Trusted

Trend Line คืออะไร? วิธีตี Trend Line บางเทคนิคที่คุณอาจยังไม่ทราบ [อัปเดต 2023]

8 mins
อัพเดทโดย Apinat Phosuwan

Trend Line คือ เส้นแนวโน้มที่บ่งบอกทิศทางของราคาสินทรัพย์ เช่น หุ้น คริปโต ว่าจะเคลื่อนที่ไปในทิศทางใด ตามเส้นแนวโน้มนั้นๆ

หากคุณพึ่งเริ่มหัดเทรด และวิเคราะห์กราฟราคา จุดเริ่มต้นที่ง่ายที่สุดแต่จำเป็นที่สุดคือ การตี Trend Line หรือ เส้นแนวโน้ม เพื่อบ่งบอกแนวรับและแนวต้าน แต่จริงๆ แล้ว “คุณใช้ประโยชน์มันได้มากกว่านั้นในการวิเคราะห์พฤติกรรมของราคา”

ไม่ว่าคุณจะเทรดหุ้น Forex หรือ คริปโตเคอเรนซี่ การตีเส้นแนวโน้มเป็นจุดเริ่มต้นในการวิเคราะห์สินทรัพย์ที่เรียบง่ายที่สุด คุณเพียงเปิดกราฟเปล่าๆ ขึ้นมาและลากเส้นเชื่อมจุด จากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งเท่านั้นเอง แตกต่างจากการวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือ Indicator อื่นๆ อย่าง MACD และ RSI ที่ต้องอาศัยความเข้าใจในระดับหนึ่งเพื่อใช้งาน

ถ้ามันเรียบง่ายขนาดนี้ มันมีประโยชน์จริงหรือเปล่า หรือมันเป็นเพียงเส้นที่จินตนาการขึ้นมา บทความนี้จะทำให้คุณเข้าใจวิธีการใช้งานและ “อ่าน” เส้นแนวโน้มในมุมมองที่คุณอาจไม่เคยสังเกตมาก่อนและยกระดับการเทรดของคุณขึ้นไปอีก

เส้นแนวโน้ม Trend Line คืออะไร?

Trend Line คือ เส้นที่นักวิเคราะห์เชิงเทคนิค (Technical Analyst) ลากขึ้น เมื่อนักเทรดมองเห็นแนวรับและแนวต้านเชิงจิตวิทยาในกราฟราคาของสินทรัพย์ การลากเส้นเปรียบเหมือนการบันทึกสิ่งที่สายตาของนักวิเคราะห์สังเกตเห็น

ในบางครั้งเมื่อเส้นแนวโน้มถูกนำมาประกอบกัน นักเทรดอาจจะเริ่มต่อยอดสังเกตเห็น Pattern ที่กำลังเกิดขึ้นหรืออาจจะเกิดขึ้น เช่น การบีบตัวของราคาเข้าสู่กรอบสามเหลี่ยม (Triangle) หรือแพทเทิร์นยอดนิยมอย่าง Head-and-shoulder

เส้นเทรนไลน์แต่ละเส้นที่ถูกประกอบสร้างเป็นแพทเทิร์นเหล่านี้ ล้วนมีความหมาย โดยเบื้องต้นเราจะพามาทำความรู้จักลักษณะพื้นฐาน 3 ประเภทกันก่อน

รูปแบบพื้นฐานของเส้น Trend Line

รูปแบบพื้นฐานที่สุด มี 3 รูปแบบ และแสดงถึงสถานะการเคลื่อนไหวของราคาในแต่ละช่วงเวลานั้นๆ โดยแบ่งเป็น เทรนขาขึ้น เทรนขาลง และ เส้นขนาน

เทรนไลน์ที่มีนัยยะสำคัญมักสังเกตเห็นง่าย เพราะราคาตอบสนองกับเส้นนั้นๆ บ่งบอกว่ามีนักเทรดจำนวนมากที่ให้ความสำคัญกับเทรนไลน์ดังกล่าว และเมื่อเทรนไลน์ถูกทำลายลงนั่นหมายความว่าโมเมนตั้มของตลาดอาจมีการเปลี่ยนแปลง

รูปแบบของเส้น trend line แบ่งเป็น Up trend และ Down Trend

เส้นเทรนขาขึ้น (Up Trendline)

เส้นเทรนขาขึ้นจะถูกลากเป็นเส้นเฉียงขึ้นจากซ้ายไปขวา เชื่อมจากจุดต่ำสุดของแต่ละแท่งเทียนมากกว่า 2 จุดขึ้นไป โดยราคาจะทำจุดสูงสุดใหม่ สูงกว่า จุดสูงสุดเก่า และ จุดต่ำสุดใหม่ สูงกว่า จุดต่ำสุดเก่า ยิ่งมีจำนวนจุดที่เชื่อมต่อกันมากเท่าไหร่ เทรนไลน์นั้นจะยิ่งมีความแข็งแกร่งและสำคัญมากขึ้นเท่านั้น

เทรนขาขึ้นทำให้นักเทรดสามารถหาจุดขึ้นซื้อได้ง่ายและมักใช้เป็นจุดเข้าซื้อสำหรับเทคนิคการเทรดแบบ Trend Following ที่นักเทรดจะรอให้เกิดเทรนไลน์ชัดเจนก่อนที่จะเข้าซื้อ จุดเข้าซื้อคือราคาที่ใกล้เคียงกับเส้นมากที่สุด

เส้นเทรนขาลง (Down Trendline)

เส้นเทรนขาลงจะถูกลากเป็นเส้นเฉียงลงจากซ้ายไปขวา เชื่อมจากจุดสูงสุดของแท่งเทียนของแต่ละแท่งเทียนมากกว่า 2 จุดขึ้นไป โดยราคาจะทำจุดต่ำสุดใหม่ ต่ำกว่า จุดต่ำสุดเก่า และ จุดสูงสุดใหม่ ต่ำกว่า จุดสูงสุดเก่า ยิ่งมีจำนวนจุดที่เชื่อมต่อกันมากเท่าไหร่ เทรนไลน์นั้นจะยิ่งมีความแข็งแกร่งและสำคัญมากขึ้นเท่านั้น

เทรนขาลงแสดงถึงการเทขายของนักลงทุน จึงไม่เหมาะสมที่จะเข้าซื้อ แต่หากคุณเป็นนักเทรดในตลาด Future คุณสามารถเปิดสถานะ Short ได้ในลักษณะเดียวกับการเข้าซื้อเมื่อเกิดเทรนขาขึ้น

เส้นขนาน (Sideway Line)

เส้นขนานมักเกิดขึ้นเมื่อตลาดไม่ได้มีแรงกระตุ้นหรือโมเมนตั้มที่มากนัก สะท้อนถึงความลังเลในตลาด ซึ่งจะมีลักษณะเป็นราง (Channel) ที่ประกอบไปด้วย 2 เส้น เส้นแรกลากจากจุดต่ำสุดเชื่อมกับจุดต่ำสุด เส้นที่ 2 เชื่อมระหว่างจุดสูงสุดกับจุดสูงสุด และมีดำเนินไปในลักษณะคู่ขนาน เส้นขนานจะมี 3 รูปแบบย่อยดังนี้

Trend line แบบ sideway
Types of Sideways

ไซด์เวย์ออกข้าง (Sideway)

เส้นจะลากขนานออกข้างลักษณะ 180 องศา เป็นกรอบของราคาที่แสดงถึงความไม่แน่นอนมากที่สุดและมักทำกำไรได้ยาก ไม่เหมาะสมแก่การเทรดแบบ Trend Following การที่ราคาออกข้างแสดงให้เห็นว่าสินทรัพย์อาจยังไม่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนมากนัก และมักมาพร้อมกับ Volume ที่ต่ำ ไม่ค่อยมีความเคลื่อนไหวของราคา

ไซด์เวย์ขึ้นบน (Sideway Up)

เส้นจะขนานเฉียงขึ้นบนจากซ้ายไปขวา แตกต่างจากเทรนไลน์ขาขึ้นตรงที่ จุดสูงสุดของราคาจะมีกรอบที่ชัดเจน ในขณะที่เทรนไลน์ขาขึ้น จุดสูงสุดอาจแตกต่างกันไปไม่จำกัด การไซด์เวย์ขึ้นบน แม้ว่าราคาจะสูงขึ้นแต่ยังสะท้อนให้เห็นว่ายังมีความไม่มั่นใจอยู่ เพราะแรงซื้อไม่มากนักและมีความลังเลจากการทยอยขายสินทรัพย์อยู่

ไซด์เวย์ลงล่าง (Sideway Down)

เส้นจะขนานเฉียงลงล่างจากซ้ายไปขวา แตกต่างจากเทรนไลน์ขาลงตรงที่ จุดต่ำสุดของราคาจะมีกรอบที่ชัดเจน ในขณะที่เทรนไลน์ขาลง จุดต่ำสุดอาจแตกต่างกันไปไม่จำกัด

การไซด์เวย์ลงล่างเป็นสัญญาณเชิงบวกมากกว่าเทรนขาลง เพราะหมายความว่า แรงเทขาไม่มานักต่างจาก Panic Sell หรือ การเทขายเพราะอาการตื่นตระหนก ทำให้ราคาทยอยลงแต่ยังมีแรงรับซื้อทยอยเข้ามาอยู่บ้าง

วิธีการตี Trend Line ให้เหมาะสม

ดังที่กล่าวมาข้างต้น การวิเคราะห์ที่ดีจำเป็นต้องมีข้อมูลที่ดี ข้อมูลที่ดีคือ วิธีการกำหนดจุดที่คุณจะลากเส้นผ่าน ยิ่งมีจุดสัมผัสหลายจุด ยิ่งเป็นเทรนไลน์ที่เหมาะสม ว่า ราคาที่เทรนไลน์นั้น มี order ที่มีนัยยะต่อพัฒนาการของเทรนเกิดขึ้นจริง

ในเชิงเทคนิคเราจะเรียกจุดเหล่านี้ว่า Pivot point หรือจุดกลับตัวของเทรน แน่นอนว่าจุดเหล่านี้อาจไม่ได้สัมผัสกับเป๊ะๆ แต่ขอให้ราคาใกล้เคียงมากพอก็ถือว่าใช้ได้

อีกแนวคิดหนึ่ง หากเทรนไลน์มีจุดสัมผัสมากเกินไป มันอาจเป็นสัญญาณว่า คุณกำลังตีเส้นเทรนไลน์ในเทรนย่อย การตีเส้นแบบนี้อาจไม่เหมาะเท่าไหร่นัก เว้นแต่ว่าคุณจะมีเทคนิคการเทรดที่ต้องการจับการเปลี่ยนแปลงของเทรนย่อย และหาวิธีรับมือกับสัญญาณหลอกได้ (False Breakout) โดยพื้นฐานการตีเทรนไลน์ คุณควรเริ่มหาเทรนหลักให้ได้ก่อน ซึ่งเทรนหลักควรมีจำนวนที่เหมาะสมและทำให้เห็นภาพรวมของตลาด

เทคนิคการวิเคราะห์เส้นแนวโน้ม

การตีเส้นเทรนไม่มีข้อกำหนดตายตัวและไม่มีถูกและผิด แต่ “หัวใจสำคัญ” คือ การตีเส้นที่สามารถทำให้คุณสามารถสร้างมุมมองและเข้าใจพฤติกรรมของตลาดได้ เพื่อที่คุณจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเครื่องมืออื่นๆ หรือเปิดมุมมองใหม่ๆ ในการวิเคราะห์ราคา

ก่อนที่จะเริ่มการวิเคราะห์ สิ่งที่นักเทรดจะต้องถามตัวเองก่อน คือ “คุณกำลังมองหาการเทรดแบบใดอยู่” คุณต้องทราบก่อนว่าคุณเทรดแบบไหน ระยะสั้น ระยะกลาง หรือ ระยะยาว และจะดีกว่านั้นหากคุณชัดเจนกับตนเองอยู่แล้วว่า เป็น Day Trader, Swing Trader, หรือแม้แต่ Scalper หลังจากนั้น คุณควรพิจารณาบริบทและองค์ประกอบต่างๆ ดังนี้

การเลือก Time Frame

Time Frame (TF) ที่เหมาะสมต้องสัมพันธ์กับลักษณะการเทรดของคุณ เช่น หากคุณเป็น Day Trader เบื้องต้นคุณอาจเริ่มพิจารณา กราฟตั้งแต่ 5 นาที จนถึง 4 ชั่วโมง เพื่อค้นหาแนวโน้มที่กำลังเกิด หรืออาจจะเกิดในวันนี้

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าคุณจะเป็น Day Trader แต่ สินทรัพย์แต่ละประเภท มีความผันผวนต่างกัน รวมถึงเวลาเปิดปิดที่ต่างกัน กรณีการ เทรด Crypto ในบางครั้งคุณอาจเลือก TF ที่ต่ำที่สุดสำหรับเข้าเปิดสถานะที่ 15 นาที แต่หากเป็นหุ้น ที่ผันผวนน้อยกว่าและเวลาเปิดปิดสั้นกว่า คุณอาจใช้ TF ต่ำสุดหลัก 5 นาทีก็ได้เช่นกัน ดังนั้นนักเทรดควรพิจารณาถึงความผันผวนของสินทรัพย์ที่สอดคล้องกันด้วย

พิจารณาขนาดของเส้นแนวโน้ม

ขนาดของเทรนไลน์คือ ระยะเวลาของ Swing ของเทรนราคาใน TF นั้นๆ คุณอาจพิจารณาจาก 2-3 เทรนไลน์ก่อนหน้า ว่าโดยรวมแล้วพฤติกรรมของตลาด มีระยะสั้นหรือยาวประมาณไหน การวิเคราะห์ขนาดของเทรนไลน์จะทำให้คุณพอจะคาดเดาได้ว่า เทรนที่กำลังเกิดขึ้นคุณควรคาดหวังว่ามันควรจะเป็นอย่างไร

ยกตัวอย่างเช่น หาก 2-3 เทรนขาลงล่าสุดก่อนหน้ามีความยาวราว 15 – 20 แท่งเทียน ในขณะที่ มีการปรับตัวของราคาในเทรนย่อย  (correction) ที่ยาวเพียง 4-5 แท่งเทียน

เมื่อราคา Break out จากเทรนไลน์ดังกล่าวและมีความนานมาถึง 6 – 7 แท่งเทียน คุณอาจคาดหวังได้ว่า โมเมนตั้มของตลาดกำลังเปลี่ยน และเทรนขาลงล่าสุดจบลงแล้ว คุณควรเริ่มพิจารณา Demand และ Supply zone หาจุดทำกำไรและจุด cut loss พิจารณา Risk to Reward และเข้าเทรด

องศาหรือความชันของเทรนไลน์

องศาหรือความชัน เป็นตัวแสดงความรุนแรงของโมเมนตั้มของเทรนนั้นๆ ยิ่งมีความชันสูงยิ่งมีโมเมนตั้มที่รุนแรง เทรนที่ดีควรค่อยๆ เร่งตัวขึ้นจนถึงจุด FOMO (Fear Of Missing Out) หรือจุดที่รายย่อยแห่กันซื้อเพราะกลัวตกรถ

เหตุผลเบื้องหลังที่เทรนในช่วงแรกมักออกตัวอย่างช้าๆ เป็นเพราะรายใหญ่ที่ไม่สามารถเคาะซื้อด้วย Volume ที่สูงได้ภายในครั้งเดียว พวกเขาจำเป็นต้องวาง bid และค่อยๆ ดันราคารับขึ้นไปอย่างช้าๆ เมื่อเทรนรุนแรงเกิดไปพวกเขาก็จะเทขายทำกำไรหรือลดความเสี่ยงทันที

เมื่อตีเส้นเทรนด์ไลน์แล้ว ต้องวัดองศาของเส้นเทรนด์ไลน์

สรุปประเด็นสำคัญ

การลากเทรนด์ไลน์ไม่ใช่เรื่องยาก แต่การใช้ประโยชน์จากมันจำเป็นต้องเป็นคนช่างสังเกตและช่างวิเคราะห์ เพราะมันไม่ใช่แค่การหา แนวรับและแนวต้าน หรือบอกว่าปัจจุบันเป็นเทรนขาขึ้น ลง หรือออกข้างเท่านั้น แต่คุณสามารถใช้มันเพื่อวิเคราะห์ความผันผวนของสินทรัพย์ ค้นหาจุดเหมาะสมในการเทรด และวางกลยุทธ์ได้หลากหลายวิธีเมื่อคุณประยุกต์ใช้มัน

หากคุณชำนาญและเริ่มวิเคราะห์เทรนไลน์ได้เก่ง เทรนไลน์จะทำหน้าที่เป็น Indicator ตัวหนึ่งที่แข็งแกร่งแต่เรียบง่าย มันมีทั้งจุดซื้อขาย จุด Stop Loss การวัดโมเมนตั้ม การวัดขนาดและความสัมพันธ์ของเทรน ไว้ในเส้นเพียงเส้นเดียว

แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | กันยายน 2024
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | กันยายน 2024
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | กันยายน 2024

ข้อจำกัดความรับผิด

ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์

IMG_4466-1.png
Nonthachai Sukkankosol
นนทชัย สักการโกศล จบการศึกษาปริญญาโท ด้านการวิจัยผลงานศิลปะร่วมสมัย จาก SOAS University of London แต่ผันตัวมาเป็นผู้แนะนำการลงทุนที่บริษัทหลักทรัพย์ Finansia Syrus Securities PLC. เขาถือใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุนตราสารทุน ตราสารหนี้และกองทุนรวม และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า รวมถึงใบรับรองด้านการวิเคราะห์เชิงเทคนิค CMT ระดับ 2 จาก CMT Association ประเทศสหรัฐอเมริกา เขามีประสบการณ์เกี่ยวกับการลงทุนในผลิตภัณฑ์ต่างๆ และเริ่มลงทุนคริปโตเคอเรนซี่มาตั้งแต่ปี 2016
READ FULL BIO
ได้รับการสนับสนุน
ได้รับการสนับสนุน