ดูเพิ่มเติม

Theta Network คืออะไร? นี่คือคู่มือฉบับสมบูรณ์ของ Theta Network (THETA)

3 mins
อัพเดทโดย Passanai Jiraruekmongkol

Theta Network คืออะไร? หากพ่อคือ Web3 แม่คือการสตรีมมิ่ง Theta Network ก็คงจะเป็นลูกของพวกเขาอย่างแน่นอน อันที่จริงแล้ว มันค่อนข้างซับซ้อนกว่านั้นเล็กน้อย เทคโนโลยีบล็อกเชนนั้นพร้อมแล้วที่จะเปลี่ยนโฉมหน้าของการสตรีมมิ่งและการให้บริการเนื้อหา บริการต่างๆ เช่น Youtube, Netflix, Amazon Prime และ Hulu พวกเขาเหล่านี้นั้นถือเป็นตัวอย่างของวิดีโอสตรีมมิ่งแบบรวมศูนย์ที่มีประสิทธิภาพ แต่สำหรับประสบการณ์แบบกระจายอำนาจที่แท้จริงนั้น คุณไม่สามารถพึ่งพาเทคโนโลยีภายในระบบนิเวศแบบรวมศูนย์ได้ ซึ่ง Theta Network คือผู้ที่จะมาเปลี่ยนแปลงสิ่งนี้

เทคโนโลยี Peer-to-Peer นั้นจะสร้างเครือข่ายที่ผู้เข้าร่วมทำความตกลงร่วมกันว่าเครือข่ายนี้จะทำสิ่งใด สิ่งนี้ช่วยเพิ่มความเป็นประชาธิปไตยและให้อำนาจแก่ชุมชนมากขึ้น Theta Network นำเอาหลักการนี้มาปรับใช้กับการสตรีมมิ่ง พวกเขาเป็นบล็อกเชนที่แท้จริงและเป็นเครือข่ายการจัดเก็บ/การจัดส่งแบบกระจายอำนาจที่ขับเคลื่อนการสตรีมมิ่งเนื้อหาบน Web3 และแพลตฟอร์มสื่อใหม่ๆ บทความนี้จะบอกทุกรายละเอียดที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับแพลตฟอร์มใหม่ที่เต็มไปด้วยนวัตกรรมและจะเป็นผู้ที่ขับเคลื่อน Web3 ในอนาคต

💡 ต้องการรับทราบข่าวสารที่ร้อนแรงทั้งหมดเกี่ยวกับโปรเจกต์ Crypto ยอดนิยมหรือไม่? มาเข้าร่วม BeInCrypto Trading Community บน Telegram สิ: อ่านข่าวใหม่ๆ พูดคุยกันเรื่อง NFT และสอบถามเรื่องการวิเคราะห์ทางเทคนิคต่างๆ จากเหล่านักเทรดมืออาชีพ! เข้าร่วมเลยเดี๋ยวนี้

Theta Network คืออะไร?

Theta Network คืออะไร? มันเป็นเครือข่ายบล็อกเชนที่จะโฟกัสไปในเรื่องสื่อและความบันเทิง, อำนวยความสะดวกในการส่งมอบเนื้อหาที่มีแบนด์วิธสูงอย่างราบรื่นและฟรี มันช่วยให้แพลตฟอร์มสื่อต่างๆ เช่น อีสปอร์ต, ดนตรี, ทีวีและหนัง สามารถสร้างรายได้ นอกจากนี้ มันยังช่วยลดค่าธรรมเนียมในการส่งมอบเนื้อหา(จากที่ต้องเสียให้ตัวกลางด้วย) Theta Network จะให้รางวัลกับผู้ใช้งานที่แบ่งปันพื้นที่เก็บข้อมูลและ/หรือแบนด์วิธบนอุปกรณ์ต่างๆ เช่น พีซี โทรศัพท์มือถือ หรือสมาร์ททีวี ผู้ใช้งานจะได้รับ THETA เป็นรางวัลสำหรับการแชร์วิดีโอผ่าน Edgecast, DApp และการถอดความเนื้อหาของ Theta Network อีกด้วย

Theta Network ช่วยให้เหล่าผู้พัฒนาสามารถสร้าง NFT, กระดานเทรดแบบกระจายอำนาจ (DEX/DeFi) และองค์กรอัตโนมัติแบบกระจายอำนาจ (DAO) ได้ โครงสร้างพื้นฐานของพวกเขาให้การสนับสนุนสัญญาอัจฉริยะแบบ Turing Complete พวกเขานั้นมีเหรียญดั้งเดิมอยู่ 2 ตัว ซึ่งได้แก่: THETA — ใช้สำหรับการกำกับดูแล — และ TFUEL ซึ่งใช้สำหรับการใช้จ่ายในการทำธุรกรรม

สุดท้ายแล้ว Theta นั้นมุ่งมั่นที่จะให้บริการการสตรีมมิ่งและการส่งมอบเนื้อหาให้กับ Altchains แบบกระจายอำนาจ

ต้นกำเนิด, ทีมงาน, และแผนงาน

ทีมงานของ Theta: Theta.com

Theta Network นั้นเป็นผลงานของ Mitch Liu และ Jieyi Long Liu ผู้ซึ่งเคยเป็นผู้บริหารที่ทำงานในวงการเกมและวิดีโอสตรีมมิ่งมาก่อน ได้ให้กำเนิด THETA.tv ขึ้นมา มันคือ DApp ไลฟ์สตรีมมิ่งตัวแรกที่สร้างขึ้นโดยใช้โปรโตคอล THETA เพื่อสำรวจถึงรูปแบบการใช้งานเทคโนโลยีบล็อกเชนและโซลูชั่นที่มีศักยภาพของพวกเขาในอุตสาหกรรมสื่อ Liu ได้ร่วมมือกับ Jieyi Long

Jieyi นั้นเคยทำงานในด้านการออกแบบระบบอัตโนมัติและอุตสาหกรรมเกมมาก่อน ในปี 2015 ทั้งคู่พัฒนา SLIVER.tv ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มอีสปอร์ต จากนั้นในปี 2016 Theta Labs ก็ได้ถูกก่อตั้งขึ้น

ทั้งบล็อกเชนและโทเค็น Theta (ซึ่งปัจจุบันเป็นเหรียญแล้ว) ได้มีการเปิดตัวกับ Medium ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2017 การขายรอบแรกเริ่มขึ้นในเดือนมกราคม 2018 โดยเดิมที THETA นั้นเป็นโทเค็น ERC-20 บน Ethereum พวกเขาได้เปิดตัว Mainnet ของพวกเขาครั้งแรก (Mainnet 1.0) ในเดือนมีนาคม 2019

จากนั้นโปรโตคอล Theta ได้เปิดตัว Mainnet 2.0 ในเดือนพฤษภาคม 2020 ซึ่งมาพร้อมกับโหนด Guardian ซึ่งเป็นเฟรมเวิร์กฉันทามติ 2 ชั้นเพื่อมาช่วยเติมเต็มให้แก่ผู้ตรวจสอบความถูกต้องในระดับองค์กร ซึ่งมีการดำเนินการโดยพาร์ทเนอร์ของพวกเขา ตัวอย่างเช่น Binance, Google, Blockchain.com, Gumi และ Samsung

Mainnet 2.0 ยังได้เปิดตัวเทคโนโลยี EdgeCast ซึ่งช่วยให้การเสริประสิทธิภาพให้กับ Theta Edge Node ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถจับภาพไลฟ์วิดีโอ, จัดเก็บ, และเผยแพร่เนื้อหาที่สตรีมมิ่งสดได้ ในเดือนมิถุนายน 2021 Theta Network ได้เพิ่ม NFTs เข้ามา ซึ่งรวมถึงเทรดดิ้งการ์ดของผู้มีชื่อเสียงในกลุ่มผลิตภัณฑ์ของพวกเขา

ถัดมาในเดือนกรกฎาคม 2021 Theta ได้เปิดตัว Mainnet 3.0 ซึ่งเพิ่มความสามารถในการทำสัญญาอัจฉริยะเพื่อปรับปรุงการมีส่วนร่วมและการโต้ตอบของผู้ใช้งาน ปัจจุบัน Theta นั้นกำลังใช้งาน Mainnet 4.0 หลังจากที่มันเปิดตัวไปในช่วงเดือนธันวาคม 2022

Theta Blockchain นั้นได้รับการปรับปรุงในเรื่องปริมาณงาน, การปรับแต่ง, และความน่าเชื่อถือ ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการขยายขอบเขตของการปฏิวัติการเผยแพร่เนื้อหาบน Web3 และนำผู้ใช้งานหลายล้านคนเข้ามาสู่เครือข่าย

Theta Network ทำงานอย่างไร?

Theta Network ทำงานบนกลไก Proof-of-Stake (PoS) ยิ่งไปกว่านั้น ด้วยรูปแบบของ Byzantine Fault Tolerance (BFT) แบบ Multi-Level เครือข่ายนี้มีระดับความปลอดภัยเครือข่ายที่คล้ายกับ Bitcoin หรือ Ethereum แต่มีการซื้อขายที่เร็วกว่าและการทำธุรกรรมต่อวินาทีที่สูงกว่า ผู้ตรวจสอบความถูกต้องทั้ง 3 ประเภทนั้นช่วยให้รักษาความปลอดภัยให้กับกลไกฉันทามติ BFT แบบ Multi-Level ที่ไม่เหมือนใครนี้

ประเภทแรก ประกอบด้วยคณะกรรมการของ Enterprise Validator Nodes (โหนดผู้ตรวจสอบความถูกต้องในระดับองค์กร) 20–30 โหนด ประเภทที่ 2 เป็น Guardian Nodes (โหนดการ์เดี้ยน) ของชุมชนนับพัน และประเภทที่ 3 Edge Nodes ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานเข้าถึงวิดีโอสตรีมมิ่งได้อย่างง่ายดาย

Enterprise Validator Nodes

Google, Blockchain Ventures, Samsung, Sony Europe, Binance และ Gumi Cryptos เป็นผู้ที่ดำเนินการโหนดองค์กรเหล่านี้ โดยปกติ บริษัทเหล่านี้จะ Stake โทเค็น THETA เพื่อตรวจสอบธุรกรรมบนเครือข่าย วิธีนี้เป็นขั้นตอนแรกในการรับรองความปลอดภัยให้กับเครือข่ายและกำหนดให้บริษัทเหล่านี้ Stake THETA จำนวน 1 ล้านเหรียญ

Guardian Nodes

การ์เดี้ยนนั้นเปรียบเสมือนกลุ่มใหญ่ของคณะกรรมการตรวจสอบความถูกต้อง พวกเขานั้นจะผลิตเชนของบล็อกรวมถึงตรวจสอบความถูกต้องของเชนเหล่านี้ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องบล็อก มันจะต้องการโหนดการ์เดี้ยนของ Theta เป็นจำนวน 2 ใน 3 เพื่อยืนยันเรื่องดังกล่าว

Edge Nodes

นอกเหนือไปจาก Enterprise Validator Nodes และ Guardian Nodes แล้ว Theta Network ยังมีการใช้ Edge Nodes ด้วย ซึ่งสมาชิกในชุมชนนั้นเป็นผู้เรียกใช้มัน เทคโนโลยี “EdgeCast” แบบ Peer-to-Peer นี้ได้รับการเปิดตัวในช่วงที่ Theta เปิดตัว Mainnet 2.0 มันช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถจับภาพการถ่ายทอดสดเนื้อหาและแปลงโค้ดของเนื้อหาในขณะที่กระจายแบนด์วิดท์ส่วนเกินออกไป

เทคโนโลยี Edge Nodes นี้เป็นพื้นฐานของ DApps ไลฟ์สตรีมมิ่งแบบกระจายอำนาจของ Theta ในเดือนกรกฎาคม 2022 มี Edge Nodes อยู่มากกว่า 100,000 โหนดที่กำลังทำงานอยู่ โดยทำการกระจายวิดีโอแบบกระจายอำนาจที่ซึ่งเป็นศูนย์กลางของ Theta Network

ฟีเจอร์ต่างๆ ของ Theta Network

ฟีเจอร์หลักของ Theta Network

โหนด 3 ประเภท: เหมือนที่ได้อธิบายไปในหัวข้อก่อนหน้านี้ Theta เป็นเครือข่ายที่มีโหนดอยู่ 3 ประเภทได้แก่: Enterprise Validator, Guardian และ Edge BFT ที่เป็นเอกลักษณ์ของเครือข่ายคือตัวแปรของการกำกับดูแลแบบ PoS สิ่งนี้ช่วยจัดการเครือข่าย Peer-to-Peer ของโหนดที่ดำเนินการบน Theta Network

สร้าง DApps แบบกำหนดเองได้: Theta Network นั้นช่วยให้นักพัฒนาสามารถพัฒนาแอปแบบกระจายอำนาจ (DApps) ได้

Theta TV: นั้นเป็นวิสัยทัศน์หลักของแพลตฟอร์มในเรื่องวิดีโอสตรีมมิ่งโดยใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน แพลตฟอร์ม Esports Entertainment ของพวกเขาช่วยให้คอนเท้นท์ครีเอเตอร์ได้รับ TFUEL จากการสมัครสมาชิกของผู้ชม พวกเขายังสามารถรับเงินที่โดเนทจากผู้ชมของพวกเขาได้ (โดเนทด้วยการใช้บัตรเครดิต) ซึ่งต่อมาจะถูกส่งไปยังกระเป๋าเงินของเหล่าครีเอเตอร์ในรูปแบบของ USD Stablecoin

แอปกระเป๋าเงินของ Theta: ด้วยแอปกระเป๋าเงินนี้ ผู้ใช้งานสามารถทำธุรกรรม (ส่งและรับ THETA) สำหรับวิดีโอสตรีมมิ่งได้

ระบบเหรียญคู่: Theta Network นั้นใช้เหรียญ 2 ประเภท ได้แก่ THETA ซึ่งเป็นเหรียญกำกับดูแลของเครือข่าย และ TFUEL ใช้เพื่อจ่ายให้กับผู้ใช้งานเพื่อขยายแบนด์วิธของคอมพิวเตอร์เข้าสู่เครือข่าย

Thetadrop NFT: ในช่วงกลางปี 2021 Theta ได้เปิดตัว Thetadrop ซึ่งเป็นตลาด NFT ของ NFT ที่สร้างขึ้นบน Theta Network ซื้อขายในสกุลเงิน USD หรือ TFUEL

ข้อดีและข้อเสียของ Theta Network

ข้อดี

  • มีทีมงานที่มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมวิดีโอสตรีมมิ่ง ตัวอย่างเช่น Steve Chen ผู้ร่วมก่อตั้ง YouTube ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของ Theta
  • การสตรีมมิ่งวิดีโอออนไลน์นั้นมีความกระจายอำนาจ
  • ผนึกกำลังกับแพลตฟอร์มชื่อดัง เช่น Google และ Samsung Virtual Reality
  • ลดค่าใช้จ่ายในการสตรีมมิ่งวิดีโอ
  • ปรับปรุงคุณภาพวิดีโอออนไลน์และการถ่ายทอดวิดีโอ

ข้อเสีย

  • ยังคงเป็นโปรเจกต์ที่ค่อนข้างใหม่ (ที่นับมันเป็นหนึ่งในข้อเสียก็เนื่องมาจากการเปิดให้บริการมายาวนานนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากในการกำหนดความน่าเชื่อถือของแพลตฟอร์ม)
  • สภาพคล่องต่ำ
  • การเสนอขายเหรียญเริ่มต้น (ICO) ในแบบ Centralized และ Private : เรื่องนี้ทำให้มันขาดความโปร่งใส
  • Theta.TV ต้องการบัฟเฟอร์วิดีโอในระดับที่สูง

ระบบเศรษฐกิจเหรียญคู่: THETA และ TFUEL

รูปแบบโทเค็นโนมิคส์ของ Theta คือการให้รางวัลแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบนิเวศของ Theta ทั้งหมดอย่างยุติธรรม มันจึงเป็นการช่วยเสริมความปลอดภัยและเสริมคุณค่าความเป็นอรรถประโยชน์ของ Theta Network

มีเหรียญดั้งเดิมของ Theta Network อยู่ 2 เหรียญได้แก่ THETA และ Theta Fuel (TFUEL)

  • ปัจจุบัน THETA ซื้อขายอยู่ที่ 0.81 ดอลลาร์ มีมูลค่าตลาดรวมประมาณ 810 ล้านดอลลาร์
  • ปัจจุบัน TFUEL ซื้อขายอยู่ที่ 0.035 ดอลลาร์ มีมูลค่าตลาดรวมประมาณ 212 ล้านดอลลาร์

Theta Mainnet 2.0 นั้นมาพร้อมกับ TFUEL เป็นรางวัล 5% ต่อปีสำหรับการ Staking THETA มันจะถูกมอบให้กับผู้ถือครองเหรียญที่รักษาความปลอดภัยเครือข่ายบล็อกเชนผ่านฉันทามติ BFT แบบ Multi-Level ของ Theta ด้วย TFUEL ผู้ใช้งานสามารถผสานรวม Theta P2P (โปรโตคอลการส่งมอบวิดีโอ) เข้ากับเฟรมเวิร์กของตนได้ มันจะเพิ่มรางวัลให้แก่ผู้ใช้งานปลายทางในการเข้าร่วมเครือข่ายของพวกเขา

โปรโตคอลยังได้ให้รางวัลแก่ Edge Nodes ของ Theta หลังจากเปิดตัว Mainnet 3.0 ในเดือนมิถุนายน 2021 Edge Nodes เป็นผู้เข้าร่วมเครือข่ายที่สำคัญอีกรายที่ให้บริการส่งมอบวิดีโอ เครือข่ายมีการปรับปรุงระบบเศรษกิจด้วยอัตราการเฟ้อรูปแบบใหม่ของ TFUEL, การ Staking, และการเผาเหรียญ ทั้งค่าธรรมเนียมธุรกรรมผ่านเครือข่ายและค่าธรรมเนียมสัญญาอัจฉริยะจะถูกเผาทิ้ง ทำให้ TFUEL นั้นไม่มีการหมุนเวียน

Airdrop

แพลตฟอร์ม Theta มีความเคลื่อนไหวอยู่เสมอ ทีมงานจะประกาศเพิ่มเติมเกี่ยวกับการ Airdrops ในช่อง Airdrops โดยเฉพาะ

กรณีการใช้งานของ THETA

เพื่อให้การสนับสนุน Theta Network ผู้พัฒนานั้นต้องการ THETA เพื่อพัฒนาและเปิดใช้งานแอปพลิเคชั่น ผู้ใช้งานสามารถใช้ THETA เพื่อชำระเงิน รวมถึงค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมและบริการด้านการคำนวณ และในทำนองเดียวกัน ผู้ถือ THETA สามารถ:

Stake: ผู้ใช้งานสามารถ Stake THETA เพื่อเป็น Validator หรือ Guardian Node และมีส่วนร่วมในการกำกับดูแลโปรโตคอลได้

ซื้อขาย: ผู้ใช้งานยังสามารถซื้อขาย THETA ผ่านกระดานเทรดคริปโตได้

การแลกเปลี่ยน: ผู้ถือโทเค็นสามารถแลกเปลี่ยน THETA เป็นคริปโตตัวอื่นๆ ได้ (รวมถึง Stablecoins)

อุปทาน

อุปทานโทเค็น Theta นั้นคงที่ที่ 1 พันล้าน ช่วงการเปิดตัว Mainnet ผู้ถือโทเค็น Theta ERC20 แต่ละคนจะได้รับ THETA บน Mainnet ใหม่ในอัตรา 1:1 อุปทานของเหรียญบน Theta Blockchain นั้นคงที่ที่ 1 พันล้านเหรียญ

คอนเซปต์ในการปรับปรุงครั้งนี้คือการปรับปรุงความปลอดภัยของโทเค็น ซึ่งทำให้แฮกเกอร์เจาะหรือคุกคามเครือข่ายได้ยากมากขึ้น เนื่องจากไม่มีการสร้างเหรียญ Theta ใหม่ วิธีเดียวที่จะได้รับ Theta คือการซื้อโทเค็นที่ยังหลงเหลืออยู่ซึ่งอาจจะมีมูลค่ามากขึ้นในอนาคต

Theta Wallet

ก่อนที่จะทำการซื้อหรือถือ THETA ผู้ใช้งานจะต้อง Theta Wallet กระเป๋าเงินนี้ช่วยให้คุณจัดการและจัดเก็บ THETA และ TFUEL ของคุณได้อย่างปลอดภัย Theta Wallet นั้นเป็นแอปกระเป๋าเงินอย่างเป็นทางการของเครือข่าย

Theta Wallet มีให้บริการผ่านทางเว็บ, ส่วนขยายของเบราว์เซอร์, และแอปบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ (ทั้ง iOS และ Android) ผู้ใช้งานที่กังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยยังสามารถเก็บเหรียญของพวกเขาแบบออฟไลน์ได้ เนื่องจากแพลตฟอร์มกำลังพัฒนาเพื่อการผสานรวมการรองรับ Hardware Wallet อย่าง Ledger และ Trezor สำหรับ Theta Blockchain

Theta Wallet แต่ละใบจะเก็บ Private Key ของผู้ใช้งานเพื่อให้เจ้าของกระเป๋าเงินลงนามในธุรกรรมที่ทำการส่ง THETA ไปให้บุคคลอื่น

ศักยภาพของ Theta Network นั้นดูสดใสในระยะยาว

ไม่ต้องสงสัยเลยว่าอุตสาหกรรมวิดีโอสตรีมมิ่งและการเผยแพร่เนื้อหานั้นเติบโตขึ้นอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา Theta นั้นได้ใช้ประโยชน์จากการเติบโตดังกล่าวและเสริมแนวทางของความกระจายอำนาจลงไปใบสถานะปัจจุบัน ช่วยปรับปรุงคุณภาพวิดีโอและแก้ปัญหาเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน

ในทำนองเดียวกัน ระบบเศรษฐกิจแบบโทเค็นคู่ที่ไม่เหมือนใครทำให้โทเค็นนั้นมีประโยชน์นอกเหนือไปจากการใช้มันเพื่อรักษาความปลอดภัยให้กับเครือข่าย ทีมงานนั้นได้นำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง – สรรสร้างค์วิธีการใหม่ๆ ในการให้รางวัลแก่การมีส่วนร่วมของผู้ใช้งาน ด้วยอุปทานคงที่ของ TFUEL ดูเหมือนว่าพวกเขาจะกลายเป็นแพลตฟอร์มการส่งมอบเนื้อหา Web3 ที่พลิกโฉมและถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวาง

คำศัพท์ทางเทคนิคในบทความ

  • dApps (Decentralized Application): แอปพลิเคชั่นที่มีการนำบล็อกเชนมาสร้างขึ้นเป็นแอปพลิเคชั่นใหม่ๆ ขึ้นมาโดยดึงข้อเด่นของ Blockchain และ Smart Contract ในเรื่องของการจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายบนเครือข่ายและความปลอดภัยมาใช้

คำถามที่พบบ่อย

เหรียญ THETA เป็นการลงทุนที่ดีหรือไม่?

คู่แข่งของ THETA คือใคร?

THETA กำลังพยายามที่จะทำอะไร?

ใครเป็นเจ้าของ THETA?

แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | เมษายน 2024

Trusted

ข้อจำกัดความรับผิด

ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์

bic_photo_6.jpg
Akradet Mornthong
อัครเดช หมอนทอง เป็น นักแปล/นักเขียนคอนเทนต์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน NFT Games, Metaverse, AI, Crypto และเทคโนโลยีใหม่ๆ เขาจบการศึกษาในสาขาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล และมีประสบการณ์ในการทำงานในวงการเกมมากกว่า 10 ปี เมื่อ NFT Games ได้กลายเป็นกระแสขึ้นมาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เขาก็ไม่พลาดที่จะก้าวเข้ามาในวงการนี้เพื่อศึกษาข้อมูลในเชิงลึกต่างๆ ของวงการ NFT รวมไปถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Blockchain และ Crypto อีกด้วย
READ FULL BIO
ได้รับการสนับสนุน
ได้รับการสนับสนุน