การใช้งาน Stop Loss กับ Stop Limit อย่างชำนาญจะทำให้คุณสามารถควบคุมความเสี่ยงได้ยืดหยุ่นมากขึ้นตามสถานการณ์ ซึ่งใช้ได้กับทั้งการเทรด Crypto, Forex, และ สินทรัพย์ทางการเงินแทบจะทุกรูปแบบ
ในการลงทุนและการเทรด การตั้ง Stop-Loss (SL) เป็นหนึ่งในเครื่องมือการควบคุมความเสี่ยงที่สำคัญที่สุด บทความนี้จะพาคุณมาเรียนรู้ความแตกต่าง ข้อดีข้อเสีย ของการตั้งจุดตัดขาดทุน 2 ประเภทระหว่าง Stop-Loss กับ Stop-Limit
Stop Loss Order คืออะไร
Stop Loss Order (SL) เป็นการตั้งคัตลอสเพื่อจำกัดการขาดทุนในแต่ละเทรดด้วย “Market” ออเดอร์ประเภทนี้จะต้องตั้งเอาไว้ล่วงหน้าที่ราคาที่คุณวางแผนไว้ว่า หากราคาของสินทรัพย์ร่วงลงต่ำกว่าราคาดังกล่าวจะทำการเทขายหรือปิดสถานะที่ถืออยู่ในทันที
วิธีตั้ง Stop-Loss มีหลากหลายเทคนิคตามการวิเคราะห์เชิงเทคนิคหรือตามกลยุทธ์ต่างๆ เช่น Elliot Wave, Moving Average, เส้น Trend Line, แนวรับแนวต้าน และอื่นๆ อีกมากมาย นับว่ามันเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดที่จะปกป้องเงินทุนของคุณ เพราะคุณสามารถวางแผนและจำกัดความเสียหายได้ก่อนที่จะเข้าซื้อสินทรัพย์ หากการเทรดผิดแผนระบบจะทำการเทขายปิดสถานะทันทีที่ราคาที่ดีที่สุด
โดยเฉพาะกับตลาดที่มีความผันผวนสูงอย่างตลาดสกุลเงินดิจิทัลเป็น ความผันผวน (Volatility) จะกลายเป็นปัจจัยที่เทรดเดอร์ต้องพิจารณาเป็นพิเศษในการตั้งจุด SL นอกจากนี้การตั้ง SL ยังสามารถใช้เพื่อปกป้องกำไรของเราได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น หากคุณเป็นนักเทรด Trend Following ที่เปิดสถานะ Long สามารถเลื่อน SL ขึ้นมาจากจุดเดิมเพื่อปกป้องกำไรที่มีอยู่ได้เช่นกัน
ข้อดีของ Stop Loss Order
- จำกัดการขาดทุน : การกำหนดราคาเพื่อตัดขาดทุนไว้ล่วงหน้าจะทำให้นักลงทุนรอดพ้นจากการสูญเสียเงินทุนจำนวนมากได้ในขณะที่นักเทรดไม่ได้อยู่เฝ้าจอ ในตลาดที่ผันผวนสูงอย่าง Cryptocurrency การเคลื่อนไหวเพียงไม่กี่นาทีอาจทำให้คุณต้องล้างพอร์ทได้ (Liquidated)
- ระบบอัตโนมัติ : การตั้ง Stop-loss order เป็นการตั้งระบบอัตโนมัติทำให้คุณสามารถนอนหลับได้เต็มอิ่ม เพราะคุณไม่จำเป็นต้องนั่งเฝ้าหน้าจอตลอดเวลา โดยเฉพาะตลาดที่ซื้อขาย 24 ชั่วโมง 7 วันอย่างคริปโต ทำให้คุณลดความเครียดและได้ใช้เวลากับการทำอย่างอื่นมากขึ้น
- การควบคุมอารมณ์ : การเทรดมักมาพร้อมกับอารมณ์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ ทั้งความกลัวและความโลภ การตั้งจุด SL ไว้ล่วงหน้าอาจป้องกันคุณจากอาการ Panic Selling หรือความมั่นใจที่มากเกินไปจนไม่ยอมขายทำกำไร
- การควบคุมความเสี่ยง : ดังที่กล่าวมาการตั้ง Stop-Loss Order คือเครื่องมือสำคัญในการควบคุมความเสี่ยง เพราะคุณสามารถจำกัดและคำนวณความเสี่ยงไว้ล่วงหน้าได้ มักมีคำกล่าวที่ว่า “ผู้ที่อยู่รอดในตลาดได้คือผู้ที่ควบคุมความเสี่ยงได้ดี”
- ความยืดหยุ่น : การตั้ง SL สามารถตั้งที่ราคาใดก็ได้และเปลี่ยนเมื่อไหร่ก็ได้ ทำให้นักลงทุนสามารถปรับเปลี่ยนแผนได้ตลาดเวลาตามสภาพตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป
- ไม่มีค่าใช้จ่าย : การตั้ง SL โดยทั่วไปแล้วไม่มีค่าใช้จ่ายหรือค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็น กระดานซื้อขายคริปโต กระดาน Forex หรือ โบรกเกอร์หุ้นทั่วไป
ข้อเสียของ Stop Loss Order
- ความผันผวนในตลาด : ในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนสูง คำสั่ง Stop-Loss อาจทำงานโดยไม่จำเป็นเนื่องจากความผันผวนของราคาชั่วคราว ซึ่งนำไปสู่การปิดสถานะขาดทุนโดยไม่จำเป็น
- ราคาขายที่ไม่แน่นอน : คำสั่งหยุดการขาดทุนไม่ได้รับประกันว่าคุณจะขายในราคาที่แน่นอนที่คุณตั้งไว้ หากตลาดมีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว และมีสภาพคล่องต่ำ ราคาที่คุณปิดสถานะและเทขายอาจต่ำกว่าราคาที่คุณกำหนดไว้ในแผนได้
- ความเสี่ยงเรื่อง Gap: หากคุณเทรดในกระดานหรือสินทรัพย์ที่มีการปิดตลาดข้ามคืน หากตลาดเปิด Gap ต่ำกว่าราคาที่คุณตั้งไว้ ระบบจะทำการเทขายที่ราคาเปิดดังกล่าวทำให้เกิดความเสียหายจำนวนมากได้
- ผลกระทบทางจิตวิทยา: การใช้คำสั่งหยุดการขาดทุนบางครั้งอาจนำไปสู่การตัดสินใจที่แย่ เช่น การตั้งราคา SL ใกล้กับราคาซื้อมากเกินไป ทำให้สถาะถูกปิดก่อนเวลาอันควร นักลงทุนจึงต้องศึกษาและวางแผนกลยุทธ์ไว้ให้ดีก่อน
- อาจพลาดกำไรในอนาคต: หากราคาฟื้นตัวหลังจากแตะราคาหยุดขาดทุน นักลงทุนอาจพลาดกำไรในอนาคต
- Stop-Loss Hunt: ในตลาดที่มีสภาพคล่องน้อย อาจมีนักลงทุนรายใหญ่มองเห็นระดับราคาที่นักลงทุนรายย่อยน่าจะตั้งจุด SL ไว้ทำให้มีการล่าจุด SL ขึ้นเพื่อควบคุมราคาตลาดที่เรียกว่า Stop Loss Hunt ที่ทำให้เกิดการปิดสถานะของนักลงทุนรายย่อยจำนวนมากพร้อมๆ กัน
- ซับซ้อนสำหรับมือใหม่: สำหรับนักลงทุนรายใหม่ การทำความเข้าใจและการใช้คำสั่งหยุดขาดทุนอย่างมีประสิทธิภาพอาจซับซ้อนกว่าที่คิด และอาจนำไปสู่ข้อผิดพลาดได้โดยเฉพาะการตั้ง SL ที่ไกลหรือใกล้มากเกินไป
การรับมือกับความผันผวน (Volatility)
การตั้ง Stop-loss เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการรับมือกับตลาดที่มี ความผันผวน มากที่สุดอย่าง Cryptocurrency ที่มีข่าวเกิดขึ้นตลอดเวลาและทำให้ตลาดเคลื่อนไหวอย่างรุนแรง
“ผมมองว่าเราไม่ควรให้น้ำหนักกับข่าวลือในการเทรด เพราะมันคือช่วงโหว่ในการควบคุมตลาดและปั่นราคาสินทรัพย์ให้เกิดความผันผวนขึ้น”
Vitalik Buterin : Twitter
Stop Limit Order คืออะไร
Stop Limit Order เป้นการตั้ง SL อีกประเภทหนึ่งที่นักเทรดสามารถตั้งจุดปิดสถานะที่ยืดหยุ่นมากขึ้น เมื่อราคาแตะจุดที่กำหนดไว้ระบบจะส่ง “Limit Order” ที่ราคานั้นทันทีและจะไม่มีการปิดสถานะที่ราคาอื่นแบบการทำ “Market Order” ในกรณีที่สภาพคล่องต่ำ
เมื่อราคาของสินทรัพย์แตะราคา Stop ที่ตั้งไว้ คำสั่ง Limit order จะถูกตั้งทันที แต่สถานะจะปิดได้ก็ต่อเมื่อราคาวิ่งไปถึงจุดราคาของ Limit order ที่ตั้งเอาไว้เท่านั้น ดั้งนั่นมันจึงเป็นไปได้เช่นกันว่าราคาอาจไม่แตะโดนออเดอร์ที่คุณตั้งไว้
ยกตัวอย่างจากในกราฟราคาด้านบนนี้ หากคุณถือสถานะ Long ไว้ก่อนวันที่ 5 มิถุนายน และราคา Bitcoin ร่วงต่ำลงและคุณตั้ง Stop-limit ไว้ที่ 26,000 ดอลลาร์ เพื่อให้เทขายหรือปิดสถานะหากราคาร่วงต่อถึง 25,200 ดอลลาร์ ทว่าหากราคาลงไปถึง 26,000 ดอลลาร์ แล้วราคากลับฟื้นตัว Stop-Limit Order ของคุณก็จะไม่ได้ทำงาน หรืออีกกรณีหนึ่งคือ ราคาถึง 25,200 ดอลลาร์ แต่มีออเดอร์ Bid ไว้น้อยเกินไป สถานะของคุณก็อาจจะปิดไปแค่ส่วนเดียว ส่วนที่เหลือจะถูกตั้งเป็น Sell Limit Order ค้างรอไว้จนกว่าจะขายได้ครบ
ข้อดีของ Stop Limit Order
- ราคาปิดที่แน่นอน : Stop Limit Order ทำให้นักเทรดสามารถกำหนดราคาที่คุณต้องการจะซื้อหรือขายได้ชัดเจนว่าต้องการปิดสถานะที่ “ราคานี้เท่านั้น” ไม่ใช่การเทขายจนกว่าสถานะจะปิดเหมือนกรณี Stop Loss order ปกติ
- ควบคุมความเสียหายได้อย่างแม่นยำ : นักลงทุนสามารถควบคุมความเสี่ยงได้อย่างแม่นยำตามราคาที่กำหนดไว้ รวมถึงการปกป้องกำไรด้วยเช่นกัน
- ป้องกันความผันผวน : ออเดอร์ประเภทนี้ปกป้องการเทขายในราคาที่ไม่พึ่งประสงค์ในช่วงตลาดไหลแรงๆ และมีสภาพคล่องต่ำทำให้การเทแบบ Market Order อาจปิดในราคาที่แย่กว่าที่กำหนดไว้ (Slippage)
ข้อเสียของ Stop Limit Order
- สถานะอาจไม่ถูกปิด : ความเสี่ยงที่อันตรายที่สุดคือ หากราคาไหลแรงแล้วราคาไม่กลับมา ณ จุดที่กำหนด Limit Order ไว้ สถานะของคุณจะไม่ถูกปิด ทำให้เกิดความเสี่ยงที่เกินการควบคุมและสูงกว่าที่คุณวางแผนไว้
- Gap ราคา : เช่นเดียวกับ Stop-Loss Order หากมีการเกิด Gap ขึ้นในตลาดที่มีเวลาเปิดและปิด ราคาของคุณจะค้างไว้ที่ Gap ทำให้สถานะไม่ถูกปิด หากราคาไหลลงต่อก็อาจทำให้เกิดความเสียหายมหาศาลต่อพอร์ทของคุณได้
- ความซับซ้อน : การตั้ง Stop-Limit Order ต้องอาศัยความชำนาญและมีความซับซ้อนสูงในการวางแผนเผื่อกรณีที่สถานะจะไม่ถูกปิดทำให้ไม่เหมาะกับมือใหม่
- Stop-Loss hunt : เช่นเดียวกับการตั้ง SL ทั่วไป ในบางครั้งรายใหญ่อาจใช้ประโยชน์จากระดับราคาที่รายย่อยอาจจะตั้ง SL ไว้ ทำให้อาจเกิดการปั่นราคาตลาดในการล่า SL ได้
ความแตกต่างระหว่าง Stop Loss และ Stop Limit Order
ความแตกต่างระหว่างทั้ง 2 คำสั่งคือ รูปแบบในการปิดสถานะ ในขณะที่ Stop-Loss Order จะปิดสถานะด้วย “Market Order” ในทุกๆ ราคา Bid บนสุดจนกว่าสถานะจะปิด Stop-Limit Order จะเปิดการเปิด Limit Order ณ ราคาที่กำหนดเท่านั้นทำให้มีความเสี่ยงที่สถานะของคุณจะถูกปิดเพียงส่วนเดียวหรือไม่ถูกปิดเลย
เราสามารถสรุป ข้อแตกต่างที่สำคัญ ได้ดังนี้ :
- ประเภทคำสั่งที่ต่างกัน
Stop-Loss Order จะมีผลทันทีที่ราคาถึงจำนวนที่กำหนดไว้ จากนั้นคำสั่ง “Market Order” จะปิดสถานะทันทีอย่างแน่นอน ในทางกลับกัน Stop-limit Order อาจปิดสถานะได้แค่บางส่วนเพราะเป็นการตั้งด้วย “Limit Order”
- ราคา Net Close ที่ต่างกัน
Stop Loss order การันตีว่าสถานะของคุณจะถูกปิดอย่างแน่นอนเมื่อราคาแตะระดับที่กำหนด แม้ว่ามันจะการันตีว่าสถานะของคุณจะถูกปิดแน่ๆ แต่ราคาอาจจะไม่ได้ปิดที่ Bid แรกสุดเท่านั้น ทำให้เกิดความเสียหายเพิ่มเติมที่เรียกว่า Slippage
ในทางกลับกัน Stop Limit Order ไม่การันตีว่าสถานะของคุณจะถูกปิด แต่คุณจะขาย ณ ราคาที่คุณตั้งไว้อย่างแน่นอน ทำให้ไม่มีปัญหาเรื่อง Slippage
- การคุมความเสี่ยง (Risk Management)
คำสั่ง Market order เป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับคำสั่ง Stop Loss Order อย่างไรก็ตาม การคลาดเคลื่อนของราคาทำให้เกิดความเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดสกุลเงินดิจิทัลที่มีความผันผวนสูง ในทางกลับกัน Stop Limit Order มีความเสี่ยงที่สถานะจะไม่ถูกปิด นั่นอาจทำให้สถานะของคุณมีความเสี่ยงมากขึ้นหากไม่มีการป้องกันเพิ่มเติม
สรุป Stop Loss กับ Stop Limit
เราอาจไม่จำเป็นว่าจะต้องเลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะทั้ง 2 ประเภทมีความแตกต่างกันในการใช้งาน นักเทรดควรพิจารณาบริบทของสินทรัพย์และตลาดที่เทรดอยู่มากกว่า ว่าเหมาะกับการใช้เครื่องมือแบบไหนและกลยุทธ์ควบคุมความเสี่ยงแบบใด
สำหรับตลาดที่มีความผันผวนสูง เช่น Cryptocurrency การตั้ง SL ควรคำนึงถึงความสูญเสียเงินต้นที่คุณรับได้ไว้ก่อนและปกป้องกำไรที่เกิดขึ้น
ด้าน Stop Loss order ช่วยให้คุณป้องกันการสูญเสียเงินต้นทั้งหมดได้ ส่วน Stop Limit Order ก็ช่วยให้คุณกำหนดราคาในการปิดสถานะไม่ว่าจะตัดขาดทุนหรือปกป้องกำไรได้อย่างแม่นยำในกรณีตลาดผันผวนต่ำ การคำนึงถึงสินทรัพย์ที่คุณเทรดจึงเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการใช้งานทั้ง 2 เครื่องมือนี้
คำถามที่พบบ่อย
Stop Limit order คืออะไร?
Stop loss กับ Stop limit อะไรดีกว่า?
ตัวอย่างการใช้ Stop Loss Limit
ทำไมเราถึงควรตั้ง Stop Loss
Stop Loss ทำให้คุณเสียเงินได้ไหม
ทำไม Stop Limit Order ถึงไม่ถูก Filled?
ข้อจำกัดความรับผิด
ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์