บล็อกเชนที่มีชื่อเสียง เช่น Bitcoin และ Ethereum คือผู้นำของเลเยอร์ 1 และเมื่อพูดถึงเลเยอร์ 2 บล็อกเชนที่มาพร้อมกับนวัตกรรมใหม่ๆ อย่างเช่น Arbitrum ก็กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ส่วนของเลเยอร์ 0 ที่ไม่ค่อยมีคนพูดถึงมากนักก็มี Cosmos ซึ่งทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมเพื่อสร้างระบบนิเวศบล็อกเชนที่สามารถเชื่อมต่อ และสามารถสื่อสารกับโปรโตคอลอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย ก่อให้เกิดเครือข่ายที่ทรงคุณค่าเชื่อมโยงถึงกัน ในบทความนี้ เราจะมาดูกันว่า Cosmos (ATOM) คืออะไร? เราจะเจาะลึกถึงข้อมูลของบล็อกเชน Cosmos และ ATOM เหรียญคริปโตประจำเครือข่าย และจะอธิบายรายละเอียดต่างๆ รวมไปถึง กลไกการทำงานของเครือข่าย
ต้องการซื้อโทเค็น ATOM หรือไม่? ลองใช้กระดานเทรดเหล่านี้สิ!
ดีที่สุดสำหรับนักเทรดมือใหม่หรือผู้เชี่ยวชาญ
กระดานเทรดที่มีความปลอดภัยพร้อมข้อจำกัดการฝาก/ถอนที่สูง
ดีที่สุดในเรื่องการทดลองเทรดและการเทรดแบบสปอต
Cosmos คืออะไร?
Cosmos เป็นบล็อกเชนแบบกระจายอำนาจที่มีจุดมุ่งหมายในการเชื่อมต่อบล็อกเชนต่างๆ ภารกิจหลักของพวกเขาคือการสร้าง Hub ที่มีความรวดเร็ว, ปรับขนาดได้, ราคาไม่แพง, และทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่นสำหรับแอปพลิเคชันบล็อกเชนต่างๆ
นอกจากนี้ Cosmos ยังมองว่าตัวเองเป็นอินเทอร์เน็ตของบล็อกเชน ซึ่งจะช่วยให้เกิดการสื่อสารแบบกระจายอำนาจระหว่างบล็อกเชนต่างๆ
“บล็อกเชนเป็นสัญลักษณ์ของการเปลี่ยนแปลงอำนาจจากศูนย์กลางไปสู่ขอบเขตของความเป็นเครือข่าย”
William Mougayar, ประธานของ Kin Foundation
เช่นเดียวกับที่อินเทอร์เน็ตทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องการสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์อย่างราบรื่น Cosmos ก็จะเข้ามาเพื่อเปลี่ยนแปลงหลักการของการทำงานร่วมกัน
ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะทลายกำแพงที่แยกบล็อกเชนต่างๆ ออกจากกัน Cosmos ตั้งเป้าที่จะเปลี่ยน เชนเดี่ยว (Singular Chains) ให้กลายเป็น เอนทิตี้แบบอิสระ (Standalone Entities) ด้วยการส่งเสริมการทำงานร่วมกันอย่างเต็มรูปแบบ Cosmos จะเปิดโอกาสให้อุตสาหกรรมบล็อกเชนเกิดความร่วมมือและสรรค์สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ร่วมกันได้มากยิ่งขึ้น
ความเป็นมาของ Cosmos
Cosmos ก่อตั้งโดยนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ Jay Kwon และ Ethan Buchanan ในปี 2014 และในปี 2016 ผู้ก่อตั้งทั้ง 2 ก็ได้เผยแพร่เอกสารไวท์เปเปอร์ของ Cosmos
Cosmos ได้รับการพัฒนาโดย Interchain Foundation ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรที่ตั้งอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ ในปี 2017 Cosmos ระดมทุนได้เกือบ 18 ล้านดอลลาร์จากรอบขายเหรียญคริปโต 3 ครั้ง และ Mainnet ของพวกเขาก็เริ่มเปิดใช้งานในช่วงต้นปี 2019
นอกจากนี้ Cosmos ยังใช้อัลกอริธึมฉันทามติ Proof-of-Stake รูปแบบใหม่ที่เรียกว่า Tendermint ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นโดยผู้ก่อตั้งโปรเจกต์ Tendermint ช่วยให้ Cosmos ประมวลผลธุรกรรมได้สูงสุดถึง 10,000 รายการต่อวินาที โดยที่ยังคงรักษาความปลอดภัยไว้ได้ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ Cosmos ต้องแลกมาก็คือการกระจายอำนาจ เนื่องจาก Cosmos มี Validators (ตัวตรวจสอบความถูกต้อง) เพียง 150 รายการเท่านั้น
เมื่อเวลาผ่านไป ระบบนิเวศของ Cosmos ได้ให้กำเนิดบล็อกเชนมากกว่า 50 รายการ ซึ่งรวมไปถึงยักษ์ใหญ่อย่าง Binance Chain (BNB), Terra และ Thorchain เป็นต้น ด้วยมูลค่าตลาดรวม 1.4 แสนล้านดอลลาร์ ปัจจุบันระบบนิเวศของ Cosmos มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจาก Ethereum เท่านั้น
Cosmos ทำงานอย่างไร?
เครือข่าย Cosmos เป็นตัวแทนของระบบนิเวศของแอปพลิเคชั่นและบริการที่เชื่อมต่อถึงกันที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง การใช้ Hub, อัลกอริธึมฉันทามติ Tendermint ที่แข็งแกร่ง, และโปรโตคอล Inter-Blockchain Communication (IBC) ช่วยให้ผู้ใช้งานมั่นใจได้ถึงการสื่อสารระหว่างบล็อกเชนที่มีความปลอดภัยและเป็นไปอย่างราบรื่น
Cosmos Hub และ Zone
Cosmos Hub เป็นกุญแจสำคัญในการอำนวยความสะดวกในการถ่ายโอนเหรียญคริปโตผ่านเครือข่ายต่างๆ ที่เชื่อมต่อถึงกันได้อย่างราบรื่น โครงสร้างนี้ช่วยเพิ่มความสามารถของบล็อกเชนในการทำงานร่วมกัน ทำให้ผู้ใช้งานสามารถย้ายสินทรัพย์ระหว่างเครือข่ายได้ง่ายยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ กระบวนการที่ซับซ้อน เช่น Atomic Swaps หรือ วิธีการถ่ายโอนที่ซับซ้อนอื่นๆ จึงไม่จำเป็นอีกต่อไป
Cosmos Hub ใช้ประโยชน์จากโปรโตคอล Inter-Blockchain Communication (IBC) ซึ่งมีความสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายของโปรเจกต์
Inter-Blockchain Communication (IBC)
ด้วยการใช้โปรโตคอล IBC ทำให้ Cosmos สามารถเคลื่อนที่ระหว่างโซนที่เชื่อมต่อกับ Cosmos Hub ได้อย่างง่ายดายผ่านระบบ Two-Way Pegging ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจาก Sidechains ของ Bitcoin ที่ช่วยให้เครือข่ายสามารถปรับขนาดได้
Cosmos ใช้แนวคิดที่คล้ายคลึงกันในการสร้างสำเนาโทเค็นบนบล็อกเชนอื่นๆ ในขณะที่ยังคงรักษาความปลอดภัยของเครือข่ายหลักไว้ได้ วิธีการนี้ได้รับความนิยมอยู่พอสมควร เห็นได้จากการที่บล็อกเชนจำนวนมากที่รองรับ IBC และเชื่อมต่อกระดานเทรดแบบกระจายอำนาจอยู่บนระบบนิเวศของ Cosmos เช่น Osmosis และ Gravity DEX เป็นต้น
Tendermint
หัวใจสำคัญของ Cosmos คือโปรโตคอล Tendermint ซึ่งเป็นผลงานของ Jae Kwon, Ethan Buckman และ Zarko Milosevic เพื่อช่วยให้ Cosmos บรรลุเป้าหมายในการทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น Tendermint คือสิ่งที่เข้ามาแก้ปัญหาการสื่อสารที่ราบรื่นระหว่างบล็อกเชน และใช้กลไกฉันทามติ Proof-of-Stake เพื่อให้มั่นใจว่า Validators มีส่วนร่วมในความปลอดภัยของเครือข่าย
Tendermint ยังได้รวมเอา Byzantine Fault Tolerance ไว้ด้วย ซึ่งหมายความว่า เครือข่ายยังคงสามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง ถึงแม้ว่าจะมีผู้ไม่ประสงค์ดีอยู่บางส่วนก็ตาม — ตราบใดที่อำนาจของ Validators ที่มีการกระทำที่เป็นอันตรายน้อยกว่า 33% ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ต่ำกว่า Bitcoin ที่ 51% — ทำให้เครือข่าย Cosmos มีความปลอดภัยและรวดเร็วยิ่งขึ้น
แม้ว่าโมเดล Proof-of-Stake จะมีข้อดี แต่ก็เห็นได้ชัดว่า การรวมศูนย์อาจจะกลายเป็นปัญหาได้ ปัจจุบัน Validators 5 อันดับแรกมีอำนาจในการลงคะแนนมากกว่า 25% ดังนั้น Cosmos จึงจำเป็นที่จะต้องแก้ไขปัญหาการรวมศูนย์นี้เพื่อรักษาหลักการการกระจายอำนาจเอาไว้
สิ่งใดที่ทำให้ Cosmos มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
คุณสมบัติที่โดดเด่นอย่างหนึ่งของ Cosmos คือแนวทางในการสร้างบล็อกเชนที่เชื่อมต่อถึงกัน Cosmos แตกต่างจากบล็อกเชนอื่นๆ ตรงที่พวกเขาไม่ได้รองรับ Smart Contract ในลักษณะดั้งเดิม Tendermint Inc. ได้สร้าง Cosmos SDK ซึ่งเป็นชุดเครื่องมือสำหรับนักพัฒนาที่จะช่วยให้สามารถสร้างแอปพลิเคชั่นสำหรับบล็อกเชนที่เฉพาะเจาะจงได้ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบงาน
ผู้สร้าง Cosmos เชื่อว่าเมื่อมีผู้คนเริ่มใช้งานมันมากขึ้น แอปพลิเคชั่นแบบกระจายอำนาจทุกตัวจะต้องมีบล็อกเชนของตัวเองเพื่อให้ทำงานต่อไปได้ ปัญหาเช่น ค่าแก๊สที่ราคาแพงของ Ethereum คือสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าระบบประเภทนี้มีความจำเป็นอย่างมาก
คุณสมบัติพิเศษอื่นๆ ของ Cosmos ได้แก่:
- การโฮสต์แอปพลิเคชั่นแบบกระจายอำนาจ (DApp): Cosmos ช่วยให้นักพัฒนาสามารถโฮสต์แอปพลิเคชั่นแบบกระจายอำนาจ (DApps) บนโครงสร้างพื้นฐานแบบกระจายอำนาจได้ ทำให้พวกเขามีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการสร้างและปล่อยแอปพลิเคชั่นของตน
- ความเป็นอิสระและการกำกับดูแล: Cosmos ช่วยให้เครือข่ายต่างๆ สามารถสร้างโซนของตนเองและเชื่อมโยงไปยังศูนย์กลางได้ โดยที่ยังสามารถรักษาการควบคุมและระบบการกำกับดูแลของตนเองไว้ได้
ATOM เหรียญคริปโตของเครือข่าย Cosmos
ต้องการซื้อโทเค็น ATOM หรือไม่? ลองใช้กระดานเทรดเหล่านี้สิ!
ดีที่สุดสำหรับนักเทรดมือใหม่หรือผู้เชี่ยวชาญ
กระดานเทรดที่มีความปลอดภัยพร้อมข้อจำกัดการฝาก/ถอนที่สูง
ดีที่สุดในเรื่องการทดลองเทรดและการเทรดแบบสปอต
ATOM เป็นสกุลเงินดิจิทัลหลักซึ่งถูกใช้ภายในระบบนิเวศของ Cosmos ด้วยมูลค่าตลาด 2.2 พันล้านดอลลาร์ ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2023 ปัจจุบัน ATOM มีราคาซื้อขายอยู่ที่ 7.626 ดอลลาร์ต่อหน่วย โดยมี ATOM หมุนเวียนอยู่ในระบบ 292 ล้านเหรียญ การวิเคราะห์อนาคตเหรียญ Cosmos (ATOM) ของเรา คาดการณ์ว่าราคาขั้นต่ำของ ATOM ในปี 2025 จะอยู่ที่ 22.10 ดอลลาร์ และอาจจะขึ้นไปสูงสุดได้ถึง 46.20 ดอลลาร์
การ Staking เหรียญ Cosmos (ATOM) ไว้ใน Cosmos HUB จะช่วยรักษาความปลอดภัยให้กับเครือข่ายและช่วยให้คุณได้รับ APY 4-6% Validators และ Delegators จะได้รับค่าธรรมเนียมเป็น ATOM สำหรับการตรวจสอบยืนยันธุรกรรม ผู้ที่ทำการ Staking สามารถปรับแต่งกลไก Slashing ในโซน HUB ต่างๆ ได้ ซึ่งพฤติกรรมที่ประสงค์ร้ายอาจจะนำไปสู่การเผาเหรียญ ATOM ที่ Validators นั้นๆ ทำการ Stake ไว้ได้
โทเค็นโนมิคส์และการแจกจ่ายเหรียญ Cosmos
เหรียญคริปโตของ Cosmos มีโทเค็นโนมิคส์และการแจกจ่ายในช่วงเริ่มต้นที่เป็นเอกลักษณ์ โดยการจัดสรรในช่วงเริ่มต้นของ ATOM นั้นจะแบ่งออกเป็นดังนี้ โทเค็นประมาณ 5% จะถูกจัดสรรให้กับรอบ Seed Sale ในขณะที่อีก 7% จะถูกแบ่งให้สำหรับการขายเชิงกลยุทธ์
อีก 10% จะถูกส่งให้กับ Foundation เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะมีการสนับสนุนโปรเจกต์อย่างต่อเนื่อง และ Tendermint Company ได้รับ 10% ของโทเค็นที่จัดสรรในช่วงเริ่มต้น ต่อมา Cosmos ระดมทุนได้ประมาณ 17 ล้านดอลลาร์ในการระดมทุนสาธารณะในช่วงเดือนเมษายน 2017 ซึ่งช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบนิเวศในช่วงเริ่มต้นเป็นอย่างมาก
อัตราเงินเฟ้อของ Cosmos
สิ่งสำคัญประการหนึ่งของโทเค็นโนมิคส์ของ Cosmos ก็คือเรื่อง อัตราเงินเฟ้อ ปัจจุบัน Cosmos มีอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ประมาณ 17% ภาวะเงินเฟ้อภายในระบบนิเวศบล็อกเชนอาจจะส่งผลกระทบต่อผู้ถือโทเค็นและการเปลี่ยนแปลงของเครือข่ายได้ ซึ่ง Cosmos ได้ทำงานอย่างหนักเพื่อจัดการกับปัญหานี้ ในปี 2022 มีการเผยแพร่เอกสารไวท์เปเปอร์ซึ่งนำเสนอแนวทางแก้ไขเพื่อจัดการกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาวะเงินเฟ้อ และปรับปรุงโทเค็นโนมิคส์โดยรวมของ ATOM
อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอดังกล่าวได้ถูกปฏิเสธจากการลงคะแนนเสียงของผู้ถือเหรียญ Cosmos โดยหลายคนได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับการเปิดตัวเครื่องมือใหม่หลายๆ อย่างพร้อมกัน รวมถึง การเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินของ ATOM ครั้งใหญ่
วิธีหนึ่งที่เครือข่ายจัดการกับความกังวลเรื่องเงินเฟ้อคือการเปิดตัวฟีเจอร์ Liquid Staking สิ่งนี้จะทำให้ ATOM ที่ Stake เอาไว้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยทำให้เหรียญสามารถใช้งานได้ในขณะที่ยังคง Staking อยู่
มาดูกันที่ ATOM Wallets
เช่นเดียวกับกระเป๋าเงินคริปโตหรือ Web3 Wallets อื่นๆ กระเป๋าเงินของ Cosmos ช่วยให้คุณโต้ตอบกับบล็อกเชนที่สร้างจาก Cosmos ได้อย่างง่ายดาย และช่วยให้คุณสามารถจัดเก็บ, ส่ง, Staking, และรับ ATOM และสกุลเงินดิจิทัลอื่นๆ ได้อย่างปลอดภัย
Cosmos Wallet มีให้บริการในหลากหลายรูปแบบ รวมถึง Hardware Wallet, Desktop Wallet, Browser Wallet และ Mobile Wallet ซึ่งแต่ละประเภทก็จะมีข้อดีและกลไกด้านความปลอดภัยในการปกป้อง Private Key ของคุณที่แตกต่างกันออกไป ในส่วนของกระเป๋าเงินคริปโตอื่นๆ ที่สามารถเก็บรักษาโทเค็น ATOM ของคุณให้ปลอดภัยได้ ได้แก่ Ledger (Hardware Wallet) หรือ Mobile Wallet เช่น Atomic Wallet, Cosmostation, Trust Wallet, Math Wallet, และ Guarda Wallet เป็นต้น
อนาคตที่สดใสสำหรับการทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น
Cosmos เป็นผู้นำในการทำให้บล็อกเชนต่างๆ สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น ถึงแม้ว่าจะต้องเผชิญกับปัญหาบางประการ แต่แนวทางที่สร้างสรรค์ก็ทำให้ Cosmos กลายมาเป็นผู้เล่นรายสำคัญในอุตสาหกรรมบล็อกเชนนี้
ความสามารถในการทำงานร่วมกันเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องการวิธีแก้ปัญหาที่ทรงพลัง และโปรเจกต์อย่าง Cosmos ก็มีส่วนสนับสนุนอย่างแข็งขันนการสร้างระบบนิเวศบล็อกเชนที่สามารถเชื่อมต่อและทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น ถึงแม้ว่าเส้นทางข้างหน้าอาจจะมีอุปสรรค แต่ Cosmos และทีมงานที่มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนก็กำลังทำงานอย่างหนัก เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมบล็อกเชนให้เข้าใกล้ความฝันของอินเทอร์เน็ตบล็อกเชนแบบกระจายอำนาจมากยิ่งขึ้น
คำถามที่พบบ่อย
Cosmos Hub คืออะไร?
Cosmos ดีกว่า Ethereum หรือไม่?
ราคาของ Cosmos จะขึ้นไปถึง 1,000 ดอลลาร์ได้หรือไม่?
สิ่งที่แตกต่างระหว่าง ATOM และ Cosmos คืออะไร?
เราจะ Stake เหรียญ ATOM ได้อย่างไร?
โปรเจกต์ใหญ่รายใดบ้างที่สร้างขึ้นบน Cosmos?
ข้อจำกัดความรับผิด
ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์