Trusted

9 โปรโตคอลบล็อกเชน ที่คุณควรรู้จักในปี 2024

19 mins
อัพเดทโดย Akradet Mornthong

ในบทความนี้ เราจะสำรวจ ‘โปรโตคอลบล็อกเชน’ ชั้นนำของปี 2024 ตั้งแต่เครือข่ายเลเยอร์ 1 พื้นฐาน เช่น Bitcoin และ Ethereum ไปจนถึง โซลูชั่นเลเยอร์ 2 ขั้นสูงที่ช่วยเพิ่มความสามารถในการปรับขนาดและลดค่าธรรมเนียมลงได้เป็นอย่างมาก เราจะไปดูกันว่า บทบาทหน้าที่ของ Smart Contract และ อัลกอริธึมฉันทามติ มีส่วนช่วยให้การทำธุรกรรมมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้อย่างไร นอกจากนี้ เรายังจะมาดูข้อมูลของเหรียญและโทเค็นที่ขับเคลื่อนระบบบล็อกเชนเหล่านี้ด้วยเช่นกัน

แนวทางที่เราใช้เลือกแพลตฟอร์มที่ดีที่สุด

9 โปรโตคอลบล็อกเชน ที่ดีที่สุดในปี 2024

ประเภทของเลเยอร์
เลเยอร์ 1
กลไกฉันทามติ
PoW
ประเภทของ Permission
Permissionless
ความเร็วในการทำธุรกรรม
7 TPS

2. Ethereum

ประเภทของเลเยอร์
เลเยอร์ 1
กลไกฉันทามติ
PoS
ประเภทของ Permission
Permissionless
ความเร็วในการทำธุรกรรม
15-30 TPS
ประเภทของเลเยอร์
เลเยอร์ 1
กลไกฉันทามติ
Ouroboros (PoS ในอีกรูปแบบหนึ่ง)
ประเภทของ Permission
Permissionless
ความเร็วในการทำธุรกรรม
~250 TPS

4. Polkadot

ประเภทของเลเยอร์
เลเยอร์ 0
กลไกฉันทามติ
Nominated Proof-of-Stake (NPoS)
ประเภทของ Permission
Permissionless
ความเร็วในการทำธุรกรรม
1000+ TPS
ประเภทของเลเยอร์
เลเยอร์ 1
กลไกฉันทามติ
Proof-of-History (PoH)
ประเภทของ Permission
Permissionless
ความเร็วในการทำธุรกรรม
~65,000 TPS
ประเภทของเลเยอร์
เลเยอร์ 2
กลไกฉันทามติ
Decentralized Oracle Network
ประเภทของ Permission
Permissionless
ความเร็วในการทำธุรกรรม
ขึ้นอยู่กับ Ethereum
ประเภทของเลเยอร์
เลเยอร์ 2
กลไกฉันทามติ
PoS
ประเภทของ Permission
Permissionless
ความเร็วในการทำธุรกรรม
~7,000 TPS
ประเภทของเลเยอร์
เลเยอร์ 1
กลไกฉันทามติ
Ripple Protocol Consensus Algorithm
ประเภทของ Permission
Permissioned
ความเร็วในการทำธุรกรรม
~1,500 TPS

9. BNB Smart Chain (BSC)

ประเภทของเลเยอร์
เลเยอร์ 1
กลไกฉันทามติ
PoSA
ประเภทของ Permission
Permissionless
ความเร็วในการทำธุรกรรม
~100 TPS

เปรียบเทียบ โปรโตคอลบล็อกเชน ชั้นนำต่างๆ

บล็อกเชนกลไกฉันทามติเหรียญTPSประเภทของเลเยอร์
BitcoinProof-of-Work (PoW)BTC7Layer-1
EthereumProof-of-Stake (PoS)ETH~30Layer-1
CardanoOuroboros (PoS variant)ADA~250Layer-1
PolkadotNominated Proof-of-Stake (NPoS)DOT1000+Layer-0
SolanaProof-of-History (PoH)SOL~65,000Layer-1
ChainlinkDecentralized Oracle NetworkLINKขึ้นอยู่กับ EthereumLayer-2
PolygonProof of-Stake (PoS)MATIC~7,000Layer-2
RippleProof-of-Stake (PoS)XRP~1,500Layer-1
BNB Smart ChainProof of Staked Authority (PoSA)BNB~100Layer-1

โปรโตคอลบล็อกเชน คืออะไร?

โปรโตคอลบล็อกเชน คือ หัวใจสำคัญของสกุลเงินดิจิทัล และเป็นสิ่งที่รับรองว่าธุรกรรมทั้งหมดจะมีความปลอดภัย โปร่งใส และ ไม่เปลี่ยนรูป ซึ่งหมายความว่าธุรกรรมดังกล่าวไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือลบออกได้

เมื่อเราพูดถึงโปรโตคอลคริปโต เรากำลังหมายถึงระบบที่แตกต่างกันซึ่งถูกใช้งานโดยสกุลเงินดิจิทัลต่างๆ เช่น Bitcoin หรือ Ethereum เพื่อช่วยให้เครือข่ายมีความปลอดภัยและทำงานได้อย่างราบรื่น สกุลเงินดิจิทัลแต่ละตัวก็จะมีโปรโตคอลเฉพาะของตัวเอง

Smart Contracts คือ สัญญาที่สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเองด้วยข้อตกลงที่ถูกกำหนดไว้ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายซึ่งจะมีการเขียนเป็นโค้ดโดยตรง Smart Contracts เป็นคุณลักษณะสำคัญของโปรโตคอลบล็อกเชนจำนวนมาก ช่วยให้การทำธุรกรรมและแอปพลิเคชั่นมีความซับซ้อนได้มากยิ่งขึ้น

วิธีที่ง่ายที่สุดในการทำความเข้าใจเรื่องความสำคัญและขนาดของโปรโตคอลคริปโตก็คือ การดูว่ามีการใช้สกุลเงินดิจิทัลของตัวเองมากน้อยเพียงใด ตัวอย่างเช่น สำหรับบล็อกเชน Bitcoin สกุลเงินดิจิทัลที่เรากำลังพูดถึงเรียกอีกอย่างว่า Bitcoin หรือมักจะเรียกสั้นๆ ว่า BTC

ณ วันที่ 29 มีนาคม 2024 Bitcoin ซึ่งเป็นบล็อคเชนและคริปโตตัวแรกๆ ยังคงมีความโดดเด่นมากที่สุด จากข้อมูลของ CoinMarketCap ส่วนแบ่งการตลาดของ Bitcoin อยู่ที่ 51.53% และเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่มีการซื้อขายมากที่สุด โดยมี Ether (ETH) มาเป็นอันดับ 2 ด้วยส่วนแบ่งตลาด 16.38%

อิทธิพลของ BTC
อิทธิพลของ BTC: CoinMarketCap

อธิบายเกี่ยวกับเลเยอร์ของบล็อกเชน

ในระบบนิเวศบล็อกเชน เลเยอร์ที่แตกต่างกันสามารถช่วยแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกันได้ เลเยอร์ 1 หมายถึงสถาปัตยกรรมบล็อกเชนหลัก เช่น เครือข่าย Bitcoin หรือ Ethereum เป็นต้น

เมื่อผู้คนใช้บล็อกเชนมากขึ้น บล็อกเชนอาจจะเกิดความแออัดขึ้นได้ ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาต่างๆ เช่น เวลาในการทำธุรกรรมที่ช้าลง และ ค่าแก๊ส — ต้นทุนในการทำธุรกรรมหรือดำเนินการตามสัญญาบนเครือข่าย Ethereum ให้เสร็จสิ้น — ที่สูงขึ้น

โซลูชั่นเลเยอร์ 2 สามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ โดยการทำงานบนบล็อกเชนเลเยอร์ 1 เพื่อปรับปรุงความสามารถในการปรับขนาด — ความสามารถของเครือข่ายในการจัดการธุรกรรมจำนวนมากขึ้นได้อย่างรวดเร็วและประหยัด — โซลูชั่นเลเยอร์ 2 จะประมวลผลธุรกรรมแยกกัน จากนั้น จึงจะบันทึกธุรกรรมเหล่านั้นบนบล็อกเชนหลัก ซึ่งจะช่วยลดภาระและค่าธรรมเนียมลงได้

เชนเลเยอร์ 0 จะเป็นการผสมผสานเทคโนโลยีและโปรโตคอลที่เป็นรากฐานของระบบนิเวศบล็อกเชน เลเยอร์นี้จะประกอบไปด้วย โปรโตคอลเครือข่าย อุปกรณ์ทางกายภาพ และ องค์ประกอบอื่นๆ อีกมากมาย

สนใจในเรื่องเลเยอร์ใช่หรือเปล่า ลองเข้าไปดูบทความของเราได้ที่ Layer 1 คืออะไร มันต่างกับ Layer 2 ยังไง [2024] และ Layer 2 คืออะไร สำคัญยังไงกับบล็อกเชน ได้เลย!

กลไกฉันทามติ

ธุรกรรมต่างๆ จะได้รับการตรวจสอบบนบล็อกเชนด้วยอัลกอริธึมฉันทามติ ประเภทที่พบบ่อยที่สุดคือ Proof-of-Work (PoW) และ Proof-of-Stake (PoS)

Proof-of-Work ซึ่งถูกใช้โดยเครือข่าย Bitcoin จะเกี่ยวข้องกับการขุดสกุลเงินดิจิทัล ในระหว่างกระบวนการขุด นักขุดจะต้องแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนเพื่อทำการตรวจสอบธุรกรรม อย่างไรก็ตาม กระบวนการนี้ใช้พลังงานเป็นอย่างมาก ในทางกลับกัน Proof-of-Stake (PoS) เป็นวิธีการประหยัดพลังงานมากกว่า ใน PoS เครื่องมือตรวจสอบความถูกต้อง (Validators) จะถูกเลือกตามจำนวนสกุลเงินดิจิทัลที่พวกเขามี และพร้อมที่จะ Stake หรือล็อกเอาไว้เพื่อที่จะช่วยในการรักษาความปลอดภัยให้กับเครือข่าย

ความสัมพันธ์ระหว่าง “บล็อกเชน” และ “สกุลเงินดิจิทัล”

‘สกุลเงินดิจิทัล’ จะทำหน้าที่เป็น ‘เหรียญหรือโทเค็นดิจิทัล’ ที่ทำงานภายในเครือข่ายบล็อกเชนเป็นหลัก ในระบบบล็อกเชน เช่น เครือข่าย Bitcoin สกุลเงินดิจิทัลจะมีความสำคัญในการใช้เพื่อเป็นรางวัลให้กับผู้เข้าร่วมที่ช่วยดูแลเครือข่าย หรือที่เรียกกันว่า ‘นักขุด’ นักขุดเหล่านี้ใช้พลังการคำนวณเพื่อตรวจสอบธุรกรรมและเพิ่มบล็อกใหม่ให้กับบล็อกเชน และเพื่อตอบแทนความพยายามของพวกเขา พวกเขาก็ได้รับรางวัลเป็นสกุลเงินดิจิทัล

ในทำนองเดียวกัน ในบล็อกเชนที่ใช้กลไกฉันทามติ Proof-of-Stake (PoS) ผู้เข้าร่วมจะถูกเรียกว่า Stakers จะล็อก (Stake) สกุลเงินดิจิทัลบางส่วนไว้ในเครือข่าย จากนั้น พวกเขาจะถูกเลือกเพื่อตรวจสอบธุรกรรมและสร้างบล็อกใหม่โดยอิงจากจำนวนคริปโตที่พวกเขาถือไว้และยินดีจะล็อกเอาไว้ วิธีนี้จะช่วยดูแลรักษาความปลอดภัยเครือข่าย ประมวลผลธุรกรรม และให้รางวัลแก่ผู้เข้าร่วมที่ช่วยรักษาความสมบูรณ์ของบล็อกเชน

โปรโตคอลคริปโต: ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นอย่างเท่าเทียมกัน

โปรโตคอลบล็อกเชนเปรียบเสมือนกฎเกณฑ์สำหรับวิธีการจัดการข้อมูลบนเครือข่ายบล็อกเชน แต่ละโปรโตคอลก็จะมีวิธีการและอัลกอริธึมพิเศษที่แตกต่างกันออกไป เพื่อรักษาข้อมูลให้ปลอดภัย โปร่งใส และอัพเดตอยู่เสมอ อย่างไรก็ตาม โปรโตคอลเหล่านี้ก็มีบางอย่างที่เหมือนกันอยู่ ก็คือ การใช้งานสกุลเงินดิจิทัลหลักของเครือข่าย — เหรียญหรือโทเค็น — เป็นสิ่งที่ขับเคลื่อนระบบนิเวศ

หากคุณกำลังวางแผนที่จะลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลหลักของโปรโตคอลบล็อกเชนชั้นนำ โปรดจำไว้ว่าสินทรัพย์ที่มีการกระจายอำนาจเหล่านี้อาจจะมีความผันผวนได้ คุณควรเลือกแพลตฟอร์มที่ปลอดภัยเพื่อทำธุรกรรมและกระเป๋าเงินดิจิทัลที่มีชื่อเสียงเพื่อจัดเก็บทรัพย์สินของคุณเสมอ และอย่าลงทุนมากไปกว่าที่คุณยินดีจะสูญเสียไปได้

คำถามที่พบบ่อย

โปรโตคอลใดที่ดีที่สุดในโลกคริปโต?

โปรโตคอลคริปโตคืออะไร?

โปรโตคอลคริปโตเลเยอร์ 3 คืออะไร?

เครือข่ายบล็อกเชน 4 ประเภทคืออะไร?

โปรโตคอลบล็อกเชนที่ดีที่สุดคือโปรโตคอลใด?

🎄แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | ธันวาคม 2024
🎄แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | ธันวาคม 2024
🎄แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | ธันวาคม 2024

ข้อจำกัดความรับผิด

ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์

Akhradet-Mornthong-Morn.jpg
Akradet Mornthong
อัครเดช หมอนทอง เป็น นักแปล/นักเขียนคอนเทนต์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน NFT Games, Metaverse, AI, Crypto และเทคโนโลยีใหม่ๆ เขาจบการศึกษาในสาขาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล และมีประสบการณ์ในการทำงานในวงการเกมมากกว่า 10 ปี เมื่อ NFT Games ได้กลายเป็นกระแสขึ้นมาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เขาก็ไม่พลาดที่จะก้าวเข้ามาในวงการนี้เพื่อศึกษาข้อมูลในเชิงลึกต่างๆ ของวงการ NFT รวมไปถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Blockchain และ Crypto อีกด้วย
READ FULL BIO
ได้รับการสนับสนุน
ได้รับการสนับสนุน