที

4. ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องเข้าสู่ระบบด้วยการใช้บัญชีอีเมลหรือหมายเลขโทรศัพท์

5. สมาชิกทีมผู้พัฒนา 44 คน รวมถึง William Casarin ผู้นำของทีม

6. โครงสร้างของโปรเจกต์สามารถพัฒนาต่อยอดเป็นแหล่งข้อมูลการยืนยันตัวตนแบบกระจายอำนาจได้

7. รองรับการให้ทิปโดยใช้ Lightning Network ของ Bitcoin

8. วางแผนที่จะพัฒนา Bridges (สะพานเชื่อมต่อระหว่างแอป) ร่วมกับ Bluesky และ Mastodon

9. เช่นเดียวกับ Nostr Damus ก็มี GitHub ที่พร้อมให้ใช้งาน

10. นอกจากนี้ มันยังมีเวอร์ชั่น Android ในชื่อ Amethyst

11. คอนเซปต์ของตัวส่งข้อมูลอย่างอิสระนั้นสามารถโค่นล้มเครื่องมือสื่อสารองค์กรแบบเดิมๆ อย่างเช่น Slack ได้ ซึ่งจะช่วยให้บริษัทตั้งค่าตัวส่งข้อมูลให้กับพนักงานบางคนได้ และเนื่องจากอุปกรณ์ทุกเครื่องที่รัน Damus จะกลายเป็นจุดติดต่อ การหยุดทำงานของเซิร์ฟเวอร์จึงจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน

ข้อดีของ Damus

1. การใช้งาน Public Key ของผู้ใช้งานแบบเฉพาะทางนั้นค่อนข้างสร้างสรรค์

2. การใช้งาน Lightning Network เพื่อให้ทิปนั้นรวดเร็วมาก

3. Nostr Relays ช่วย Damus ในการป้องกันการโจมตีแบบ DDoS

4. มีประสิทธิภาพมากกว่าตัวเลือกของโซเชียลเน็ตเวิร์คแบบรวมศูนย์เช่น Mastodon

5. เนื่องจากมันต่อต้านการตรวจสอบทุกประเภท ซึ่งนั่นหมายความการเข้าชมนั้นจะไม่สามารถถูกปิดกั้นอย่างแน่นอน หาก Relays ตัวหนึ่งหยุดทำงาน คุณก็ยังจะมี Dumb Relays ตัวอื่นสำหรับแชร์ข้อมูลออกไป

6. มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นฐานข้อมูลแบบกระจายอำนาจ ซึ่งเป็นหนึ่งในกรณีการใช้งานมากมายที่สามารถทำได้ด้วย Damus

7. ด้วยการเป็นตัวเลือกของฐานข้อมูลแบบกระจายอำนาจ มันจะช่วยลดการพึ่งพาบล็อกเชนและบัญชีแยกประเภทที่ไม่เปลี่ยนรูปแบบที่มากจนเกินไป

8. ต่างจากการใช้งานฐานข้อมูลแบบดั้งเดิม มันใช้การสืบค้นข้อมูลในรูปแบบของ Web Socket ซึ่งทำให้สามารถสืบค้นและดึงข้อมูลได้ในแบบเรียลไทม์

ข้อเสียของ Damus

1. Relays ของข้อความจำเป็นจะต้องซิงค์กัน ซึ่งหมายความว่า ในการที่เพื่อนของคุณจะได้รับข้อความบน Damus จากคุณ เขาหรือเธอจะต้องใช้งาน Relays เดียวกัน เพราะฉะนั้น มันจึงไม่ได้เป็นแบบ Peer-to-Peer

2. ยังคงต้องแจกจ่าย Public Key ให้กับเพื่อนของคุณเพื่อเป็นการยืนยันบัญชี

3. ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการแสวงหาการยอมรับในการใช้งาน ทำให้อินเทอร์เฟสของ Damus ยังดูว่างเปล่าเมื่อเทียบกับ Twitter

Damus vs. Twitter vs. Mastodon

Damus

ตัดเรื่องทางเทคนิคออกไป เราจะไปทำการเปรียบเทียบในเรื่องข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงสำหรับ Damus, Twitter, และ Mastodon กัน

ประการแรก Twitter ที่เก็บรายละเอียดของผู้ใช้งานทุกคนไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ส่วนกลาง ในขณะที่ Mastodon มาพร้อมกับเซิร์ฟเวอร์มากมายที่อนุญาตให้ผู้ดูแลสามารถแบ่งแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียออกเป็นเซิร์ฟเวอร์ที่แตกต่างกันไว้ใช้งานได้ แต่มันก็ยังคงมีปัญหาในเรื่องการควบคุมดูแลเนื่องจากผู้ดูแลเซิร์ฟเวอร์อาจจะทำตัวเป็นเผด็จการได้

บน Mastodon ผู้ใช้งานบนเซิร์ฟเวอร์ที่แตกต่างกันจะสามารถสื่อสารกันได้ ในขณะที่ทวิตเตอร์จะสามารถทำงานในรูปแบบนี้ได้ด้วยการอาศัยตัวตนส่วนกลางอื่นๆ เช่น LinkedIn หรือ Instagram ซึ่งผู้ใช้งานสามารถแชร์ทวีตไปบนแพลตฟอร์มเหล่านั้นได้

Damus นั้นทำงานในรูปแบบที่แตกต่างออกไป จะไม่มีรหัสผ่านหรือข้อมูลส่วนตัวเข้ามาเกี่ยวข้อง หากคุณล็อกอินด้วยอุปกรณ์ใดๆ Damus จะสร้าง Public Key เข้ารหัสขึ้นมา (เพื่อใช้ในการตรวจสอบและยืนยันตัวตน) และ Private Key เพื่อเข้าถึงอินเตอร์เฟสการใช้งาน นอกจากนี้ คุณยังสามารถเริ่มต้นส่งข้อความได้ทันที — ด้วยการเป็น Relays (ตัวส่งข้อมูล) — โดยผู้ใช้งานที่จับคู่ Relays เดียวกันจะสามารถเห็นข้อความเดียวกันได้ในทันที

และถึงแม้ว่า Relays เลือกที่จะไม่แสดงข้อความ แต่เนื้อหาเหล่านั้นก็ยังคงอยู่ใน Relays อื่นๆ ทำให้ Damus ต่อต้านการตรวจสอบทุกประเภท คุณสามารถสมัครรับข้อมูลจากผู้ใช้งานนั้นๆ เพื่อติดตาม Relays ของผู้ใช้งานนั้นๆ ได้

ตารางเปรียบเทียบระหว่าง Twitter vs. Mastodon vs. Damus

นี่คือตารางเปรียบเทียบข้อมูลแบบเรียบง่ายที่จะช่วยให้คุณเห็นความแตกต่างในส่วนต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว

Damus

อนาคตของ Damus จะเป็นอย่างไร?

Damus ซึ่งขับเคลื่อนโดยโปรโตคอล Nostr อาจจะกลายเป็นอนาคตใหม่ของโซเชียลมีเดีย ด้วยการทำให้การส่งข้อความเข้ารหัสปลอดภัยมากยิ่งขึ้นโดยการใช้งาน Relays แพลตฟอร์ม Web3 นี้อาจจะกลายเป็น Twitter Killer ได้จริงๆ และเมื่อพัฒนาการของ Nostr เติบโตมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป Damus ก็พร้อมที่จะเติบโตไปพร้อมกัน ทำให้การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกระจายอำนาจและทำงานร่วมกันได้อย่างแท้จริง

คำถามที่พบบ่อย

แอป Nostr คืออะไร?

ใครคือผู้สร้าง Damus?

Damus ใช้งานได้ฟรีหรือไม่?

จะใช้งาน Damus ได้อย่างไร?

Nostr Relay คืออะไร?

Nostr ทำงานอย่างไร?

Nostr สร้างขึ้นบนอะไร?

แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | มกราคม 2025
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | มกราคม 2025
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | มกราคม 2025

ข้อจำกัดความรับผิด

ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์

Akhradet-Mornthong-Morn.jpg
Akradet Mornthong
อัครเดช หมอนทอง เป็น นักแปล/นักเขียนคอนเทนต์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน NFT Games, Metaverse, AI, Crypto และเทคโนโลยีใหม่ๆ เขาจบการศึกษาในสาขาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล และมีประสบการณ์ในการทำงานในวงการเกมมากกว่า 10 ปี เมื่อ NFT Games ได้กลายเป็นกระแสขึ้นมาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เขาก็ไม่พลาดที่จะก้าวเข้ามาในวงการนี้เพื่อศึกษาข้อมูลในเชิงลึกต่างๆ ของวงการ NFT รวมไปถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Blockchain และ Crypto อีกด้วย
READ FULL BIO
ได้รับการสนับสนุน
ได้รับการสนับสนุน