Trusted

Private Key คืออะไร? ต่างจาก Public Key ยังไง เอาไปทำอะไร

5 mins
อัพเดทโดย Apinat Phosuwan

ในโลกของสกุลเงินดิจิทัล “Private Key” น่าจะเป็นคำศัพท์ที่สาวกคริปโตได้ยินกันบ่อยๆ อีกทั้ง ยังได้มีการเน้นย้ำถึงความสำคัญของมันเป็นอย่างมาก แต่ Private Key คืออะไร? เราสามารถใช้มันทำอะไรได้บ้าง? และเหตุใดมันถึงมีความสำคัญกับผู้คนที่ชื่นชอบในสกุลเงินดิจิทัลมากนัก? ในบทความนี้ เราจะมาเรียนรู้ถึงรายละเอียดต่างๆ ของ “กุญแจส่วนตัว” ที่จะช่วยให้เราเก็บรักษาสินทรัพย์คริปโตของเราได้อย่างปลอดภัยกัน

Private Key คืออะไร?

Private Key (หรือที่อาจจะเรียกกันในอีกชื่อนึงว่า Secret Key) คือ ชุดตัวอักษรและตัวเลขที่ใช้ในอัลกอริธึมการเข้ารหัส (Encryption) เพื่อทำการเข้าหรือถอดรหัสข้อมูล “คีย์” หรือ “กุญแจ” เหล่านี้จะทำงานคล้ายๆ กับรหัสผ่านเพื่อใช้สำหรับเข้าถึงบัญชีของเรา โดยการเข้ารหัสข้อมูลนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ Symmetric Encryption และ Asymmetric Encryption

  • Symmetric Encryption — คือ การเข้ารหัสข้อมูล (Encryption) ด้วย Private Key ตัวหนึ่งและจำเป็นที่จะต้องใช้ Private Key ตัวเดียวกันในการถอดรหัส นั่นหมายความว่า ใครก็ตามที่สามารถเข้าถึง Private Key นี้ได้จะสามารถถอดรหัสข้อมูล (Decryption) ที่เข้ารหัสด้วย Private Key นี้ได้ หรือถ้าจะให้ยกตัวอย่างที่เข้าใจได้ง่ายๆ มันก็เปรียบเสมือน “กุญแจบ้าน” ที่ใช้สำหรับไขประตูบ้านของเรานั่นเอง
  • Asymmetric Encryption — คือ การเข้ารหัสข้อมูลโดยการใช้ Key คนละประเภทกัน Public Key จะถูกใช้เพื่อเป็นการเข้ารหัสที่จะสามารถเปิดเผยข้อมูล Key เป็นสาธารณะที่ใครก็สามารถเข้าถึงได้ ผู้ใดที่ต้องการส่งข้อมูล(หรือสินทรัพย์)ใดๆ ให้กับเรา ก็สามารถนำเอา Public Key ของเราไปเข้ารหัสได้ แต่การที่จะถอดรหัสได้นั้น จำเป็นที่จะต้องใช้ Private Key ที่กำหนดไว้อย่างเฉพาะเจาะจงเท่านั้น เช่นเดียวกัน ถ้าจะให้ยกตัวอย่างที่เข้าใจได้ง่ายๆ Public Key ก็เปรียบเสมือน “ที่อยู่ของบ้าน” ของเรา ผู้คนจะสามารถมาส่งของที่บ้านของเราได้ แต่จะไม่สามารถเข้าไปในบ้านได้ หากไม่มีกุญแจที่ใช้ไขเข้าบ้านหรือ “Private Key” นั่นเอง

ลักษณะของ Private Key

ตัวอย่างของ Private Key
ตัวอย่างของ Private Key: GitHub

Private Key เป็นกลุ่มของ “ตัวอักษร” และ “ตัวเลข” ที่มีความซับซ้อน ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาแบบสุ่มโดยไม่มีกฎเกณฑ์ใดๆ โดยจะผสมผสานไปด้วยตัวอักษรทั้งแบบตัวพิมพ์ใหญ่, ตัวพิมพ์เล็ก, และตัวเลขเรียงต่อกันเป็นจำนวนมาก และนี่คือหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้เป็นเรื่องยากที่ผู้ไม่ประสงค์ดีคนใดๆ ต้องการจะถอดรหัส Private Key เหล่านี้

กระบวนการทำงานของ “กุญแจถอดรหัส”

หน้าที่หลักๆ ของ Private Key นั้นคือการเป็นเสมือน “กุญแจถอดรหัส” (Decryption Key) เพื่อใช้สำหรับการเข้าถึงข้อมูลเข้ารหัสต่างๆ ที่ถูกส่งมาให้กับเรา

ตัวอย่างการทำงานของ Private Key
ตัวอย่างการทำงานของ Private Key: Wikipedia

จากตัวอย่าง กระบวนการทำงานของการเข้า/ถอดรหัสข้อมูลแบบ Asymmetric Encryption จะมีลำดับดังต่อไปนี้:

  • Bob ต้องการที่จะส่งข้อความว่า “Hello Alice!” ไปหา Alice ผ่าน Instant Messenger (ซึ่งจะมีการเข้ารหัสข้อมูลเพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน)
  • คำว่า “Hello Alice!” ถูกส่งไปที่เซิร์ฟเวอร์และเข้ารหัสด้วย Public Key ของ Alice
  • ข้อมูลที่เข้ารหัสถูกส่งมาถึง Alice และได้รับการถอดรหัสโดย Private Key ของ Alice
  • ข้อมูลที่ถูกถอดรหัสเรียบร้อยแล้วก็จะถูกแปลงกลับมาเป็นข้อความ “Hello Alice!” นั่นเอง

ตัวอย่างเดียวกันนี้สามารถนำไปใช้กับสินทรัพย์ดิจิทัลได้ โดยการเปลี่ยนจากการส่ง “ข้อความ” เป็น “สินทรัพย์ดิจิทัล” (เช่น เหรียญคริปโต, NFT เป็นต้น) และ Public Key ก็จะเปรียบได้กับ “Wallet Address” หรือ “ที่อยู่ของกระเป๋าเงินคริปโต” นั่นเอง

กระบวนการในการเข้ารหัสเหล่านี้ ถือเป็นรากฐานสำคัญให้กับระบบการรักษาความปลอดภัยให้กับ แอปพลิเคชั่น, เว็บไซต์ หรือเทคโนโลยีต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องการปกป้องข้อมูลความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน

ความสำคัญของ Private Key ในวงการคริปโต

Private Key จะช่วยรักษาความปลอดภัยให้กับสกุลเงินดิจิทัลของคุณ คุณจะสามารถเข้าถึงสินทรัพย์ต่างๆ ของคุณที่ถูกเก็บไว้บนเครือข่ายบล็อกเชนแบบกระจายอำนาจ นั่นหมายความว่า จะไม่มีธนาคารหรือตัวกลางใดๆ สามารถเข้าถึงสินทรัพย์ของคุณได้ ทำให้สินทรัพย์อยู่ในการควบคุมของคุณอย่างสมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม นั่นก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะไม่มีความเสี่ยงแต่อย่างใด

หากคุณทำ Private Key ของคุณหาย (หรือไม่สามารถจดจำได้) คุณจะไม่สามารถเข้าถึงสินทรัพย์ของคุณเพื่อทำการใช้จ่าย, ถอน, หรือโอนมันได้อีกต่อไป ดังนั้น มันจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ ที่คุณจะต้องจัดเก็บ Private Key ของคุณไว้อย่างปลอดภัย ซึ่งมีอยู่หลายวิธี ตัวอย่างเช่น:

  • เขียนหรือพิมพ์ Private Key ลงบนกระดาษ (Paper Wallet)
  • ใช้ซอฟต์แวร์เพื่อแปลง Private Key เป็น QR Code แล้วพิมพ์ลงบนกระดาษ

สิ่งสำคัญก็คือ ห้ามถ่ายรูป, แชร์รูป, หรืออัพโหลดรูป Private Key ของคุณบนโลกออนไลน์เป็นอันขาด เพราะผู้ใดที่สามารถเข้าถึง Private Key เหล่านี้ได้ ก็จะถือว่าเป็นผู้ที่ควบคุมสินทรัพย์คริปโตของคุณ ดังนั้น เก็บมันเอาไว้ในที่ปลอดภัยเสมอเพื่อป้องกันภัยคุกคามต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้

บทส่งท้าย

ในปัจจุบัน การใช้งานสิ่งต่างๆ บนโลกอินเตอร์เน็ตนั้นมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นในเชิงพาณิชย์ หรือส่วนบุคคลก็ตาม ดังนั้น ความจำเป็นของการเข้ารหัสข้อมูลเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งานเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง และการเก็บรักษา Private Key ที่ใช้เพื่อปกป้องข้อมูลเหล่านั้น ก็ถือเป็นรากฐานของการรักษาความปลอดภัยในการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้งานในทุกๆ ประเภทเช่นกัน

🎄แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | ธันวาคม 2024
🎄แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | ธันวาคม 2024
🎄แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | ธันวาคม 2024

ข้อจำกัดความรับผิด

ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์

Akhradet-Mornthong-Morn.jpg
Akradet Mornthong
อัครเดช หมอนทอง เป็น นักแปล/นักเขียนคอนเทนต์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน NFT Games, Metaverse, AI, Crypto และเทคโนโลยีใหม่ๆ เขาจบการศึกษาในสาขาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล และมีประสบการณ์ในการทำงานในวงการเกมมากกว่า 10 ปี เมื่อ NFT Games ได้กลายเป็นกระแสขึ้นมาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เขาก็ไม่พลาดที่จะก้าวเข้ามาในวงการนี้เพื่อศึกษาข้อมูลในเชิงลึกต่างๆ ของวงการ NFT รวมไปถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Blockchain และ Crypto อีกด้วย
READ FULL BIO
ได้รับการสนับสนุน
ได้รับการสนับสนุน