Trusted

Decentralized Finance (DeFi) คืออะไร

8 mins
อัพเดทโดย Apinat Phosuwan

DeFi หรือ Decentralized Finance เป็นระบบการเงินแบบกระจายศูนย์ ซึ่งแตกต่างจากระบบการเงินแบบรวมศูนย์ (Centralized Finance) ด้วยนวัตกรรมบล็อกเชนทำให้บทบาทของสถาบันตัวกลางมีน้อยลง และมีความโปร่งใสมากขึ้น

ระบบการเงินกำลังมีการเปลี่ยนแปลงทำให้ผู้ใช้งานมีทางเลือกมาก ไม่ว่าจะกับทั้งธุรกิจและผู้ใช้งานเอง เทคโนโลยีบล็อคเชนและสัญญาอัจฉริยะ ทำให้ธุรกรรมต่างๆ รวดเร็ว โปร่งใส มีต้นทุนที่น้อยลง และทำให้ระบบการเงินของโลกเชื่อมต่อกันได้ทั่วถึงมากขึ้น บทความนี้จะพาท่านผู้อ่านมารู้จักกับแง่มุมต่างๆ ของระบบการเงินแบบกระจายศูนย์นี้

ที่มาของ DeFi

การเงินแบบกระจายศูนย์ DeFi เริ่มเป็นที่รับรู้ของสาธารณะมากขึ้นผ่าน Bitcoin และ Ethereum โดยเฉพาะในช่วงตลาดกระทิงปี 2018 การพัฒนา DApps ผ่านสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) บน Ethereum ทำให้เกิดแพลตฟอร์มและผลิตภัณฑ์ทางการเงินแบบกระจายศูนย์เกิดขึ้นโดยเฉพาะ MakerDAO, Compound และ AAVE

ปัจจุบันมีโปรโตคอลและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย ทั้ง Yield Farming, กระดานซื้อขายอนุพันธ์ อย่าง DYDX, หรือแม้กระทั่งการนำ NFTs ไปค้ำประกันเพื่อกู้ Stablecoin ออกมา และนักลงทุนสามารถนำเหรียญเหล่านี้ไปลงทุนในลักษณะต่างๆ ได้อีกมากมาย

ในอนาคต เราอาจนำสินทรัพย์ในโลกจริงอย่างสัญญาเช่า ที่ดิน หรือ ประกัน ต่างๆ มาแปลงเป็นสินทรัพย์ดิจิตอล และซื้อขายหรือกู้ยืมผ่านระบบ กระจายศูนย์ได้ ซึ่งจะมีต้นทุนที่ต่ำกว่าเดิม มีความโปร่งใสที่มากขึ้นและขั้นตอนที่ลดลง

ความแตกต่างระหว่าง CeFi และ DeFi

ในขณะที่ CEX มีการจัดการแบบรวมศูนย์ CeFi แต่ แพลตฟอร์มแบบกระจายศูนย์ DeFi ก็ได้อาศัยเทคโนโลยีของสัญญาอัจฉริยะอย่างเต็มที่ ทั้ง 2 ระบบมีเป้าหมายเดียวกัน คือการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม Crypto ไปข้างหน้า ด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน

CeFi สร้างความไว้วางใจผ่านกฎระเบียบ, การปฏิบัติตามข้อกำหนด, และการรักษาความปลอดภัยหลายชั้น การแปลงสกุลเงิน Fiat-to-Crypto เป็นสิ่งที่ดึงดูดใจนักลงทุนที่ถือสกุลเงินทั่วไป และการซื้อขายข้ามเชนช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นได้ การสนับสนุนลูกค้าซึ่งผู้ใช้งานสามารถติดต่อได้อย่างง่ายดาย ในขณะที่การปฏิบัติตามข้อกำหนด KYC และ AML ร่วมกับการวิเคราะห์บล็อกเชนช่วยให้ธุรกิจ CeFi ป้องกันกิจกรรมที่ผิดกฎหมายได้

เนื่องจากบริการ DeFi เป็นแบบกระจายอำนาจ การเปลี่ยนแปลงใดๆ ในฟีเจอร์นั้นจำเป็นต้องได้รับอนุมัติในระดับสัญญาอัจฉริยะ สัญญาอัจฉริยะนั้นเป็นแบบอัตโนมัติ, ไม่เปลี่ยนรูป, และโปร่งใส โดยข้อมูลธุรกรรมทั้งหมดจะถูกบันทึกไว้ในบัญชีแยกประเภทสาธารณะ แม้ว่า DEX จะไม่มีการสนับสนุนลูกค้า แต่ก็ไม่ถือ Private Key ของผู้ใช้งานเอาไว้ ทำให้พวกเขามีอิสระเต็มที่ในเงินทุนและข้อมูลส่วนตัวของพวกเขา (อ่านเพิ่มเติม CeFi vs DeFi)

ผลิตภัณฑ์ต่างๆ บนระบบนิเวศน์ของ DeFi

  •  Stablecoin

หนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่สำคัญคือ Stablecoin เช่น เงินดอลลาร์ USDT และ USDC เหรียญเหล่านี้คือ สินทรัพย์เสมือนของเงิน Fiat ที่ถูกค้ำประกันไว้และแปลงมาเป็นสินทรัพย์ดิจิตอล ซึ่งจะมีมูลค่า 1:1 กับสินทรัพย์ค้ำประกัน การลงทุนในคริปโตเคอเรนซี่ส่วนใหญ่แล้วล้วนเป็นคู่เหรียญ Stablecoin / สกุลเงินดิจิตอล เช่น BTC/USDT

  • Oracle

Oracle คือ รากฐานของระบบการเงินไร้ศูนย์กลาง มันคือระบบการตรวจสอบและรายงานข้อมูลต่างๆ ผ่าน Smart Contract โดยเฉพาะกับราคาของสินทรัพย์บนโลกบล็อคเชน หากการรายงานราคาผิดพลาดจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อผู้ใช้งานทั้งระบบ เช่น หากคุณค้ำประกันสินทรัพย์ไว้บน MakerDAO และมีการรายงานราคาผิดพลาด คุณอาจถูกบังคับชำระธุรกรรมได้ (liquidation)

  • Decentralized Exchange (DEX)

DEX คือ กระดานแลกเปลี่ยนแบบไร้ศูนย์บนบล็อคเชน ผู้ใช้งานจะต้องเชื่อมกระเป๋าเงินคริปโตส่วนตัว (Crypto Wallet) เช่น Metamask กับโปรโตคอลอย่าง Uniswap, Curve, dYdX และอื่นๆ เพื่อใช้งาน ซึ่งเป็นตลาดทางเลือกของกระดานซื้อขายแบบรวมศูนย์ (CEX) อย่าง Binance, Bitkub, และอื่นๆ อีกมากมาย ที่มีความโปร่งใสต่ำกว่า

การใช้งาน DEX สินทรัพย์ของคุณจะถูกเก็บไว้ในกระเป๋าส่วนตัวของคุณ (self-custodian) อีกด้วย ทำให้คุณปลอดภัยจากปัญหาที่เกิดขึ้นกับ FTX ที่นำเงินของลูกค้าไปใช้

  • Lending และ Borrowing

ปัจจุบันมีโปรโตคอลมากมายที่ให้บริการกู้ยืม เช่น MakerDAO คุณสามารถนำสินทรัพย์มาค้ำประกันมากกว่าสินทรัพย์ที่กู้ยืม (over-collateral) เช่น หากต้องการกู้ ETH มูลค่า 75 ดอลลาร์ คุณต้องมีสินทรัพย์อื่นๆ มูลค่าราว 100 ดอลลาร์ มาค้ำประกันไว้แต่ละแพลตฟอร์มจะมีนโยบายดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายแตกต่างกันไป

  • Liquidity Pool

พูลสภาพคล่อง เป็นกลไกหลักบนระบบการแลกเปลี่ยนซื้อขายสินทรัพย์ต่างๆ ยิ่งสภาพคล่องสูง การซื้อขายสินทรัพย์ก็จะยิ่งมีความผันผวนจากค่าความคลาดเคลื่อน (Slippage) น้อยลง และเข้มแข็งมากขึ้น แต่นักลงทุนสามารถนำสินทรัพย์ของตนเองมาเสริมสภาพคล่องได้ และรับส่วนหนึ่งของค่าธรรมเนียมมาเป็นผลตอบแทน นับว่าเป็นการลงทุนประเภทหนึ่งก็ได้

  • Security Token Framework

สิ่งนี้คือ การ Tokenize หรือการแปลงสินทรัพย์ที่เป็นหลักทรัพย์ เช่น หุ้น และพันธบัตร มาเป็นโทเค็น แต่จำเป็นต้องผ่านกฎเกณฑ์จากหน่วยงานกำกับดูแล เช่น Polymath ที่เป็นโปรโตคอลสำหรับการสร้าง Security Token เหล่านี้ได้

ความเสี่ยง

หากระบบการเงินกระจายศูนย์ เกิดปัญหาขัดข้อง หรือปิดให้บริการ ผู้ใช้บริการจะไม่สามารถทำธุรกรรมบนแพลตฟอร์มได้ หรือทำได้แต่เกิดปัญหาล่าช้า จนอาจทำให้ธุรกรรมที่ทำล้มเหลว ซึ่งทุกขั้นตอนเรายังจำเป็นต้องจ่ายค่า Gas ในการจัดการ

หากโปรโตคอลเหล่านี้ เกิดปัญหาล้มเหลวบ่อย ๆ อาจทำให้เราเสียเงินไปฟรี ๆ อีกทั้งยังมีความเสี่ยงทางระบบต่างๆ ที่ควรระวังเช่น ปัญหาสภาพคล่อง และช่องโหว่ใน Smart Contract

ยกตัวอย่างเช่น ช่วง Black Friday ในเดือนมีนาคมปี 2020 ได้เกิดการ Crash ของตลาด Crypto ครั้งใหญ่ ส่งผลทำให้ราคา Crypto มากมายปรับตัวลดลง ทำให้เกิดหนี้เสียบน MakerDao

สิ่งที่เกิดขึ้นคือ Ethereum ที่ค้ำประกันนั้นเกิดการ Liquidate โดยปกติอัตราส่วนของ Ethereum จะมากกว่าเหรียญ Dai ที่กู้เพื่อป้องกันการ Liquidate แต่เมื่อราคา Ethereum ลดลงอย่างรวดเร็วทำให้เกิดการ Liquidate และนำ Ethereum นั้นไปประมูลขาย อีกทั้งยังมีปัญหาที่ระบบ oracle รายงานราคาผิดพลาดเพราะบล็อคเชนแออัดมาเกินทำให้เกิดการดีเลย์ และกระทบสภาพคล่องบนบล็อคเชนที่ต่ำลง ทำให้ผู้ใช้งานบางส่วนต้องถูกบังคับชำระบัญชีจากความผิดพลาดทางเทคนิค

อีกปัญหาหนึ่งที่ผู้ใช้งานต้องเผชิญ คือการโจรกรรมกระเป๋าเงินดิจิทัล ซึ่งถ้าหากรหัสลับที่ใช้สำหรับกระเป๋าเงินถูกขโมย ก็มีสิทธิที่จะถูกโอนถ่ายเหรียญที่เรามี นี่อาจเป็นข้อควรระวัง นอกจากนี้ผู้ให้บริการอาจเป็นมิจฉาชีพและเชิดเงินของคุณหนีไปที่เรียกกันว่า Rug Pull

เนื่องจากโปรโตคอลเหล่านี้มีเม็ดเงินไหลเวียนเป็นจำนวนมาก แฮ็คเกอร์จึงเพ่งเล็งคอยโจมตีแพลตฟอร์มผ่านช่องโหว่บน Smart Contract อยู่เสมอ เช่น การแฮ็คโดยกลุ่มรัฐบาลเกาหลีเหนือบน Ronin Bridge และ Harmony Bridge ในปี 2022 ที่มีมูลค่าหลายล้านดอลลาร์

ในเบื้องต้นสำหรับผู้ใช้งาน อะไรที่เป็นข้อมูลส่วนตัวที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของเราก็ไม่ควรเผยแพร่ให้ใครทราบ เพราะถ้าถูกโจรกรรมไปแล้วโอกาสได้เหรียญดิจิทัลกลับมาแทบจะเป็นศูนย์เลยทีเดียว และคุณควรศึกษาแพลตฟอร์มหรือโปรโตคอลที่คุณจะใช้งานให้ดี ว่ามีความเสี่ยงใดๆ อยู่บ้าง

อนาคตของ Decentralized Finance

ปัจจุบัน ท่ามกลางตลาดหมีและเศรษฐกิจโลกที่กำลังอ่อนแอ มีสินทรัพย์ที่ไหลเวียนอยู่ในแพลตฟอร์มแบบกระจายศูนย์ DeFi นี้ Total Locked Value (TVL) อยู่ 4.9 หมื่นล้านดอลลาร์ ในปี 2023 แม้ว่าจุดสูงสุดในปี 2022 จะอยู่ที่ 1.7 แสนล้านดอลลาร์ก็ตาม แต่ก็ถือว่าเป็นเม็ดเงินที่มูลค่ามากพอสมควร

สถานการณ์ตลาดหมี มีสินทรัพย์ที่ไหลเวียนอยู่แบบ DeFi นี้ TVL อยู่ที่ 4.9

หลังจากวิกฤตความเชื่อมั่นที่เกิดขึ้นหลังความไม่โปร่งใสของ FTX และความเสี่ยงของกฎหมายกำกับดูแลภายในภูมิภาคโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา นักลงทุนจำนวนมากหันมาใช้บริการแพลตฟอร์มกระจายศูนย์แทน เพื่อเก็บรักษาเงินไว้กับพวกเขาเอง

นั่นหมายความว่า หากระบบธนาคารและสถาบันทางการเงินแบบดั้งเดิมที่รวมศูนย์ CeFi เริ่มไม่ได้รับความไว้วางใจ ระบบการเงินกระจายศูนย์ DeFi จะกลายเป็นทางออกให้แก่นักลงทุน

ในขณะเดียวกัน บล็อคเชนและ DApps เหล่านี้กำลังพัฒนาไปข้างหน้า เพื่อเสริมความแข็งแกร่ง ความปลอดภัย และประสิทธิภาพให้แก่ผู้ใช้งานมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น Ethereum ที่มีการอัพเกรดระบบ เพื่อแก้ปัญหาต้นทุนค่า gas การทำธุรกรรม หรือ layer 2 อย่าง Arbitrum, Optimism และ Polygon ที่ทำให้ธุรกรรมย่อยๆ รวดเร็วและถูกลงกว่าเดิมมาก

นวัตกรรมเหล่านี้ พัฒนาอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่ปีจากจุดเริ่มต้นของมันเมื่อปี 2018 การยอมรับที่เพิ่มขึ้นทั้งจากรายย่อยและสถาบันยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แม้กรอบการกำกับดูแลทางกฎหมายจะยังไม่ชัดเจนมากนักก็ตาม

สรุปประเด็นสำคัญ

Decentralized Finance (DeFi) เป็นระบบการเงินกระจายศูนย์ที่ตัดตัวกลางออกไป ทำให้การตรวจสอบบัญชีมีความโปร่งใสมากขึ้น และถูกตรวจสอบจากหลายๆ บุคคลหรือหน่วยงาน แตกต่างจากระบบการเงินในปัจจุบัน ที่ต้องอาศัยความเชื่อใจในตัวกลางเพียงไม่กี่หน่วยงานเพื่อพิสูจน์บัญชีและธุรกรรม นอกจากนี้ระบบบล็อกเชนยังทำให้ธุรกรรมเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เชื่อมต่อผู้คนจากทั่วทุกมุมโลกเข้าด้วยกันและยังสามารถเปิดนวัตกรรมขั้นพื้นฐานที่สามารถต่อยอดเพื่อพัฒนาแอพพลิเคชั่นต่างๆ ได้อีกด้วย

🎄แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | ธันวาคม 2024
🎄แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | ธันวาคม 2024
🎄แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | ธันวาคม 2024

ข้อจำกัดความรับผิด

ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์

IMG_4466-1.png
Nonthachai Sukkankosol
นนทชัย สักการโกศล จบการศึกษาปริญญาโท ด้านการวิจัยผลงานศิลปะร่วมสมัย จาก SOAS University of London แต่ผันตัวมาเป็นผู้แนะนำการลงทุนที่บริษัทหลักทรัพย์ Finansia Syrus Securities PLC. เขาถือใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุนตราสารทุน ตราสารหนี้และกองทุนรวม และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า รวมถึงใบรับรองด้านการวิเคราะห์เชิงเทคนิค CMT ระดับ 2 จาก CMT Association ประเทศสหรัฐอเมริกา เขามีประสบการณ์เกี่ยวกับการลงทุนในผลิตภัณฑ์ต่างๆ และเริ่มลงทุนคริปโตเคอเรนซี่มาตั้งแต่ปี 2016
READ FULL BIO
ได้รับการสนับสนุน
ได้รับการสนับสนุน