ในการเทรดคริปโต การเสี่ยงสวนเทรนด์ไม่ได้ให้ผลตอบแทนที่ดีเสมอไป นักเทรดที่ดีนั้นมักจะไหลไปตามเทรนด์ ไม่ว่าจะเป็นเทรนด์ขาขึ้นหรือขาลงก็ตาม นักเทรดที่เชี่ยวชาญจะจับตามองความเคลื่อนไหวของราคาในกรอบอยู่เสมอเพื่อที่จะเพิ่มผลกำไรให้มากที่สุด และกลยุทธ์ดังกล่าวนั้นเป็นหัวใจสำคัญของรูปแบบ Wyckoff ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญของ “ทฤษฎี Wyckoff” ที่โด่งดังนั่นเอง
ในบทความนี้ เราจะมาถอดรหัสรูปแบบ Wyckoff ในแต่ละช่วงให้กับคุณ โดยจะอธิบายถึงโครงสร้างของตลาดที่จะนำไปสู่รูปแบบ Wyckoff จากนั้น เราก็จะลงลึกถึงรายละเอียดในแต่ละช่วง ซึ่งจะครอบคลุมทั้งในเรื่องการวิเคราะห์ทางเทคนิคและกลยุทธ์การเข้าสู่ตลาด และนี่คือทุกสิ่งที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมที่ถูกสร้างขึ้นโดย Richard Wyckoff
- การทำความเข้าใจรูปแบบ Wyckoff: มันง่ายกว่าที่คุณคิด
- กฏหลัก 3 ข้อของ “ทฤษฎี Wyckoff”
- ความสัมพันธ์กันของทฤษฎี Wyckoff
- ความเป็นมาของ “Wyckoff”: ประวัติศาสตร์, หลักการ และอื่นๆ
- เจาะลึกทฤษฎี Wyckoff: ระยะต่างๆ, ความเปลี่ยนแปลงของตลาด และอื่นๆ
- บทบาทของการเปลี่ยนแปลงในตลาดซื้อขายในทฤษฎี Wyckoff
- รูปแบบ Wyckoff: จุดที่สำคัญๆ ที่จะช่วยให้สามารถคาดการณ์ได้ดียิ่งขึ้น
- การประเมินความแข็งแกร่งของตลาด: เสริมข้อมูลให้กับรูปแบบ Wyckoff
- วิเคราะห์ความพร้อมของตลาด
- จับจังหวะการเทรดอย่างเหมาะสมด้วยทฤษฎี Wyckoff
- เราจะใช้งานทฤษฎี Wyckoff ได้อย่างไร?
- ข้อจำกัดของทฤษฎี Wyckoff
- ทฤษฎี Wyckoff ตัวเดียวจบหรือไม่?
- เราจะใช้งานทฤษฎี Wyckoff ได้ที่ใดบ้าง?
- คำถามที่พบบ่อย
BeInCrypto Trading Community บน Telegram: พูดคุยกันเกี่ยวกับแนวโน้มของตลาด รับชมคอร์สพื้นฐานการซื้อขายฟรี และสอบถามข้อมูลต่างๆ ที่คุณต้องการจากนักเทรดมืออาชีพ!
การทำความเข้าใจรูปแบบ Wyckoff: มันง่ายกว่าที่คุณคิด
“ทฤษฎี Wyckoff” สำหรับการเทรดคริปโตคือสิ่งที่เรียบง่ายแต่ซับซ้อนในการคาดการณ์ความเคลื่อนไหวของตลาด ทฤษฎี Wyckoff ถือเป็นวิธีที่ดีสำหรับการทำความเข้าใจ Trading Ranges (ช่วงการเทรดในกรอบราคา) ซึ่งแตกต่างจากวิธีการตรวจสอบการกลับตัวของราคาและการเคลื่อนไหวตามเทรนด์
ทฤษฏีการเทรดนี้จะใช้การพิจารณาตลาดในมุมมองที่กว้างขึ้นในแง่ของอุปสงค์/อุปทานและราคา/ปริมาณการซื้อขาย ซึ่งจะช่วยให้เราเข้าใจการเคลื่อนไหวของราคาที่อาจจะซ่อนอยู่ใน Trading Ranges หรือกระทั่งใน Whipsaws (ช่วงที่ราคาในกรอบราคามีความผันผวนอย่างมากและเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ) เองก็ตาม
นอกจากนี้ วิธีการนี้ยังช่วยแบ่งสถานะการเทรดและวัฏจักรของราคาออกมาเป็นช่วงๆ ซึ่งจะช่วยให้นักเทรดสามารถคาดการณ์การเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ในอนาคตได้ โดยวัฏจักรราคา Wyckoff ทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 4 ช่วง ได้แก่ ระยะสะสม (Accumulation Phase), ระยะการเพิ่มขึ้น (Markup Phase), ระยะแจกจ่าย (Distribution Phase) และ ระยะการลดลง (Markdown Phase)
ระยะสะสม (Accumulation Phase) คืออะไร?
ระยะแรกนี้จะเกี่ยวข้องกับกลุ่ม “Smart Money” กลุ่มนักลงทุนที่รอบรู้และมีประสบการณ์ที่ทำการซื้อสะสมคริปโตหรือกลุ่มสินทรัพย์ใดๆ
ในระยะนี้ มันจะดูเหมือนว่ามี Trading Range โผล่ขึ้นมาหลังจากที่ราคาลดลงอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่ดูเหมือนเป็นกรอบราคาสำหรับนักเทรดหรือนักลงทุนทั่วไป ที่จริงแล้วมันเป็นพื้นที่ที่เหล่าผู้ประกอบการหรือกลุ่ม Smart Money เริ่มที่จะทำการซื้อสะสม
ดังนั้น “ระยะสะสม” คือการซื้อขายในกรอบราคาในช่วงที่ตลาดเป็นขาลงหรือมีความเชื่อมั่นในเชิงลบ กลุ่มนักลงทุน Smart Money จะจำแนกได้ถึงมูลค่าที่ต่ำเกินกว่าที่จะเป็นของสินทรัพย์ในระยะสะสมนี้และทำการเข้าซื้อเป็นระยะๆ
ท้ายที่สุด ราคาก็จะลงไปถึงแนวรับ (เนื่องจากแรงซื้อที่หนักหน่วงแต่ไม่ต่อเนื่อง) และจะเริ่มการเทรดแบบ Sideways (ช่วงที่ราคาของสินทรัพย์เคลื่อนไหวในกรอบราคาแคบๆ ไม่มีทิศทางที่ชัดเจน)
ให้ลองนึกภาพว่า “ระยะสะสม” เป็นโซนที่มีการซื้ออย่างเมามันและมีการประกาศสินค้าหมดในช่วงลดราคาล้างสต๊อก ในเชิงโครงสร้างตลาดซื้อขาย การประกาศสินค้าหมดเปรียบเสมือนการเพิ่มขึ้นอย่างกระทันหันของราคาหรือเทรนด์ขาขึ้นที่จะเกิดขึ้นต่อมาหลังจากระยะสะสม (หรือที่เรียกกันว่า ระยะการเพิ่มขึ้น) ซึ่งนี่จะเป็นช่วงเวลาที่เหล่า Weak Hands (นักลงทุนที่มีจิตใจอ่อนแอ ไม่สามารถรับแรงกดดันของตลาดได้) จะเริ่มเสียใจที่ไม่ได้ถือครองสินทรัพย์นั้นๆ
ในระยะการสะสม การลดลงของราคาจะไม่ลึกมาก และความผันผวนส่วนใหญ่นั้นจะเกิดขึ้นจากการที่เหล่า Weak Hands ออกไปเนื่องจากราคามีความเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย
ระยะแจกจ่าย (Distribution Phase) คืออะไร?
นี่คือระยะที่ 3 ของวัฏจักรราคา Wyckoff หลังจากระยะสะสมและระยะไล่ราคาเสร็จสิ้นแล้ว ช่วง Trading Range จะปรากฏขึ้นหลังจากที่ราคาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อถึงจุดนี้ กลุ่ม Smart Money (เหล่านักลงทุนที่รอบรู้หรือมีประสบการณ์สูง) จะเริ่มทยอยปล่อยขาย เหล่านักลงทุนที่ไร้ประสบการณ์ก็จะยังคงซื้อต่อไปเนื่องจากความเชื่อมั่นโดยรวม (หลังระยะการเพิ่มขึ้น) ยังคงเป็นขาขึ้นอยู่
“ระยะแจกจ่าย” เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกันอย่างชัดเจนกับ “ระยะสะสม” และจะตามมาด้วยการลดลงของราคาอย่างต่อเนื่อง หรือ “ระยะการลดลง”
ลองนึกภาพของตอนจบของงานแสดงดอกไม้ไฟที่เหล่าผู้ขายที่ชาญฉลาดเทขายดอกไม้ไฟของพวกเขาให้กับผู้อื่น — ผู้ที่ต้องการให้ช่วงเวลาของงานแสดงยืดยาวออกไป ผู้ที่อาจจะไม่รู้ว่าส่วนที่ดีที่ของงานแสดงนี้จะจบลงแล้ว ในขณะที่คนอื่นๆ ที่รู้เริ่มทยอยออกจากงานแสดงแล้ว
กฏหลัก 3 ข้อของ “ทฤษฎี Wyckoff”
ตอนนี้ เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับระยะต่างๆ ของทฤษฎี Wyckoff ไปบ้างแล้ว ต่อไป เราจะไปดูกฏหลัก 3 ข้อที่ส่งผลต่อกลยุทธ์การเทรดนี้กัน
กฏข้อที่ 1: กฏของอุปสงค์และอุปทาน
จากกฏข้อนี้ ความเคลื่อนไหวของราคาของสินทรัพย์นั้นเป็นผลมาจากความสมดุลของอุปสงค์และอุปทาน ตัวอย่างเช่น หากอุปทานมีมากกว่าอุปสงค์ ราคาก็มักจะลดลง ในทางตรงกันข้าม ราคาจะสูงขึ้นเมื่ออุปสงค์มีมากกว่าอุปทาน เมื่ออุปทานมีเท่ากับอุปสงค์ มันก็จะไม่มีอะไรเกิดขึ้นมากนัก ซึ่งทำให้การซื้อขายในตลาด/สินทรัพย์ยังคงดำเนินต่อไปในแบบ Sideways
กฏข้อที่ 2: กฏของเหตุและผล
กฏข้อนี้ระบุว่า “ผล” หรือ ความเคลื่อนไหวของราคา นั้นเกิดขึ้นมาจาก “สาเหตุ” บางอย่าง (การซื้อและการขาย) ตัวอย่างเช่น ระยะสะสมที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ (เหตุ) ก่อให้เกิดการเพิ่มขึ้นของราคาหรือระยะการเพิ่มขึ้น (ผล)
กฏข้อที่ 3: กฏของความพยายามและผลลัพธ์
สำหรับกฏข้อที่ 3 นี้ นักเทรดสามารถค้นหาการกลับตัวของเทรนด์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ด้วยการดูสัญญาณที่ขัดแย้งกันระหว่างความพยายาม (ปริมาณการซื้อขาย) และผลลัพท์ (การเปลี่ยนแปลงของราคา) กรณีที่ปริมาณการซื้อขายต่ำแต่มีการเปลี่ยนแปลงของราคาอย่างมาก นั่นหมายความว่าโอกาสที่การกลับตัวของเทรนด์จะเกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น หากคริปโตอยู่ในช่วงขาขึ้น คุณก็คงคาดหวังว่ามันจะมีปริมาณการซื้อขายที่สูงและมีการเปลี่ยนแปลงของราคาอย่างรุนแรง อย่างไรก็ตาม หากการเปลี่ยนแปลงของราคาเริ่มที่จะช้าลงและปริมาณซื้อขายยังคงเพิ่มขึ้น คุณก็ควรที่จะเตรียมตัวพบกับการกลับตัวของเทรนด์ได้เลย
กฏข้อที่ 2 และ 3 นั้นจะเป็นการนำเอาสาเหตุ (ระยะต่างๆ ของทฤษฎี Wyckoff) และความพยายาม (ปริมาณการซื้อขาย) มาพิจารณาร่วมกับการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์-อุปทานหรือกฏข้อที่ 1 นักเทรดที่มีประสบการณ์ควรจะตั้งคำถามต่อรูปแบบ Wyckoff ที่พวกเขาค้นพบในทุกๆ จุดโดยอิงตามกฏหลัก 3 ข้อข้างต้นเพื่อค้นหาสถานะการเทรดที่เหมาะสมสำหรับพวกเขา
ความสัมพันธ์กันของทฤษฎี Wyckoff
ทฤษฎี Wyckoff เป็นหนึ่งในกลยุทธ์การเทรดในภาพกว้างที่ทำงานร่วมกับ Momentum Indicators (อินดิเคเตอร์หรือตัวชี้วัดที่ใช้ตรวจสอบความแข็งแกร่งของการเปลี่ยนแปลงของราคา), Moving Averages (เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่), และ Oscillators (ตัวชี้วัดทางเทคนิคที่ใช้ระบุสัญญาณการเปลี่ยนแปลงของเทรนด์) ได้เป็นอย่างดี มันช่วยให้วิธีการเทรดมีความหลากหลายและปรับเปลี่ยนได้เป็นอย่างมาก สิ่งที่ทำให้ทฤษฎี Wyckoff โดดเด่นกว่ากลยุทธ์การเทรดคริปโตอื่นๆ ก็คือมันทำงานได้ดีพอๆ กับที่ทำได้ดีกับ Forex (ตลาดซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนต่างประเทศ) และ Stock Market (ตลาดหุ้น)
ต่อไปคือตัวอย่างบางส่วนของระยะ Wyckoff ที่สามารถพบเห็นได้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา:
กราฟ BTC-USDT นี้แสดงให้เห็นถึงระยะการสะสมก่อนที่ตลาดขาขึ้นจะผลักดันราคาของ BTC ขึ้นไปที่ 67,000 ดอลลาร์และสูงกว่านั้น ซึ่งเราจะไปพูดคุยกันเรื่องอินดิเคเตอร์และข้อมูลเชิงลึกต่างๆ ในภายหลัง
ระยะแจกจ่ายที่เห็นได้อย่างชัดเจนซึ่งตามมาด้วยระยะการลดลงของราคาถูกพบในกราฟราคาของ AAPL (Apple) ในปี 2020
ความเป็นมาของ “Wyckoff”: ประวัติศาสตร์, หลักการ และอื่นๆ
Richard Demille Wyckoff คือนักเทรดประสบการณ์สูงที่พัฒนากลยุทธ์การวิเคราะห์ตลาดขึ้นมามากมาย เช่น Tape Reading, Chart Reading และกลยุทธ์ที่เราพูดคุยกันในบทความนี้อย่างทฤษฎี Wyckoff เขาเชื่อว่ากิจกรรมในตลาดซื้อขายนั้นถูกกำหนดโดยการกระทำของนักลงทุนสถาบันและความเปลี่ยนแปลงในตลาดซื้อขายนั้นเกี่ยวข้องกับอุปสงค์และอุปทาน
ในการพัฒนาทฤษฎี Wyckoff เขาจับตามองผู้ดำเนินการตลาดซื้อขายอย่าง JP Morgan และ Jesser Livermore อย่างใกล้ชิด Wyckoff ได้ระบุถึงวิธีการที่นักเทรดและสถาบันใช้ และสังเกตถึงผลกระทบที่สอดคล้องกันกับความเปลี่ยนแปลงของราคาและปริมาณการซื้อขายทั่วทั้งตลาด
ต่อไปนี้คือหลักการที่สำคัญที่ช่วยในการขับเคลื่อนทฤษฎี Wyckoff:
- โครงสร้างตลาดซื้อขายทั้งหมดจะประกอบไปด้วยวัฏจักรดังนี้: การสะสม, การเพิ่มขึ้น, การกระจาย, และการลดลง
- อุปสงค์และอุปทานของสินทรัพย์คือสิ่งที่ช่วยขับเคลื่อนราคาของมัน ดังนั้น ข้อมูลราคาและปริมาณการซื้อขายควรจะนำมาพิจารณาร่วมกัน
- เหล่านักลงทุนสถาบันหรือกลุ่ม “Smart Money” สามารถส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของตลาดซื้อขายได้ การตรวจสอบพฤติกรรมของพวกเขาจะช่วยให้สามารถคาดการณ์เทรนด์ของตลาดได้
- เพื่อระบุโอกาสในการเทรดของสินทรัพย์นั้นๆ คุณสามารถเปรียบเทียบมันกับเกณฑ์มาตรฐาน (เช่น Bitcoin สำหรับคริปโต) หรือดัชนี (S&P 500 สำหรับในกรณีของหุ้น) ใดๆ ได้ มันจะช่วยให้คุณเข้าใจถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของสินทรัพย์นั้นๆ ได้
- การจัดการความเสี่ยงและจังหวะการซื้อขายที่แม่นยำเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากในการเทรด แม้กระทั่งกับทฤษฎี Wyckoff เอง เราจำเป็นจะต้องกำหนดจุดเข้าและออกให้ได้เสียก่อน ตามมาด้วยการกำหนดขนาดการลงทุนด้วยการใช้ Stop-Losses
เจาะลึกทฤษฎี Wyckoff: ระยะต่างๆ, ความเปลี่ยนแปลงของตลาด และอื่นๆ
ตอนนี้ ถึงเวลาแล้วที่เราจะมาดูกันในเรื่องทางเทคนิคเพื่อที่จะแสดงให้เห็นถึงระยะต่างๆ ของทฤษฎีนี้ การเทรดด้วยการใช้ทฤษฎี Wyckoff สามารถกำหนดได้ด้วยวิธีการกว้างๆ 5 วิธี ได้แก่:
- กำหนดวัฏจักรของตลาดหรือช่วงระยะต่างๆ (ช่วงระยะใดๆ ในทั้ง 4 ช่วง)
- การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์-อุปทาน
- การประเมินสภาวะตลาด (จุดแข็งและจุดอ่อน)
- การวิเคราะห์ความพร้อมของตลาด (ดูสัญญาณ และจุดเข้า-ออก)
- กำหนดช่วงเวลาการเทรด
การกำหนดระยะต่างๆ จากวัฏจักรราคา
อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น ตามทฤษฎี Wyckoff นั้นจะมีระยะของวัฏจักรราคาอยู่ 4 ช่วง — การสะสม, การเพิ่มขึ้น, การกระจาย, และการลดลง ซึ่งก่อนหน้านี้เราได้อธิบายความหมายกว้างๆ ของมันไปแล้ว ต่อไป เราจะมาเจาะลึกเกี่ยวกับข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมกัน:
การสะสม (Accumulation)
สิ่งนี้จะเกิดขึ้นทันทีหลังจากเทรนด์ขาลงและมีลักษณะเด่นคือ มีการซื้อด้วยต้นทุนต่ำ, ปริมาณการซื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีความผันผวนของราคาเพียงเล็กน้อย
ด้านล่างนี้คือระยะสะสมบนกราฟราคา BTC ที่เราได้คุยกันไปก่อนหน้านี้ แต่ครั้งนี้จะมี RSI และอินดิเคเตอร์วัดปริมาณการซื้อขายเพิ่มเข้ามาด้วย จะสังเกตเห็นได้ว่า ระยะสะสม เริ่มขึ้นเมื่อระดับ RSI ของ BTC ลดลงไปต่ำกว่า 25 (22.67) โซน Oversold (โซนที่มีแรงขายมากเกินไป) และ Undervalued (โซนที่มูลค่าของสินทรัพย์ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น) คือสิ่งที่ผลักดันให้เกิดระยะสะสม
เราจะเห็นได้ถึงการก่อตัวของเสาสีเขียว (แท่งของราคาที่เพิ่มขึ้น) ในช่วงสิ้นสุดของระยะสะสม
การเพิ่มขึ้น (Markup)
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าโครงสร้างตลาดซื้อขายของ BTC ในปี 2021 เป็นส่วนหนึ่งของการเทรดในทฤษฎีของ Wyckoff? RSI แสดงให้คุณเห็นอย่างชัดเจนถึงโอกาสที่ราคาจะเพิ่มสูงขึ้น คุณจะเห็นได้ว่า RSI สร้างรูปแบบจุดต่ำที่สูงขึ้น ซึ่งตรงกันข้ามกับความเคลื่อนไหวของราคาในช่วงเวลาเดียวกัน ดังนั้น เราจึงคาดการณ์ได้ว่ามันเป็นระยะสะสมที่กำลังเปิดทางให้ราคาเพิ่มสูงขึ้น
การแจกจ่าย (Distribution)
ระยะแจกจ่ายจะเริ่มต้นหลังจากเทรนด์ขาขึ้นและมีลักษณะเด่นคือมี RSI ที่สูงและมีการเพิ่มขึ้นของเสาสีแดง (แท่งของราคาที่ลดลง) คอนเซปต์ของระยะแจกจ่ายก็คือแรงขายที่เพิ่มสูงขึ้นนั่นเอง
ด้านล่างคือกราฟราคา BTC จากปลายปี 2017 ซึ่งราคา BTC พุ่งขึ้นไปสูงสุดเกือบ 20,000 ดอลลาร์ คุณจะสังเกตเห็นได้ว่า RSI ในขณะนั้นอยู่ในเขต Overbought (โซนที่มีแรงซื้อมากเกินไป) ซึ่งจะเป็นการบอกใบ้ถึงการชะลอตัวของราคาที่กำลังจะมาถึง และปริมาณการซื้อขายก็ลดลงเช่นกัน สิ่งที่ตามมาก็คือ ระยะแจกจ่าย ที่เราจะเห็นได้จากการที่ RSI ลดลงเป็นอย่างมาก
การก่อตัวของเสาสีแดงอย่างค่อยเป็นค่อยไปก่อนที่จะสิ้นสุดระยะแจกจ่ายบ่งบอกถึงการปรับฐานราคาที่กำลังจะเริ่มขึ้น
การลดลง (Markdown)
ในขณะที่ราคาจะวิ่งอยู่ในกรอบราคาในระยะแจกจ่าย ราคานั้นจะเริ่มร่วงลงในระยะการลดลง นี่คือช่วงเวลาที่เริ่มมีแรงขายอย่างชัดเจน แม้แต่นักลงทุนทั่วไปก็เริ่มที่จะถอนตัวออกมา
เมื่อคุณเข้าใจถึงระยะต่างๆ แล้ว การกำหนดวัฏจักรของตลาดก็จะกลายเป็นเรื่องที่ง่ายยิ่งขึ้น
บทบาทของการเปลี่ยนแปลงในตลาดซื้อขายในทฤษฎี Wyckoff
กราฟราคาที่เราใช้เป็นตัวอย่างด้านบนนั้น เราได้รวมเอาเรื่องอุปสงค์และอุปทานเข้ามาพิจารณาร่วมด้วยแล้ว ซึ่งเราจะมาอธิบายคอนเซปต์ของมันในเชิงลึกกัน
- ราคาที่เพิ่มขึ้นพร้อมกับปริมาณการซื้อขายที่สูงบ่งบอกถึงแรงซื้อที่แข็งแกร่ง ในขณะที่ราคาลดลงพร้อมกับปริมาณการซื้อขายที่สูง (เสาสีแดง) จะเป็นการบ่งบอกถึงแรงขายที่แข็งแกร่ง ข้อมูลเหล่านี้คือกุญแจสำคัญในการเกิดขึ้นของระยะ การสะสม-การเพิ่มขึ้น และ การแจกจ่าย-การลดลง
- หากระยะสะสมและแจกจ่ายกำลังเกิดขึ้น ขอบเขตของแท่งเทียนจะสามารถทำหน้าที่เป็นระดับแนวต้านและแนวรับได้ ซึ่งคุณจะสามารถใช้มันเป็นจุดเข้า-ออกสำหรับการเทรดของคุณได้
- รูปแบบ Wyckoff บางรูปแบบนั้นก็เกิดขึ้นระหว่างระยะต่างๆ การทำความเข้าใจสิ่งเหล่านั้นสามารถช่วยให้คุณค้นหาจุดไคลแมกซ์ — จุดที่ราคาที่การเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ — ได้
- รูปแบบ Wyckoff ในตลาดซื้อขายนั้นอาจจะแตกต่างกันไปในกรอบเวลาต่างๆ ตัวอย่างเช่น ในกราฟรายวัน เราอาจจะมองไม่เห็นถึงรูปแบบ Wyckoff ในขณะที่เราสามารถเห็นถึงรูปแบบดังกล่าวได้ในกราฟราย 4 ชั่วโมง
รูปแบบ Wyckoff: จุดที่สำคัญๆ ที่จะช่วยให้สามารถคาดการณ์ได้ดียิ่งขึ้น
ตอนนี้ เราจะมาสำรวจรูปแบบในเชิงลึกเพื่อทำความเข้าใจในเซคชั่นต่างๆ ของการเทรดด้วยทฤษฎี Wyckoff ซึ่งเราจะมาดูองค์ประกอบต่างๆ ของรูปแบบ Wyckoff ที่มักจะพบเห็นได้ โดยจะเริ่มกันจากช่วงระยะสะสม และจะไล่ไปเรื่อยๆ
Preliminary Support หรือ PS
นี่คือระดับของแนวรับของเทรนด์ขาลงที่เกิดขึ้นก่อนระยะสะสม มันคือระดับต่ำสุดที่ราคาของคริปโตหรือสินทรัพย์ใดๆ จะลดลงได้ก่อนถึงระยะสะสม ในระยะสะสมหรือช่วง Trading Range นั้น PS จะเป็นจุดที่ราคาเริ่มทรงตัว ซึ่งเป็นจุดที่เหล่า “Smart Money” เริ่มเข้ามาทำการซื้อ
Selling Climax หรือ SC
ถึงแม้ว่ามันจะถูกนับเป็นจุดหลังจาก PS แต่ SC นั้นถือเป็นจุดแรกบนกราฟและเป็นโซนที่ราคาสินทรัพย์พบกับแรงขายอย่างรุนแรงก่อนที่จะเข้าสู่ช่วง Trading Range ในระยะสะสม กลุ่ม “Smart Money” ที่จุด PS จะเริ่มดูดซับแรงขายที่หนักหน่วงเหล่านั้น
โซนนี้มักจะเป็น Panic Selling Zone (โซนที่ผู้คนเทขายเพราะความตื่นตระหนก) ซึ่งทำให้แรงขายอ่อนตัวลงและเริ่มช่วงการเทรดในกรอบราคาครั้งใหม่
Automatic Rally หรือ AR
AR มักจะเป็นจุดที่เกิดขึ้นตามหลังจุด SC ซึ่งจะเป็นจุดที่เริ่มมีแรงซื้อเข้ามาเพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดจากการที่กลุ่ม “Smart Money” หรือนักลงทุนเข้ามาซื้ออย่างกระทันหัน ถึงแม้ว่าจะไม่ต่อเนื่อง แต่ก็พอมีแรงเหวี่ยงขาขึ้นให้ได้เห็นบ้าง เมื่อราคาเข้าสู่ระยะสะสม จุดนี้จะใช้เป็นแนวต้านสำหรับคาดการณ์ระยะเพิ่มขึ้นที่กำลังจะมาถึง
Secondary Test หรือ ST
จุด ST คือจุดที่ทำหน้าที่เป็นการทดสอบแนวรับของรูปแบบ Wyckoff เป็นจุดที่ราคาพุ่งขึ้นและอ่อนแรงลงหลังจากจุด AR แสดงให้เห็นว่ายังคงมีแรงขายกดดันอยู่
มันสามารถมีจุด AR และ ST ได้หลายจุดก่อนที่จะไปถึงระยะการเพิ่มขึ้น
Spring
ในระยะสะสม ช่วงกวาดล้างเหล่า Weak-Hands จะเกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อราคาหลุดลงไปต่ำกว่าแนวรับเดิม (จุด ST) ซึ่งจะเป็นการกดดันให้เหล่า Weak-Hands ออกไปและกำจัดแรงขายทั้งหมดออกไป ตัวชี้วัดสัญญาณ “Spring” ได้ดีที่สุดคือปริมาณการซื้อขายที่ลดลงหลังจากราคาลดลง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแรงขายเริ่มที่จะหมดไป
Last Point of Support หรือ LPS
ณ จุดนี้ ราคาสินทรัพย์จะทดสอบระดับแนวรับของจุด ST ก่อนหน้าทั้งหมดอีกครั้ง และราคาจะพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงจุดๆ หนึ่งที่ราคาฝ่าผ่านแนวต้าน ณ จุด AR ไปได้ มันก็จะกลายเป็นจุด SOS หรือ Sign of Strength ซึ่งเป็นการเริ่มต้นของระยะการเพิ่มขึ้น
ทั้งหมดที่กล่าวไปคือองค์ประกอบต่างๆ ของระยะสะสมทั้งหมด ต่อไป เราจะมาดูองค์ประกอบที่สำคัญของระยะแจกจ่ายกันบ้าง:
Preliminary Supply หรือ PSY
เราทราบกันไปแล้วว่า ระยะแจกจ่าย นั้นจะเกิดขึ้นหลังจากเทรนด์ขาขึ้น เมื่อตลาดซื้อขายของสินทรัพย์ใดๆ เข้าสู่ระยะแจกจ่าย มันจะพบกับโซนแนวต้าน ซึ่งจะเอาชนะเทรนด์ขาขึ้นของราคาไปได้ แล้วจะทำให้ตลาดเข้าสู่ช่วง Trading Range ณ จุดนี้ การขายจะเริ่มขึ้น จุดนี้อาจจะถูกเรียกอีกชื่อว่า Preliminary Resistance หรือ PR
Automatic Reaction (AR) หรือ Automatic Sell-off (AS)
นี่คือขั้วตรงข้ามของจุด Automatic Rally หรือ AR ที่เราเห็นได้ในระยะสะสม จุด AR หรือ AS ในระยะนี้นั้นเป็นเหมือนกับการปรับฐานราคาอย่างรวดเร็วเนื่องจากเหล่า “Smart Money” เริ่มที่จะขายสินทรัพย์ที่พวกเขาถือครองไว้ นักเทรดทั่วไปนั้นจะคิดว่ามันเป็นการปรับฐานราคาทั่วไปแล้วจบลงด้วยการถือสถานะของพวกเขาไว้เช่นเดิม จุดนี้ยังช่วยในการกำหนดระดับแนวรับที่แข็งแกร่งของสินทรัพย์อีกด้วย
Upthrust หรือ UT
หลังจากจุด AS ก็คือการวิ่งขึ้นที่จะเรียกว่าจุด UT หรือ UpThrust ณ จุดนี้ นักลงทุนจำนวนมากเริ่มเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งจะสร้างระดับแนวต้านที่สำคัญที่สูงกว่าจุด PSY ในระดับนี้ แรงซื้อจากรายย่อยจะเพิ่มมากขึ้น แต่เหล่า “Smart Money” จะเริ่มเทขายเพื่อดูดซับแรงซื้อที่เพิ่มขึ้น จุดนี้ถือเป็นกับดักสำหรับนักลงทุนที่มีความกระตือรือร้นมากเกินไป
Secondary Test หรือ ST
จุดนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งก่อนและหลังที่จะเกิดจุด UT เป็นจุดที่ราคาสินทรัพย์เริ่มจะทดสอบจุด PSY หรือ PR (Preliminary Resistance) อีกครั้ง เพื่อที่จะเป็นการเริ่มการปรับฐานราคาอีกครั้ง
Upthrust After Distribution หรือ UTAD
นี่เป็นจุดที่เป็นความพยายามครั้งสุดท้ายของเหล่าผู้ซื้อที่จะส่งให้ราคาพุ่งสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของราคาที่มาพร้อมกับปริมาณการซื้อขายที่ต่ำเป็นการบ่งบอกว่าแรงกดดันในการซื้อนั้นกำลังอ่อนตัวลง
Last Point of Supply หรือ LPSY
ระยะการลดลงของราคาที่แท้จริงจะเริ่มต้นจากจุดนี้ เนื่องจากราคาลดลงมาอยู่ที่ระดับต่ำกว่าแนวรับในจุด AR เมื่อลดลงไปถึงจุดต่ำสุด มันจะถูกเรียกว่า “Sign of Weakness” หรือ SoW ซึ่งเป็นจุดที่สมบูรณ์แบบสำหรับการ Short สินทรัพย์ หากคุณสามารถระบุมันได้อย่างถูกต้อง
และทั้งหมดนั่นคือการสรุปรวมจุดต่างๆ ที่สำคัญในระยะแจกจ่าย ซึ่งมีรูปแบบ Wyckoff มากมายแสดงให้เห็นอยู่ในกราฟ ช่วยให้เหล่านักเทรดหรือนักลงทุนสามารถทำการตัดสินใจในการเข้าและออกได้ดียิ่งขึ้น
ด้านล่างนี้คือกราฟ BTC ที่แสดงให้เห็นว่าราคาสูงสุดที่ 69,000 ดอลลาร์ที่ขึ้นไปถึงในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2021 เป็นจุด UT ของระยะแจกจ่าย ซึ่งเป็นจุดดักจับนักลงทุนที่ไม่รู้เรื่องราวอะไร
การประเมินความแข็งแกร่งของตลาด: เสริมข้อมูลให้กับรูปแบบ Wyckoff
ถึงแม้ว่าการเข้าใจองค์ประกอบของ “ทฤษฎี Wyckoff” จะช่วยให้คุณระบุจุดสำคัญๆ ได้ แต่การประเมินความแข็งแกร่งของตลาดก็เป็นสิ่งที่สำคัญที่จะช่วยให้ได้ข้อมูลเชิงลึกเฉพาะทางอื่นๆ เช่นกัน
ตัวอย่างเช่น การตรวจสอบ Bitcoin Dominance Chart และ Fear and Greed Index ก็เป็นสิ่งที่สำคัญหากคุณสนใจในสกุลเงินคริปโต สิ่งเหล่านี้เป็นเกณฑ์มาตรฐานที่คุณจะสามารถใช้ทดสอบสัญญาณ Wyckoff ได้
อีกหนึ่งวิธีในการทดสอบความแข็งแกร่งของตลาดคือการดูความเคลื่อนไหวของราคาที่สัมพันธ์กับ RSI หากสัญญาณ Bullish Divergence ปรากฏขึ้นในขณะที่ราคาของสินทรัพย์อยู่ในระยะสะสม คุณก็อาจจะต้องเตรียมตัวเองให้พร้อมกับ “ระยะการเพิ่มขึ้น” หรือการเพิ่มขึ้นของราคาในระยะยาวที่กำลังจะมาถึง เช่นเดียวกัน หากในความเคลื่อนไหวขาขึ้น คุณพบว่า RSI สร้างสัญญาณ Bearish Divergence ขึ้นมา การเข้าสู่ตลาดในช่วงเวลาดังกล่าวก็อาจจะไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีที่สุด
การใช้งานรูปแบบ Wyckoff ร่วมกับเกณฑ์มาตรฐานและตัวชี้วัดโมเมนตัมต่างๆ สามารถช่วยให้คุณได้รับสัญญาณการซื้อขายที่ดียิ่งขึ้นได้
วิเคราะห์ความพร้อมของตลาด
ความพร้อมของตลาดเป็นอีกหนึ่งแง่มุมสำคัญในการนำรูปแบบ Wyckoff ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยคุณสามารถตรวจสอบสัญญาณดังต่อไปนี้ได้:
- การสะสมและการแจกจ่าย: การวิเคราะห์ราคาและปริมาณการซื้อขายเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการที่จะได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการสะสมและการแจกจ่าย ในขณะที่ตัวชี้วัดอย่าง ADX สามารถช่วยคุณได้เสมอ เคล็ดลับสำหรับมือโปรก็คือการมองหาปริมาณการซื้อขายที่สูงใกล้กับแนวรับและแนวต้าน หากคุณสนใจเฉพาะเรื่องราคา ความเคลื่อนไหวอย่างจุด Automatic Sell-off หรือจุด Upthrust (จากรูปแบบ Wyckoff ที่เราได้พูดถึงกันไปก่อนหน้านี้) ก็เป็นสิ่งที่คุณสามารถไปพิจารณาได้
- การฝ่าแนวต้าน/แนวรับ: อีกหนึ่งวิธีที่ดีในการตรวจสอบความพร้อมของราคาคือการตรวจหาการฝ่าแนวต้าน/แนวรับของรูปแบบออกไป หากราคาของสินทรัพย์เคลื่อนไหวขึ้นไปสูงหรือลงมาต่ำกว่าระดับของเส้นแนวโน้มที่กำหนด คุณอาจจะได้รับข้อมูลยืนยันเพิ่มเติมสำหรับการเทรดด้วยรูปแบบ Wyckoff ของคุณ
- การยืนยัน: หากคุณรู้วิธีการวิเคราะห์ทางเทคนิค การมองหาจุด Golden Cross หรือ Death Cross (รูปแบบของการวิ่งตัดกันของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่) เพื่อยืนยันรูปแบบ Wyckoff ที่สอดคล้องกันกับระยะสะสมและระยะแจกจ่ายก็ถือเป็นวิธีที่ดีเช่นกัน
จับจังหวะการเทรดอย่างเหมาะสมด้วยทฤษฎี Wyckoff
ถึงแม้ว่าการจับจังหวะของตลาดอาจจะมีความเสี่ยงอยู่บ้าง แต่การใช้รูปแบบ Wyckoff พร้อมสัญญาณยืนยัน ก็อาจจะช่วยให้ทำกำไรได้ วิธีที่ดีที่สุดในการเทรดคือการมองหาวิธีการที่มีความเสี่ยงต่ำแต่ให้ผลตอบแทนสูง ซึ่งหมายถึงการจับจังหวะการซื้อในช่วงของระยะการเพิ่มขึ้นหรือการ Short ในช่วงแรกๆ ของระยะการลดลง
ในกรณีที่คุณวางแผนที่จะเข้าและออกจากตลาด ณ จุดใดจุดหนึ่งที่เฉพาะเจาจะลง ระดับแนวต้านและแนวรับที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบ Wyckoff ก็อาจจะช่วยได้ ซึ่งคุณสามารถอ้างอิงจากรูปแบบ Wyckoff ในวัฏจักรการสะสมและแจกจ่ายที่เราได้พูดถึงกันไปก่อนหน้านี้ได้
สุดท้ายนี้ เช่นเดียวกับกลยุทธ์การเทรดอื่นๆ การใช้ทฤษฎี Wyckoff นั้นยังต้องการกลยุทธ์การจัดการความเสี่ยงเป็นหัวใจสำคัญ ซึ่งรวมถึงการเซ็ตจุด Stop-Loss ให้กับออเดอร์ เป็นต้น
เราจะใช้งานทฤษฎี Wyckoff ได้อย่างไร?
นอกเหนือไปจากการใช้งานกลยุทธ์ต่างๆ ที่ได้กล่าวถึงไปข้างต้นร่วมกับทฤษฎี Wyckoff เพื่อให้ได้ผลประโยชน์สูงสุดแล้ว ต่อไปนี้คือกระบวนการต่างๆ ตามลำดับที่จะช่วยให้คุณใช้งานทฤษฎี Wyckoff ได้
- ระบุช่วงของตลาดซื้อขาย: ขั้นตอนแรกในการใช้งานทฤษฎี Wyckoff คือให้ทำการตรวจสอบและยืนยันช่วงปัจจุบันของตลาด/สินทรัพย์
- วิเคราะห์ราคาและปริมาณการซื้อขาย: ให้ยืนยันว่ารูปแบบ Wyckoff ทั้งหมดที่สอดคล้องกับช่วงระยะต่างๆ มาจากการวิเคราะห์ราคาและปริมาณการซื้อขายอยย่างถูกต้อง วิธีการที่รวดเร็วอีกอย่างคือการมองหาปริมารการซื้อขายที่สูงที่ระดับแนวต้านและแนวรับ
- จัดจำรูปแบบต่างๆ ให้ได้อย่างชัดเจน: รูปแบบ Wyckoff ที่สำคัญบางส่วนนั้นต้องการความใส่ใจเป็นพิเศษ ซึ่งนั่นรวมไปถึงจุด Selling หรือ Buying Climaxes, Upthrusts และ Springs คุณควรทำความเข้าใจรูปแบบเหล่านี้ให้ชัดเจนและยืนยันมันด้วยเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคอื่นๆ ได้ หากจำเป็นต้องทำ
- ใช้เครื่องมือสนับสนุน: คุณสามารถใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น Trendlines (เส้นแนวโน้ม), Oscillators (ออสซิลเลเตอร์), Moving Averages (ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่), หรือ Volume Indicators (ตัวชี้วัดปริมาณการซื้อขาย) เพื่อช่วยยืนยันช่วงระยะต่างๆ ของทฤษฎี Wyckoff
ข้อจำกัดของทฤษฎี Wyckoff
ต่อไปนี้คือข้อเสียบางส่วนที่คุณอาจจะต้องรู้ไว้สำหรับทฤษฎี Wyckoff:
- ใช้เวลานาน: การใช้งานทฤษฎี Wyckoff จะประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ หลายขั้นตอนเพื่อให้ประสบการณ์การเทรดที่สมบูรณ์แบบ เพื่อที่จะให้ได้สัญญาณการเทรดที่ถูกต้อง คุณอาจจะต้องใช้เวลาเตรียมการเป็นอย่างมาก
- ไม่ใช่ระบบแบบองค์รวม: ทฤษฎี Wyckoff ไม่ใช่กลยุทธ์การเทรดแบบองค์รวม คุณจะต้องใช้มันควบคู่ไปกับเครื่องมือเทรดอื่นๆ เช่น ออสซิลเลเตอร์ และ เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ เพื่อให้สามารถจับจังหวะการเทรดได้อย่างเหมาะสม
- ยังคงมีแนวโน้มที่จะผันผวน: นักเทรดจะต้องรู้ว่าราคาของสินทรัพย์อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ทันทีในช่วงระยะการเพิ่มขึ้นหรือลดลง ซึ่งขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นของตลาด ในวงการคริปโตนั้น ความเชื่อมั่นอาจจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่จะใช้ร่วมกับรูปแบบ Wyckoff
เพื่อที่จะขจัดข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการใช้งานทฤษฎี Wyckoff คุณควรใช้มันร่วมกับข้อมูลและเครื่องมืออื่นๆ ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถขยายขอบเขตของการวิเคราะห์ทางเทคนิคของคุณได้
ทฤษฎี Wyckoff ตัวเดียวจบหรือไม่?
ทฤษฎี Wyckoff ไม่ใช่วิธีการวิเคราะห์ทางเทคนิคที่น่าเพลิดเพลินที่สุดหรือง่ายดายที่สุด แต่อย่างน้อย มันก็ช่วยให้คุณประสบความสำเร็จได้ วิธีการดังกล่าวได้รับการทดสอบมาแล้วเป็นเวลานานและโฟกัสไปที่ข้อมูลต่างๆ ของตลาดในมุมมองที่กว้างขึ้น — อุปสงค์/อุปทาน, ราคา/ปริมาณการซื้อขาย, และการสะสม/การแจกจ่าย หากคุณจับคู่มันเข้ากับเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคที่สำคัญต่างๆ เช่น เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่, ตัวชี้วัดต่างๆ และออสซิลเลเตอร์ คุณจะสามารถใช้งานกลยุทธ์การเทรดนี้ได้ดียิ่งขึ้นไปอีก
ทฤษฎีในการซื้อขายนี้มีอายุมายาวนานกว่าหนึ่งศตวรรษแล้วและยังสามารถใช้งานได้เป็นอย่างดี ด้วยใช้งานอย่างถูกต้อง มันสามารถใช้งานได้ดีพอๆ กัน ทั้งในตลาดหุ้น, ตลาดคริปโต, หรือแม้แต่ตลาดฟอเร็กซ์ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
เราจะใช้งานทฤษฎี Wyckoff ได้ที่ใดบ้าง?
คุณสามารถใช้งานทฤษฎี Wyckoff ได้บนกระดานเทรดคริปโตชั้นนำต่างๆ เช่น
คำถามที่พบบ่อย
รูปแบบ Wyckoff คืออะไร?
รูปแบบ Wyckoff เป็นรูปแบบขาขึ้นหรือไม่?
ทฤษฎี Wyckoff มีประสิทธิภาพหรือไม่?
รูปแบบ Wyckoff มีความแม่นยำเพียงใด?
ข้อจำกัดความรับผิด
ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์