Trusted

Risk to Reward Ratio (RRR) คืออะไร ใช้งานอย่างไรดี

5 mins
อัพเดทโดย Tanutcha Roongroj

Risk to Reward Ratio (RRR) หรือ อัตราส่วนผลตอบแทนต่อความเสี่ยง เป็นเครื่องมือในการวางแผนเพื่อควบคุมความเสี่ยงในการลงทุนและกลยุทธ์ที่สำคัญ แต่เราควรจะใช้มันอย่างไรดีให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด

คุณอาจเคยได้ยินคำว่า “พอร์ตแตก” กันมาบ้างแล้ว นั่นเป็นเพราะนักเทรดมีการควบคุมความเสี่ยงที่ไม่ดี และเครื่องมือที่จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ก็คือ “อัตราส่วนผลตอบแทนต่อความเสี่ยง” เพื่อพิจารณาว่าหากเทรดผิดทางจะเสียหายเท่าไหร่ และคุ้มแค่ไหนหากราคาเคลื่อนที่ไปตามที่คาดหวัง

Risk to Reward Ratio (RRR) คืออะไร

“อัตราส่วนผลตอบแทนต่อความเสี่ยง” หรือที่บางคนอาจเรียกสั้นๆ ว่า R:R คือ สัดส่วนเปรียบเทียบความเสี่ยงที่จะสูญเสียเงินกับผลตอบแทนที่อาจเกิดขึ้น โดยเทียบ ความเสี่ยง (Risk) ว่าเป็นกี่เท่าของผลตอบแทน (Return)

ความสำคัญของ RRR

RRR ทำให้คุณเห็นภาพล่วงหน้าคร่าวๆ เกี่ยวกับแผนการเทรดของคุณ ว่าความเสียหายและโอกาสทำกำไรอยู่ที่เท่าไหร่ ต่อการเทรด 1 ครั้ง และเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักเทรดทุกสาย ทั้ง Scalper, Swing Trader, และ Day Trader

1.เห็นภาพรวมของกลยุทธ์

ยกตัวอย่างเช่น หากกลยุทธ์ของคุณมีโอกาสชนะ 50% แต่ R:R ของคุณต่ำกว่า 1 นั่นหมายความว่ากลยุทธ์ของคุณล้มเหลว เพราะเมื่อเทรดผิดทางคุณเสียหายมากกว่าเวลาเทรดถูกทางนั่นเอง

2.เทรดได้อย่างเป็นระบบวัดผลกลยุทธ์

หลังจากนักลงทุนพิจารณาอัตราส่วนอย่างสมเหตุสมผลหรือตามกลยุทธ์ที่วางไว้แล้ว ว่า R:R สูงกว่า 1 และมีโอกาสชนะมากกว่า 50% นักลงทุนควรตั้ง Stop Loss และ Take Profit ณ ราคาที่กำหนดไว้ตามแผน เพื่อทำให้กลยุทธ์ของคุณกลายเป็นระบบเทรดที่วัดผลได้ มีการควบคุมความเสี่ยง และมีประสิทธิภาพนั่นเอง

Risk Reward Ratio คำนวณอย่างไร

RRR = (ราคาที่ TP – ราคาจุดที่เข้า) / (ราคาจุดที่เข้า – ราคาที่ SL)

หากพูดให้เข้าใจง่าย วิธีการคำนวณคือ การนำกำไรที่คาดหวังมาหารด้วยการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้น

ยกตัวอย่างเช่น หากเราซื้อหุ้น A ที่ราคา 120 บาท ที่แนวรับ โดยคาดว่าราคาจะถึงแนวต้านถัดไปที่ 150 บาท  ซึ่งเป็นจุด Take Profit หากผิดทางราคาจะทะลุแนวรับโดยเราตั้ง Stop Loss เผื่อไว้ให้ทำงานที่ราคา 100 บาท

การคำนวณอัตราส่วนผลตอบแทนต่อความเสี่ยง RRR = (150-120) / (120-100) = 1.5 หรืออัตราส่วน 1.5 : 1 นั่นเอง

การพิจารณา Risk to Reward Ratio อย่างสมเหตุสมผล

สิ่งที่มักเกิดขึ้นกับนักเทรดมือใหม่ คือการตั้ง R:R ที่ไม่สมเหตุสมผลหรือ Bias เช่น การเชื่อว่าราคาจะพุ่งสูงเกินกว่าที่ควรจะเป็น เช่นการตั้ง R:R = 1: 20 หรือตั้ง Stop Loss ใกล้เกินกว่าความผันผวนที่แท้จริงทำให้โดน Stop ก่อนที่ราคาจะกลับตัว

นักเทรดจึงควรทดสอบกลยุทธ์ก่อนที่จะพิจารณา R:R ว่ามีความเป็นไปได้เท่าใด เช่น หากเราตั้ง R:R 1:20 แต่โอกาสที่จะเกิดขึ้นมีเพียง 1 ใน 100 เทรด พอร์ทของเราก็คงจะแตกเสียก่อน

ในเบื้องต้นอย่างน้อยนักเทรดควรมีกลยุทธ์ไว้อ้างอิง เช่น Elliot Wave, Bollinger Band, หรือจะเป็นหลักคิดง่ายๆ อย่าง Dow Theory และ แนวรับแนวต้าน ก็ได้ เช่น ซื้อที่แนวรับ ขายที่แนวต้านถัดไป เพื่อให้การวางกลยุทธ์และ R:R สมเหตุสมผล

ตัวอย่าง

ยกตัวอย่างการใช้ Bollinger Band (BB) ควบคู่ไปกับแนวคิด Demand & Supply Zone ดังภาพด้านเรา เราสามารถเปิดสถานะซื้อที่เส้นกลางของ BB หลังจากมีการย่อตัวลงมาดังในภาพ โดยเราคาดว่าเทรนฟื้นตัว (Rebound) กำลังเกิดขึ้นและอาจขึ้นไปทดสอบที่แนวต้านถัดไป ซึ่งเป็นจุด Take Profit (TP) ส่วน Stop Loss (SL) เราตั้งไว้ใต้แนวรับเล็กน้อย ของ Swing Low เก่า

การใช้ Bollinger Band (BB) ควบคู่ไปกับ Risk to Reward Ratio

จากการพิจารณาแล้ว R:R จะอยู่ที่ 1.79 ซึ่งนับว่าไม่แย่นัก แต่เราต้องทราบด้วยว่ากลยุทธ์นี้จะต้องมี Win Rate หรือโอกาสการชนะกี่เปอร์เซ็นจึงจะมีกำไร

คำนวณ Win Rate

1 หารด้วย 1+RRR

จากตัวอย่างข้างต้นสมการของเราจะได้ 1 / (1+1.78) = 0.36 นั่นหมายความว่ากลยุทธ์นี้จะต้องมีอัตราการชนะอย่างน้อย 36% จึงจะเท่าทุน และมากกว่า 36% จึงจะมีกำไร นักลงทุนสามารถนำกลยุทธ์ไป Backtest และพิจารณาดูอีกครั้งได้เช่นกัน

Expected Value ของกลยุทธ์

นักลงทุนสามารถหา อัตรากำไรและขาดทุนที่คาดหวัง (Expected Value) เพื่อนำมาพิจารณาว่ากลยุทธ์นี้กำไรหรือไม่ “ในเชิงภาพรวมเชิงสถิติ”โดยการนำกำไรเฉลี่ยและขาดทุนเฉลี่ยมาคิด เช่น หากกลยุทธ์ข้างต้นเราได้เก็บข้อมูลมาแล้ว ว่า กำไรโดยเฉลี่ยเราอยู่ที่ 0.5% และขาดทุนอยู่ที่ราว 0.3% ส่วน Win Rate = 40% (0.4) และ Lose Rate = 60% (0.6)

Expected Value ของกลยุทธ์ = (0.40 x 0.5) – (0.60 x 0.3) =  0.02 เมื่อตัวเลขเป็นบวกนั่นหมายความว่า กลยุทธ์เราทำกำไรได้ ภายใต้สถิติข้างต้น กลยุทธ์ของเราคาดว่าจะทำกำไรได้ “เฉลี่ย” 0.02% ต่อการเทรด

วิธีคำนวณ Position Sizing ที่จะเปิด

ขั้นตอนต่อไปคือการคำนวณ “Position Size” ที่เหมาะสม เช่น จากตัวอย่างที่แล้วหากเราเปิดสถานะด้วยเงินทั้งพอร์ทแล้วกำไร พอร์ทเราจะโตราว 0.50% หากผิดทางจะเสีย 0.30% แต่ในตลาด Future หรือ Leverage Market ที่นักเทรดสามารถใช้อัตราทดได้ นักเทรดสามารถเพิ่มหรือลดความเสี่ยงได้ยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น

สำหรับมือใหม่เราอาจเริ่มต้นด้วยการกำหนดความเสียหายกรณีผิดทางไว้ที่ 1% ต่อการเทรด 1 ครั้งของพอร์ท เช่นหากเรามีเงิน 100 USD เรายอมขาดทุน 1 USD เราสามารถเพิ่มอัตราทดได้ 3 เท่า หรือ 3X ด้วยตลาด Future ได้

ทำให้สถานะที่เปิดมีมูลค่า 300 บาท เมื่อราคาร่วง 0.30% จะถูกทดเป็น 0.90% หรือเสียหาย 0.90% ณ จุด SL ซึ่งมีมูลค่า 0.9 USD จากตอนแรกเราจะขาดทุนเพียง 0.30 USD แต่หากกำไรเมื่อราคาโตขึ้น 0.50% จะถูกทดเป็น 1.5% ทำให้เรากำไร 1.5 USD จาก 0.5 USD ในตอนแรกนั่นเอง

สรุปเกี่ยวกับ Risk to Reward Ratio (RRR)

Risk to Reward (RRR) เป็นเครื่องมือในการวางแผนกลยุทธ์ เพื่อพิจารณาความคุ้มค่าในการทำกำไรต่อความเสี่ยง อีกทั้งยังทำให้นักเทรดวางแผนควบคุมความเสียหายของพอร์ทได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นนักเทรดสาย Scalper, Swing Trader, และ Day Trader การควบคุมความเสี่ยงล้วนจำเป็นทั้งสิ้น

อย่างไรก็ตาม การพิจารณา RRR ควรจะเป็นไปอย่างสมเหตุสมผล นักเทรดอาจอิงกลยุทธ์ต่างๆ เช่น Elliot Wave, Bollinger Band, หรือ Demand & Supply Zone ในการวางแผน

แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | มกราคม 2025
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | มกราคม 2025
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | มกราคม 2025

ข้อจำกัดความรับผิด

ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์

IMG_4466-1.png
Nonthachai Sukkankosol
นนทชัย สักการโกศล จบการศึกษาปริญญาโท ด้านการวิจัยผลงานศิลปะร่วมสมัย จาก SOAS University of London แต่ผันตัวมาเป็นผู้แนะนำการลงทุนที่บริษัทหลักทรัพย์ Finansia Syrus Securities PLC. เขาถือใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุนตราสารทุน ตราสารหนี้และกองทุนรวม และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า รวมถึงใบรับรองด้านการวิเคราะห์เชิงเทคนิค CMT ระดับ 2 จาก CMT Association ประเทศสหรัฐอเมริกา เขามีประสบการณ์เกี่ยวกับการลงทุนในผลิตภัณฑ์ต่างๆ และเริ่มลงทุนคริปโตเคอเรนซี่มาตั้งแต่ปี 2016
READ FULL BIO
ได้รับการสนับสนุน
ได้รับการสนับสนุน