The Graph (GRT) เป็นโปรโตคอลถูกเรียกว่า Google of Blockchain สำหรับนักพัฒนาในการค้นหาข้อมูลเพื่อพัฒนาระบบนิเวศบนบล็อคเชนต่างๆ บน Ethereum
ในบางครั้ง GRT อาจจะถูกจัดอยู่ในหมวด เหรียญ AI แต่จริงๆ แล้วมันเป็นเหรียญสำหรับเครือข่ายที่มุ่งเป้าไปที่กลุ่มเหล่านักพัฒนา นั่นหมายความว่าหาก Web3 และ Dapps ได้รับความนิยมมากขึ้น GRT ก็จะเป็นที่ต้องการและนิยมมากขึ้นด้วย
ปัจจุบันข้อมูลบนเครือข่ายมีการนำไปใช้แล้วมากกว่า 3,000 แพลตฟอร์ม เช่น Uniswap (UNI), Synthetix (SNX), Aave, CoinGecko, Decentraland, และอื่นๆ อีกมากมาย
The Graph Protocol (GRT) คืออะไร?
The Graph (GRT) เป็นโปรโตคอลที่เน้นการตอบโจทย์สำหรับนักพัฒนาเพื่อช่วยในการจัดทำดัชนี (Index) เพื่อสืบค้นข้อมูลต่างๆ บน Ethereum, POA, และ InterPlanetary File System (IPFS) ทำให้นักพัฒนาเรียกใช้ข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายและสามารถแชร์กันและได้รับผลตอบแทนจากการเรียกใช้ ส่วนนักลงทุนก็สามารถทำการ Staking หรือ Delegate ให้โหนดการตรวจสอบเหล่านี้ได้ด้วย
นักพัฒนาสามารถสร้าง API ต่างๆ และแชร์แบ่งปันให้กับผู้ใช้งานคนอื่นได้ผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า “Subgraph” ผู้ที่ต้องการเรียกใช้งานสามารถใช้ภาษา GraphQL ในการดึงข้อมูลได้เพื่อนำไปต่อยอดพัฒนา Dapps ต่างๆ
ใครคือผู้สร้าง The Graph?
ทีมงานผู้ร่วมก่อตั้งได้แก่ Yaniv Tal, Brandon Ramirez, และ Jannis Pohlmann ในปี 2018 และมีการเปิดตัว Mainnet ในปี 2020
โปรเจคนี้ได้รับการระดมทุนจากรายใหญ่ต่างๆ เช่น DCG, Coinbase Ventures, Framwork, ParaFi Capital, DTC, Multicoin, และสถาบันร่วมทุนอีกมากมาย
The Graph ทำงานอย่างไร?
Dapps และ Web3 จะเติบโตมากขึ้นโดยเฉพาะในช่วงตลาดกระทิงที่บล็อกเชนต่างๆ พยายามขยายระบบนิเวศของตนเอง ทำให้โปรเจคนี้มีบทบาทมากขึ้นในอุตสาหกรรมคริปโตและบล็อกเชนที่กำลังเติบโต
การจัดทำดัชนีข้อมูล หรือ indexing นักพัฒนาสามารถกำหนดโครงสร้างของข้อมูลในแง่ของการระบุวิธีที่ dApps ควรใช้ ตัวสร้างดัชนีจะสร้างตลาดแบบกระจายศูนย์สำหรับผู้ที่ต้องเรียกใช้ข้อมูล
ผู้ใช้งานสามารถชำระเงินด้วย GRT เพื่อใช้บริการเหล่านี้บนเครือข่าย ตามบนบาทของ Delegators, Indexers และ Curators ที่ให้บริการดูแลจัดการและจัดทำดัชนีแก่ผู้ใช้งานเพื่อแลกกับโทเค็น GRT นี่คือวิธีที่ผู้เข้าร่วมตลาดได้รับแรงจูงใจในการปรับปรุง API และให้ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ
- Delegator : ผู้มอบสิทธิ์หรือผู้ร่วม Staking ในการตรวจสอบธุรกรรมซึ่งจะได้รางวัลตอบแทนเป็น GRT
- Indexer : ผู้สร้างดัชนี มีหน้าที่ในการจัดทำดัชนีสืบค้นข้อมูลสำหรือ Subgraph โดยผู้จัดทำจำเป็นต้อง Stake GRT ก่อนเพื่อเผยแพร่ข้อมูล โดยขั้นต่ำอยู่ที่ 100,000 GRT และจะได้รับผลตอบแทนตามการเรียกใช้และจาก Rebate Pool กองทุนสำหรับผู้สนับสนุนเครือข่ายอีกด้วย
- Curator : ผู้ประเมินเป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้องของ Subgraph อีกทีหนึ่งมีหน้าที่จัดการและดูแล Subgraph ต่างๆ
ขั้นตอนการเรียกใช้งานข้อมูลโดยสรุปมีดังนี้:
1.เพิ่มข้อมูลของ Dapps ไปบน Ethereum ผ่าน Smart Contract
2.Smart Contract ส่งข้อมูลไปเพื่อบันทึกและตรวจสอบ ที่เรียกว่า Event
3.Graph Node จะทำการสแกนเครือข่าย Ethereum เพื่อค้นหาบล็อกใหม่และข้อมูลสำหรับ Subgraph
4.Graph Node ค้นหา Event จากบล็อกและเรียกใช้ตัวจัดการรวบรวมข้อมูลหรืออัพเดทข้อมูลนั้น
5.Dapps ติดต่อกับ Graph Node เพื่อนำข้อมูลี่จัดทำดัชนีจากบล็อคเชนแล้วมาที่ GraphQL เพื่อดึงข้อมูลและส่งไปยัง Dapps เพื่อใช้งานต่อไป
หน้าที่ของเหรียญ GRT
เหรียญ GRT ถูกใช้ในการจ่ายค่าธรรมเนียมและใช้เป็นสินทรัพย์ค้ำประกันโดยผู้ใช้กลุ่มต่างๆ เพื่อรับสิทธิ์ตรวจสอบข้อมูลต่างๆที่ถูกเพิ่มลงไปในแพลตฟอร์ม
นอกจากนี้ผู้ถือเหรียญยังสามารถนำ GRT ไป Stake หรือ Delegate ได้ เนื่องจากทางโปรโตคอลเป็นระบบ Proof-of-Stake ทำให้คุณได้รับรางวัลจากการร่วมตรวจสอบและเสริมความปลอดภัยให้แก่เครือข่ายโดยรวม
การกระจายเหรียญ GRT
อุปทานของโปรเจคเริ่มต้นที่ 10 พันล้าน GRT โดยมีการออกโทเค็นใหม่เป็นรางวัลสำหรับผู้จัดทำดัชนี ในช่วงเปิดตัวโปรเจคมีการปล่อยเหรียญเบื้องต้น 1,224,999,43 GRT หรือราว 12.5% ของจำนวนอุปทานทั้งหมด ส่วนอัตราการออก GRT ประจำปีเริ่มต้นที่ 3% แต่ขึ้นอยู่กับการกำกับดูแลด้านเทคนิคในอนาคต
สัดส่วนการกระจายเหรียญ
35% ให้แก่ Community
17% ให้แก่ Early Backers
17% ให้แก่ Backers
23% ให้แก่ Early Team และ Advisors
8% ให้แก่ Edge & Node Ventures, Inc. บริษัทผู้สร้าง The Graph
อะไรที่ทำให้ The Graph ไม่เหมือนใคร
พวกเขาเปิดตัวเป็นโครงการบล็อกเชนแห่งแรกในประเภทนี้ ในฐานะที่เป็นตลาดกระจายอำนาจแห่งแรกสำหรับการสืบค้นและจัดทำดัชนีข้อมูลสำหรับ dApps ทำให้โปรเจคนี้มียูทิลิตี้ที่เป็นเอกลักษณ์ และเป็นที่น่าสนใจในอุตสาหกรรม blockchain และ cryptocurrencies
เอกลักษณ์ของโปรเจคมาจากจุดประสงค์ของโครงการเช่นกัน นั้นคือการให้ข้อมูลที่เข้าถึงได้ง่ายสำหรับผู้บริโภคบนเครือข่าย โปรโตคอลนี้ทำงานโดยได้รับการสนับสนุนจากผู้เข้าร่วมเครือข่าย โดยที่กลุ่ม Indexer จะทำหน้าที่เป็นตัวดำเนินการโหนดเพื่อสร้างตลาดเฉพาะสำหรับการจัดทำดัชนีและสืบค้นข้อมูลจากแหล่งบล็อกเชนต่างๆ เช่น Ethereum
พวกเขาจึงเป็นตลาดกระจายอำนาจแห่งแรกที่จัดการกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง dApps และแก้ไขปัญหาในเรื่องการจัดทำดัชนีและประเด็นเรื่องกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของ
The Graph มีความปลอดภัยหรือไม่?
The Graph กำลังสร้างอนาคตที่มีการกระจายอำนาจในการเข้าถึงข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือและโปร่งใสตรวจสอบได้ อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นการเติบโตของ DApps และ Web3 ได้อนาคต
ไม่ว่าจะเป็น Indexer, Curator, Delegator ทุกๆ ขั้นตอนการทำงานนั้นอยู่บนบล็อกเชนและสามารถตรวจสอบได้ทั้งหมด นอกจากนี้ระบบ Proof-of-Stake ยังช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้แก่ข้อมูลเหล่านี้อีกด้วย
ทำไมราคา GRT ถึงพุ่ง
หลังการเผยแพร่เครื่องมือล่าสุด Farcaster Frames เครือมือ Interactive เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ทำให้ราคา GRT พุ่งขึ้นเป็นอย่างมาก เครื่องมือนี้เป็นฟีเจอร์ที่ช่วยในการจัดทำข้อมูล On-chain ต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย
Frames เพิ่มการใช้งานแบบ Interactive ให้แก่เหล่านักพัฒนาและผู้ใช้งาน และสามารถนำไปใช้ได้กับ Dapps ประเภทต่างๆ มากมายเช่น การค้นหาข้อมูลบน NFT, การหาข้อมูลการเคลื่อนไหวของกระเป๋าบน Ethereum, การโหวตต่างๆ และอีกมากมายในลักษณะแบบ Interactive
การพัฒนาครั้งนี้จึงทำให้ GRT เป็นเครื่องมือที่พร้อมสำหรับตลาดกระทิงครั้งต่อไป ที่จะรองรับการใช้งานสำหรับพัฒนา Dapps ที่จะเกิดขึ้นในอีกไม่ช้า
สรุป
The Graph เป็นโปรเจคที่ไม่เหมือนใครและบุกเบิกตลาดใหม่ในการให้บริการข้อมูลที่เข้าถึงได้จากหลากหลายบล็อคเชนบนเครือข่าย Ethereum และเป็นเครื่องมือยอดนิยมสำหรับเหล่านักพัฒนาระบบนิเวศบล็อคเชน
เป้าหมายสูงสุดของผู้สร้างโปรเจคคือการทำให้ Web3 สามารถเข้าถึงได้ง่ายระหว่างบล็อกเชนต่างๆ และให้บริการ DLT ที่ dApps สามารถทำงานได้โดยไม่หยุดชะงัก ผู้จัดทำข้อมูลสามารถหารายได้จากการเผยแพร่ Subgraph ในขณะเดียวกันนักลงทุนก็สามารถทำงานเป็นผู้ตรวจสอบผ่านการเป็น Delegator ด้วยระบบ Staking ได้อีกด้วย
ข้อจำกัดความรับผิด
ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์