Trusted

วิธีการให้ทุนสนับสนุนนวัตกรรม: คำแนะนำเกี่ยวกับ “เงินทุนสนับสนุน Web3”

11 mins
อัพเดทโดย Apinat Phosuwan

วิธีการให้ทุนสนับสนุนผลิตภัณฑ์สาธารณะกำลังเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก เทคโนโลยีบล็อกเชนและระบบนิเวศแบบกระจายอำนาจคือสิ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โครงการให้เงินทุนสนับสนุน (Grant Programs) ในพื้นที่ Web3 กำลังเติมเต็มช่องว่างที่รัฐบาลและกองทุนร่วมลงทุนไม่ได้ให้ความสำคัญ ถ้าอย่างนั้น แล้วมีโครงสร้างการให้ทุนแบบสากลที่เหมาะสมกับความต้องการด้านเงินทุนทั้งหมดหรือไม่? ผู้จัดการโครงการจะต้องเผชิญกับความยากลำบากอย่างไรบ้างเมื่อทำการขอทุน? นี่คือสิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ “เงินทุนสนับสนุน Web3” และการให้ทุนเพื่อสนับสนุนวงจรแห่งนวัตกรรม

“เงินทุนสนับสนุน Web3” คืออะไร?

“เงินทุนสนับสนุน Web3” (Web3 Grants) คือ Non-Dilutive Funding ซึ่งหมายความว่า โปรเจกต์ที่ทำการระดมทุนแบบ Non-Dilutive Funding นี้จะช่วยให้สามารถระดมทุนได้โดยไม่จำเป็นจะต้องสูญเสียสิทธิ์ความเป็นเจ้าของใดๆ ของโปรเจกต์ สิ่งนี้จะกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมและการเติบโตของระบบนิเวศดังกล่าวในท้ายที่สุด ด้วยการใช้เครื่องมือระดมทุนที่หลากหลายซึ่งริเริ่มโดยคอมมูนิตี้คริปโต ผู้นำระบบนิเวศและผู้จัดการโครงการทุนสนับสนุน (PM) จะสามารถเพิ่มความพยายามในการเติบโตได้เป็นอย่างมาก

Quadratic Funding (QF) คือสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงโอกาสมากมาย มันจะทำงานโดยการรวมเงินบริจาคเล็กๆ น้อยๆ จากผู้คนจำนวนมาก และจับคู่มันเข้ากับเงินทุนจำนวนมากจากกองทุนกลาง เพื่อจัดสรรให้กับโปรเจกต์สาธารณะที่ต้องการเงินทุนตามปริมาณและจำนวนของผู้บริจาค แต่อย่างไรก็ตาม ผู้จัดการโปรเจกต์ (PM) ยังคงมีตัวเลือกอื่นๆ อยู่เช่นกัน โดยจะขึ้นอยู่กับความต้องการที่เฉพาะเจาะจงของโปรเจกต์ ผู้จัดการโปรเจกต์สามารถใช้ประโยชน์จาก “เงินทุนสนับสนุน” เพื่อให้ทุนกับโปรเจกต์ใหม่ๆ ภายในระบบนิเวศของพวกเขา, ทำการเชิญชวนยื่นข้อเสนอ (Request For Proposal หรือ RFP) สำหรับการแก้ปัญหาเฉพาะจุด, ให้เงินทุนช่วยเหลือย้อนหลังสำหรับโปรเจกต์ที่ได้พัฒนาไปแล้ว หรือ ใช้เป็นเงินทุนในการวิจัยสำหรับนวัตกรรมใหม่ๆ เป็นต้น

มีโครงสร้างของเงินทุนสนับสนุนที่เป็นแบบสากลอยู่หรือไม่?

โครงการให้เงินทุนสนับสนุน (Grant Programs) นั้นไม่ได้เหมาะสำหรับทุกคน แนวทางการให้เงินทุนที่ต่างกันก็จะตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันออกไป ทำให้ผู้จัดการโปรเจกต์มีเครื่องมือที่หลากหลายในการพัฒนาโปรเจกต์ของตน ความยืดหยุ่นในโครงสร้างคือสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดในพื้นที่ Web3 เนื่องจากคอมมูนิตี้คริปโตมีชื่อเสียงในเรื่องการทดลองสิ่งใหม่ๆ และกระจายอำนาจ

คอมมูนิตี้เหล่านี้พยายามที่จะมองหาแนวคิด และการกำกับดูแลในรูปแบบใหม่ๆ อยู่เสมอ สิ่งนี้ได้สร้างวัฒนธรรมที่จะนำไปสู่นวัตกรรมใหม่ๆ ที่น่าอัศจรรย์ และซอฟต์แวร์แบบโอเพ่นซอร์สคือสิ่งที่มีบทบาทสำคัญ ซึ่งทำหน้าที่เป็นทรัพยากรสาธารณะในยุคดิจิทัล ข้อได้เปรียบของความโปร่งใสที่ได้รับจากเทคโนโลยีบล็อกเชน และสภาพแวดล้อมที่รวดเร็วและมีต้นทุนที่ต่ำ คือสิ่งที่ทำให้การทดลองการให้เงินทุนสนับสนุน Web3 เป็นเรื่องง่าย

การที่ไม่มีระบบการให้เงินทุนสนับสนุนแบบสากล ทำให้เกิดความท้าทายสำหรับโปรเจกต์ต่างๆ โดยเฉพาะกับคอมมูนิตี้ Web3 ที่มุ่งหวังที่จะแจกจ่ายทรัพยากรที่ใช้ร่วมกันอย่างเป็นประชาธิปไตยและโปร่งใส Elinor Ostrom นักเศรษฐศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบล ใช้เวลาในการศึกษาว่าคอมมูนิตี้ต่างๆ จัดการกับทรัพยากรทั่วไปอย่างไร งานวิจัยของเธอควรที่จะได้รับความสนใจเป็นพิเศษจากเหล่าผู้จัดการโปรเจกต์ Web3 เนื่องจากงานวิจัยดังกล่าวนำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณค่าสำหรับการสร้างโมเดลการระดมทุนแบบกระจายอำนาจ

หลักการของ Ostrom สามารถสรุปออกมาได้เป็นเรื่องการจัดลำดับความสำคัญของความรู้ในท้องถิ่น, ความร่วมมือ, และการกำกับดูแลตนเองเพื่อจัดการทรัพยากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ด้วยการใช้หลักการเหล่านี้ ผู้จัดการโปรเจกต์สามารถส่งเสริมแนวทางที่ยั่งยืนและขับเคลื่อนโดยคอมมูนิตี้มากยิ่งขึ้นในการระดมทุนเพื่อสินค้าสาธารณะได้

ความท้าทายที่ไม่เหมือนใครสำหรับผู้จัดการโปรเจกต์ Web3

ความท้าทายของผู้จัดการโปรเจกต์ในอุตสาหกรรมสกุลเงินดิจิทัลก็คือ พวกเขาจะต้องเข้ามาสำรวจในดินแดนที่ไม่เป็นที่รู้จัก สิ่งที่พวกเขาต้องทำไม่ใช่แค่เพียงการสร้างผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่ยังเป็นการพัฒนาระบบนิเวศด้วย ในหลาย ๆ สถานการณ์ พวกเขาจะต้องร่วมมือกับผู้ถือโทเค็นที่กระจายอยู่ทั่วโลกเพื่อทำการตัดสินใจร่วมกัน นี่เป็นบทบาทที่ท้าทายแต่น่าตื่นเต้น ซึ่งต้องอาศัยความเข้าใจอย่างลึกซึ้งทั้งในด้านเทคโนโลยีและพฤติกรรมของมนุษย์

โดยทั่วไปแล้ว ผู้จัดการโปรเจกต์มีหน้าที่ที่จะต้องรับผิดชอบในการตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย, ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาด, การจัดสรรทรัพยากร, รับประกันประสบการณ์การใช้งานที่ดี, และติดตามประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ ผู้จัดการโปรเจกต์ Web3 ยังต้องมีส่วนร่วมกับคอมมูนิตี้, วางแผนความเข้ากันได้ระหว่างระบบต่างๆ, การรับรองว่าจะสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบได้ รวมไปถึง การจัดการข้อกังวลด้านความเป็นส่วนตัว เป็นต้น

แม้ว่าจะไม่มีวิธีแก้ปัญหาที่สมบูรณ์แบบสำหรับการคาดการณ์ความเคลื่อนไหวของตลาด แต่การมีส่วนร่วมของผู้คนในชุมชนของคุณก็จะสามารถช่วยในการจัดการกับความวุ่นวายต่างๆ ได้ การจัดการกับความท้าทายเหล่านี้และขอความคิดเห็นในเรื่องที่ต้องปรับปรุงอย่างเปิดเผยจากคอมมูนิตี้จะช่วยให้คุณจัดลำดับความสำคัญให้กับฟีเจอร์ที่ต้องการได้ กลยุทธ์นี้พิสูจน์แล้วว่าสามารถใช้งานได้กับ Gitcoin ซึ่งเป็นสิ่งที่นำไปสู่การพัฒนา Grants Stack

ปัญหาที่ซับซ้อนอย่างหนึ่งที่ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ Web3 ที่ต้องการขอระดมทุนแบบ Quadratic funding หรือ ต้องการคะแนนเสียงสำหรับข้อเสนอใดๆ ที่สำคัญก็คือ การโจมตีแบบซีบิล (Sybil Attacks) และ การฟาร์มแอร์ดรอป (Airdrop Farming) ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง การโจมตีแบบซีบิล คือ การที่คอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องควบคุมตัวตนปลอมหลายๆ ตัวตนบนเครือข่ายเพื่อควบคุมผลลัพธ์ให้เป็นไปตามที่ต้องการ ผลเสียของการโจมตีแบบซีบิลคือ การเพิ่มขึ้นของกระเป๋าเงินที่ไม่ได้มีการใช้งานจากผู้ใช้งานจริงบนเครือข่าย

การฟาร์มแอร์ดรอปก็ค่อนข้างที่จะมีความคล้ายคลึงกัน มันคือการที่ผู้คนใช้ Wallet Address หลายๆ รายการโกงระบบเพื่อรับโทเค็นหรือรางวัลมากยิ่งขึ้น สิ่งนี้สร้างความเสียหายอย่างมากต่อคอมมูนิตี้ Web3 และเกิดขึ้นใน Gitcoin Citizens Round รอบแรก การฟาร์มแอร์ดรอปทำให้สมาชิกในคอมมูนิตี้ที่อุทิศตนรู้สึกย่ำแย่และอาจจะส่งผลเสียต่อชื่อเสียงของพวกเขาในระยะยาว

การปรับสมดุลในเรื่องความตั้งใจและจุดยืน

บทเรียนสำคัญประการหนึ่งคือความจำเป็นของการปรับเปลี่ยนความตั้งใจของโครงการให้เงินทุนสนับสนุนให้สอดคล้องกับจุดยืนของโปรเจกต์ ในช่วงที่สกุลเงินดิจิทัลเติบโตอย่างรวดเร็ว องค์กรหลายแห่งรีบเร่งเปิดตัวโครงการให้เงินทุนสนับสนุน ซึ่งทำให้มันมักจะไม่มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน การกำหนดผลลัพธ์ที่ต้องการให้ชัดเจนและตั้งชื่อโปรแกรมให้เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง

โครงการควรปรับแนวทางให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงของพวกเขาเอง ไม่ว่าจะเป็นชุมชนหรือองค์กรก็ตาม แนวคิดและโปรเจกต์โอเพ่นซอร์สต่างๆ ควรที่จะต้องมีวิธีการระดมทุนที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการจัดหาเงินทุนเพื่อสนับสนุนระบบนิเวศ, เพื่อการเติบโต หรือวัตถุประสงค์อื่นๆ การมีภารกิจที่ชัดเจนจะทำให้การตัดสินใจ, การวัดผล, และการเลือกใช้กลยุทธ์ทางการตลาดง่ายยิ่งขึ้น

หลายๆ คนอาจจะไม่ทราบถึงช่องทางการระดมทุนต่างๆ ที่มีอยู่ และวิธีจับคู่มันเข้ากับขั้นตอนการพัฒนาที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นช่วงเริ่มแรก, ช่วงระหว่างที่กำลังเติบโต, หรือในระยะที่เติบโตเต็มที่แล้ว วิธีการระดมทุนจะขึ้นอยู่กับความสำคัญของการกระจายอำนาจต่อองค์กรหรือคอมมูนิตี้ ดังนั้น การค้นหาสมดุลที่เหมาะสมจึงเรื่องสิ่งสำคัญเช่นกัน

การวางแผนและการจัดระบบการรายงานผลกระทบที่เกิดขึ้น

การวัดผลต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโครงการเงินทุนสนับสนุน Web3 เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในการประเมินว่าโครงการเหล่านั้นมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด เราจำเป็นที่จะต้องวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเพื่อให้เข้าใจถึงผลกระทบโดยสมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงเริ่มแรกของโปรเจกต์

ตัวอย่างเช่น ผู้สร้างที่ทำงานเพื่อสิ่งที่ดีกว่าและมีส่วนร่วมในเครือข่ายบล็อกเชนที่มีจริยธรรมอาจจะต้องพิจารณาในการใช้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals หรือ SDGs) ของสหประชาชาติเป็นหลักการชี้นำ สิ่งนี้สามารถช่วยเน้นย้ำถึงขอบเขตความรับผิดชอบต่อสังคมของโครงการริเริ่มการให้ทุนสนับสนุนของ Web3 ได้ การใช้การวัดผลเพียงอย่างเดียวนั้นอาจจะทำให้วิสัยทัศน์ของโปรเจกต์แคบลงได้ ดังนั้น มันจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างสมดุลระหว่างภารกิจของโปรเจกต์และภารกิจโดยองค์รวมที่กว้างขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่าโปรเจกต์มีมุมมองที่ครอบคลุม

รายงานผลกระทบที่มีประสิทธิภาพนั้นมีมากกว่าแค่เพียงตัวเลข ผู้ส่งสารที่น่าเชื่อถือ, รูปภาพที่ปรับให้เหมาะกับผู้ชมของคุณ, และเรื่องราวที่มีความเกี่ยวข้องจะช่วยให้ความรู้แก่คอมมูนิตี้ของคุณ ทุกคนจะได้เพลิดเพลินไปกับการรับทราบข้อมูล ในขณะเดียวกันก็จะแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าของโปรเจกต์ให้ผู้อื่นได้เห็น และนั่นคือรายงานผลกระทบที่ประสบความสำเร็จ

สถานะของเงินทุนสนับสนุน Web3

จากข้อมูลของรายงาน State of Web3 Grants ณ เดือนสิงหาคม 2023 โครงการให้เงินทุนสนับสนุนต่างๆ มากมาย เช่น Algorand, Ethereum, NEAR, Solana และ Gitcoin มียอดบริจาครวมกันมากกว่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐผ่านกองทุนสนับสนุน 5,900 รายการ ในยุคที่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ ความสามารถในการปรับตัวและการมีระบบโครงสร้างที่ชัดเจน ถือเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในการรับมือกับความท้าทายระดับโลกอย่างมีประสิทธิภาพ แทนที่จะให้ความสำคัญเฉพาะโปรเจกต์ที่มีความทะเยอทะยาน โครงการให้เงินทุนสนับสนุนควรที่จะให้การสนับสนุนนอกเหนือจากการออกเงินทุนด้วยเช่นกัน ซึ่งรวมไปถึง การเชื่อมโยงผู้รับทุนเข้ากับทรัพยากร, คอมมูนิตี้, และผู้รับทุนรายอื่นๆ เป็นต้น

ระบบการสนับสนุนอาจจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับเป้าหมายของโครงการและความต้องการของผู้รับทุน การสำรวจและการปรับตัวของการระดมทุนเพื่อผลิตภัณฑ์สาธารณะจะยังต้องใช้ประโยชน์จากพลังของบล็อกเชน และคอมมูนิตี้ที่มีการกระจายอำนาจเพื่อแก้ไขปัญหาความท้าทายระดับโลกด้วยความยืดหยุ่นและแนวทางใหม่ๆ

คำถามที่พบบ่อย

กลไกการระดมทุนที่สำคัญสำหรับการดำเนินการรอบระดมทุนมีอะไรบ้าง?

เราจะตัดสินใจได้อย่างไรว่าจะใช้กลไกการระดมทุนใดสำหรับรอบระดมทุนของเรา?

เราจะมั่นใจถึงความโปร่งใสและความรับผิดชอบในรอบระดมทุนของเราได้อย่างไร?

ฉันจะประเมินผลกระทบของเงินทุนสนับสนุนที่ได้รับในแต่ละรอบได้อย่างไร?

แนวทางที่ดีที่สุดสำหรับการดำเนินการรอบระดมทุนที่ประสบความสำเร็จคืออะไร?

แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | พฤศจิกายน 2024
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | พฤศจิกายน 2024
แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | พฤศจิกายน 2024

ข้อจำกัดความรับผิด

ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์

Akhradet-Mornthong-Morn.jpg
Akradet Mornthong
อัครเดช หมอนทอง เป็น นักแปล/นักเขียนคอนเทนต์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน NFT Games, Metaverse, AI, Crypto และเทคโนโลยีใหม่ๆ เขาจบการศึกษาในสาขาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล และมีประสบการณ์ในการทำงานในวงการเกมมากกว่า 10 ปี เมื่อ NFT Games ได้กลายเป็นกระแสขึ้นมาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เขาก็ไม่พลาดที่จะก้าวเข้ามาในวงการนี้เพื่อศึกษาข้อมูลในเชิงลึกต่างๆ ของวงการ NFT รวมไปถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Blockchain และ Crypto อีกด้วย
READ FULL BIO
ได้รับการสนับสนุน
ได้รับการสนับสนุน