Bitcoin btc
$ usd

ทำไม India ถึงเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น “Bharat”

2 mins
อัพเดทโดย Nonthachai Sukkankosol

สรุปย่อ

  • จาก India สู่ Bharat
  • การเปลี่ยนแปลงชื่อประเทศในเวทีสากล

หลังจากมติในสภาในการเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น “Bharat” แทน “India” ในรัฐธรรมนูญ และมีการใช้ชื่อใหม่ในเวทีสากลอย่าง G20 แล้ว หลังจากที่ Turkey ก็เพิ่งเปลี่ยนชื่อไปเป็น Turkiye ก่อนหน้านี้ไม่นาน

การเปลี่ยนแปลงชื่อประเทศถือเป็นการแสดงออกทางสัญลักษณ์และอัตลักษณ์ที่สำคัญในเวทีโลก ซึ่งสะท้อนอุดมการณ์และจุดยืนทางการเมืองของประเทศนั้นๆ การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ของ India มีนัยยะอย่างไร?

จาก India สู่ Bharat

ชื่อใหม่นี้ย่อมาจาก Bharata หรือ “ภารตะ” คนในประเทศโดยทั่วไปก็มีการเรียก อินเดีย ว่า ภารตะ กันอยู่แล้วควบคู่ไปกับคำว่า อินเดีย เหมือนกับเวลาที่คนไทยเรียก “กรุงเทพฯ” แต่มีชื่อภาษาอังกฤษว่า “Bangkok”

ทว่าการเปลี่ยนชื่อครั้งนี้ มีนัยยะทางการเมืองที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ นั่นเป็นเพราะคำว่า “India” เป็นชื่อที่ถูกตั้งและเรียกโดยกลุ่มนักล่าอาณานิคมในช่วงศตวรรษที่ 15 หลังจากชาวอินเดียถูกทำให้เป็นทาสโดยชาวยุโรป และถูกเรียกกันจนถึงยุคหลังสงครามโลกที่อินเดียประกาศเป็นเอกราชจากอังกฤษเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1947

ดังนั้นการเปลี่ยนชื่อเป็น “ภารตะ” ที่อ้างอิงชื่อมาจาก “มหากาพย์มหาภารตะ” ที่เป็นวรรณกรรมที่แสดงถึงอัตลักษณ์เชิงประวัติศาสตร์และรากเหง้าทางวัฒนธรรมท้องถื่นจึงมีนัยยะทั้งทางการเมืองและวัฒนธรรมที่สำคัญ ในการประกาศการปลดแอกทางสัญลักษณ์และอัตลักษณ์จากประวัติศาสตร์การล่าอาณานิคมนั่นเอง

การเปลี่ยนแปลงชื่อประเทศในเวทีสากล

ล่าสุดทางประธานาธิบดีได้ออกจดหมายเชิญสมาชิกกลุ่ม G20 ที่ถูกสร้างเพื่อความร่วมมือทาง เศรษฐกิจ เทคโนโลยี หรือแม้แต่การร่วมออก กฎหมายคริปโตเคอเรนซี่ ในระดับสากล เพื่อร่วมทานมือค้ำในวันที่ 9 กันยายน ที่จะถึงนี้โดยใช้ชื่อว่า “ภารตะ” แทน “อินเดีย” แล้ว แสดงให้เห็นจุดยืนที่ทางประเทศต้องการจะประกาศต่อเวทีโลกได้อย่างชัดเจน

อย่างไรก็ตาม พวกเขาไม่ใช่ประเทศแรกที่มีการขอเปลี่ยนชื่อ ก่อนหน้านี้มีประเทศอื่นๆ ที่ทำการเปลี่ยนชื่อด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น

  • Turkey เป็น Turkiye
  • Burma เป็น Myanmar
  • Czech Republic เป็น Czechia
  • Swaziland เป็น Eswatini
  • Ceylon เป็น Sri Lanka
  • Holland เป็น Netherlands
  • Persia เป็น Iran

การเปลี่ยนแปลงชื่อประเทศเหล่านี้ ล้วนมีแรงผลักดันที่เหมือนๆ กันนั่นคือ การเปลี่ยนจาก “ชื่อที่ถูกตั้งให้” กลายเป็นชื่อเรียกที่สะท้อนอัตลักษณ์และประวัติศาสตร์ของคนในพื้นที่ที่พวกเขาต้องการตั้งเองนั่นเอง

ข้อจำกัดความรับผิด

ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ

IMG_4466-1.png
Nonthachai Sukkankosol
นนทชัย สักการโกศล จบการศึกษาปริญญาโท ด้านการวิจัยผลงานศิลปะร่วมสมัย จาก SOAS University of London แต่ผันตัวมาเป็นผู้แนะนำการลงทุนที่บริษัทหลักทรัพย์ Finansia Syrus Securities PLC....
READ FULL BIO
ได้รับการสนับสนุน
ได้รับการสนับสนุน