ดูเพิ่มเติม

Tether (USDT) คืออะไร ทำไมถึงเป็น Stablecoin ที่ดังสุด

6 mins
อัพเดทโดย Apinat Phosuwan

Tether (USDT) คือ Stablecoin ที่ได้รับความนิยมในวงกว้าง นอกจากนี้ ยังมีมูลค่าตลาดมากที่สุดในโลกอีกด้วย (อยู่ในอันดับ 3 เป็นรองเพียง Bitcoin และ Ethereum เท่านั้น) เหล่านักเทรดคริปโตมักจะใช้ Stablecoin เหล่านี้ในการซื้อขายสกุลเงินดิจิทัลอื่นๆ หรือ ใช้ในการโอนย้ายมูลค่าระหว่างเหรียญคริปโตต่างๆ เนื่องจากมันเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่มีมูลค่าคงที่และมีความผันผวนต่ำ ซึ่งตรึงมูลค่าไว้กับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในบทความนี้ เราจะมาเรียนรู้กันว่า Tether (USDT) คืออะไร? เพราะเหตุใด มันจึงได้รับความนิยมเหนือกว่า Stablecoins ตัวอื่นๆ

Tether (USDT) คืออะไร?

Tether (USDT) คือ Stablecoin

Tether (USDT) คือ Stablecoin หรือ สกุลเงินดิจิทัลที่ได้รับการตรึงมูลค่าไว้กับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งถูกสร้างและควบคุมโดยบริษัท Tether โดยมีแนวคิดก็คือ “1 USDT สามารถซื้อขายได้ในราคา 1 ดอลลาร์เสมอ โดยไม่คำนึงว่าจะอยู่ในสภาวะตลาดใดๆ ก็ตาม” ปัจจุบัน Tether (USDT) เป็น Stablecoin ที่มีมูลค่าตลาดมากที่สุดเป็นอันดับ 3 รองจาก Bitcoin (BTC) และ Ethereum (ETH) โดยมีมูลค่าตลาดราวๆ 90,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

หนึ่งในเหตุผลที่ทำให้เหรียญ USDT ได้รับความนิยมสูงก็คือ นักเทรดคริปโตมักจะใช้มันเป็นสื่อกลางในการซื้อขายสกุลเงินดิจิทัล หรือ สินทรัพย์ดิจิทัลต่างๆ (เช่น NFT เป็นต้น) เนื่องจาก Stablecoin เหล่านี้ไม่มีการผันผวนของมูลค่า ทำให้เหล่านักเทรดไม่ต้องมานั่งกังวลเกี่ยวกับความสูญเสียที่ไม่อาจจะคาดเดาได้ จากการเปลี่ยนแปลงของราคาของสินทรัพย์คริปโตอื่นๆ ที่มีความผันผวนสูง

รู้หรือไม่ว่า? Tether ยังมีการออกเหรียญ Stablecoins ที่ตรึงมูลค่ากับสินทรัพย์หรือสกุลเงินอื่นๆ ด้วยเช่นกัน เช่น Tether Gold (AUXT) ที่ตรึงมูลค่ากับราคาทอง, Tether Euro (EURT) ที่ตรึงมูลค่ากับสกุลเงินยูโร, หรือ Tether Yuan (CNHT) ที่ตรึงมูลค่ากับสกุลเงินหยวน เป็นต้น

ความเป็นมาของ Tether USD

Tether (USDT) เปิดตัวเป็นครั้งแรกในเดือนกรกฏาคม 2014 ในชื่อ Realcoin โดย Brock Pierce, Reeve Collins และ Craig Sellars สมาชิกของ Omni Foundation และทำให้พวกเขาสามารถสร้าง Tether บน Omni Protocol ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถสร้างและแลกเปลี่ยนสินทรัพย์และสกุลเงินที่ใช้งาน Smart Contract บนบล็อกเชน Bitcoin ได้ ในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2014 Reeve Collins ซีอีโอของ Tether ได้ประกาศว่าชื่อโทเค็น Realcoin ของพวกเขาจะถูกรีแบรนด์เป็น Tether (USDT)

วัตถุประสงค์และหลักการทำงานของเหรียญ Tether USD

วัตถุประสงค์หลักในการใช้งานเหรียญ USDT คือ การใช้เพื่อมันเพื่อเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงินต่างๆ (ทั้งสกุลเงินเฟียตและสกุลเงินคริปโต) เนื่องจากในช่วงเริ่มต้นของอุตสาหกรรมคริปโต มูลค่าของเหรียญคริปโตต่างก็เต็มไปด้วยความผันผวน ทำให้บ่อยครั้ง นักเทรดต้องสูญเสียมูลค่าของเงินทุนของพวกเขาไปอย่างรวดเร็ว ในระหว่างการเทรดหรือสวอปเหรียญคริปโตต่างๆ

แต่เนื่องจากเหรียญ Stablecoin อย่าง Tether (USDT) จะถูกตรึงมูลค่าไว้กับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 หมายความว่า เหรียญ USDT แต่ละเหรียญจะมีมูลค่าเทียบเท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เสมอ ทำให้นักลงทุนสกุลเงินคริปโตมีเหรียญ Stablecoin ที่มีมูลค่าเท่าเดิมเสมอ และ มีความผันผวนต่ำไว้ใช้สำหรับแลกเปลี่ยนเป็นสกุลเงินต่างๆ ซึ่งช่วยลดความกังวลของการลงทุนสกุลเงินคริปโตได้เป็นอย่างมาก

นอกจากนี้ USDT ที่ออกมานั้นจะมีเงินดอลลาร์สหรัฐฯ สนับสนุนเหรียญดังกล่าวในมูลค่าที่เทียบเท่ากันเสมอ และ Tether ยังมีการใช้งาน Proof Of Reserves ซึ่งหมายความว่า ณ เวลาใดก็ตาม เงินสำรองของพวกเขาจะเท่ากับหรือมากกว่าจำนวน Tether ที่หมุนเวียนอยู่ในระบบเสมอ ซึ่งสามารถตรวจสอบข้อมูลเงินสำรองดังกล่าวได้ผ่านทางเว็บไซต์ของพวกเขา

จุดที่ทำให้ Tether (USDT) แตกต่างจากผู้อื่น

Tether (USDT) ได้รับการยอมรับเป็นวงกว้าง อีกทั้ง ยังเปิดให้บริการมานานเป็นเวลาหลายปี พวกเขาก็ยังคงเป็นตัวเลือกยอดนิยมในหมู่นักเทรดสกุลเงินดิจิทัล เหตุผลหนึ่งก็น่าจะมาจากเรื่อง ความโปร่งใสเกี่ยวกับสภาพคล่อง และ เงินทุนสำรองของพวกเขา

ในช่วงปี 2022 หลังเกิดเหตุการณ์การโจมตีมูลค่าของเหรียญ UST หนึ่งในเหรียญ Stablecoin ที่ได้รับความนิยมอยู่ในขณะนั้น และการล่มสลายของ Terra Blockchain ซึ่งเป็นผู้ออกเหรียญ UST คลื่นแห่งความสงสัยของสาธารณชนก็เริ่มถาโถมเข้าหา Stablecoin รายอื่นๆ เช่นเดียวกัน

Tether ถูกสงสัยว่าไม่ได้มีการค้ำประกันเหรียญ USDT ด้วยเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 แต่มีการใช้สินทรัพย์อื่นๆ ที่ไม่สามารถระบุมูลค่าได้อย่างแม่นยำร่วมค้ำประกันด้วย เช่น ตราสารหนี้ระยะสั้น, หุ้นกู้ หรือ สินเชื่อที่มีหลักประกันแก่หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่บริษัทในเครือ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม Tether แก้ไขปัญหาเหล่านี้ด้วยหน้า ‘Transparency’ ที่ซึ่งพวกเขาได้ทำการเก็บบันทึกประจำวันของสินทรัพย์โดยรวม และ รายละเอียดแยกย่อยต่างๆ เกี่ยวกับเงินทุนสำรองของพวกเขา

ความเสี่ยงในการถือครองเหรียญ Tether (USDT)

เช่นเดียวกับสินทรัพย์ดิจิทัลอื่นๆ USDT เองก็มีความเสี่ยงเช่นกัน ความเสี่ยงต่างๆ นั้นรวมไปถึง การถูกแฮก, การถูกสแกม ฯลฯ นอกจากนี้ ถึงแม้ว่า USDT จะเป็น Stablecoin จึงไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับความผันผวนของราคามากนัก แต่มันก็ไม่ได้ปลอดภัย 100% เช่น ช่วงที่ Tether ถูกสงสัยเรื่องเงินทุนสำรอง ราคาของ USDT ก็หลุด Peg ไปช่วงระยะหนึ่ง ลงไปอยู่ที่ 0.80 ดอลลาร์ ถึงแม้ว่า ราคาจะกลับมาตรึงที่ 1 ดอลลาร์อีกครั้ง หลังจากนั้นไม่นานก็ตาม

ดังนั้น ก่อนที่จะทำการลงทุนในเหรียญคริปโตใดๆ (รวมถึงเหรียญ Stablecoins) ผู้ใช้งานควรศึกษาข้อมูลต่างๆ ด้วยตนเองอย่างละเอียด ซึ่งอาจจะรวมไปถึง การศึกษาประวัติราคาของเหรียญนั้นๆ, ทีมงานที่อยู่เบื้องหลังโปรเจกต์ หรือ บริษัทที่สนับสนุนเหรียญ Stablecoin และ เงินทุนสำรองของพวกเขา เป็นต้น

แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | พฤษภาคม 2024

Trusted

ข้อจำกัดความรับผิด

ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์

Akhradet-Mornthong-Morn.jpg
Akradet Mornthong
อัครเดช หมอนทอง เป็น นักแปล/นักเขียนคอนเทนต์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน NFT Games, Metaverse, AI, Crypto และเทคโนโลยีใหม่ๆ เขาจบการศึกษาในสาขาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล และมีประสบการณ์ในการทำงานในวงการเกมมากกว่า 10 ปี เมื่อ NFT Games ได้กลายเป็นกระแสขึ้นมาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เขาก็ไม่พลาดที่จะก้าวเข้ามาในวงการนี้เพื่อศึกษาข้อมูลในเชิงลึกต่างๆ ของวงการ NFT รวมไปถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Blockchain และ Crypto อีกด้วย
READ FULL BIO
ได้รับการสนับสนุน
ได้รับการสนับสนุน