Trusted

ทำไม Bitcoin ถึงมีมูลค่า ทำไมถึงแพงขนาดนี้

6 mins
อัพเดทโดย Apinat Phosuwan

ในบรรดาสกุลเงินดิจิทัลมากมาย เมื่อพูดถึง “Bitcoin” นี่คือหนึ่งในสกุลเงินดิจิทัลที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก แต่เหตุผลคืออะไร? ทำไม Bitcoin ถึงมีมูลค่ามากขนาดนั้น? มีเหตุผลอะไรกันแน่ที่ทำให้ “ต้นกำเนิดของสกุลเงินดิจิทัล” ตัวนี้ได้รับความนิยมจากเหล่าบรรดานักลงทุน, เทรดเดอร์, หรือแม้แต่ ผู้ใช้งานสกุลเงินดิจิทัลทั่วไป? หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว คุณจะเข้าใจได้ว่า ทำไม Bitcoin ถึงมีมูลค่า และ สิ่งใดคือปัจจัยที่ส่งผลให้ Bitcoin เป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ได้รับความนิยมมากที่สุด

เหตุผลที่ทำให้ “เงิน” มีมูลค่า

คุณสมบัติของเงิน

หากเราต้องการที่จะทำความเข้าใจว่า “ทำไม Bitcoin ถึงมีมูลค่า” ก่อนอื่น เราจะต้องมาทำความเข้าใจถึงธรรมชาติของ Bitcoin กันเสียก่อน

Bitcoin นั้นถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้เป็น “สกุลเงินดิจิทัล” ที่ใช้เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนกันได้อย่างอิสระ โดยไม่ต้องพึ่งพาหรืออาศัยตัวกลางใดๆ ด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีบล็อกเชน ซึ่งทำให้การทำธุรกรรมต่างๆ มีความปลอดภัย, สามารถตรวจสอบได้, และมีการกระจายอำนาจ ดังนั้น ธรรมชาติของ Bitcoin เองก็คือการเป็น ‘เงิน’ ที่ใช้สำหรับการแลกเปลี่ยนมูลค่านั่นเอง ถ้าเช่นนั้น สิ่งใดทำให้ ‘เงิน’ มีมูลค่าหล่ะ?

ตลอดประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติ เรามีการใช้งานสิ่งต่างๆ มากมายเพื่อเป็นตัวแทนของการแลกเปลี่ยนมูลค่า เช่น เปลือกหอย ลูกปัด หนังสัตว์ หรือ ทองคำ เป็นต้น ซึ่งถึงแม้ว่ามันจะไม่ได้อยู่ในรูปแบบของ ‘เงิน’ ที่เรารู้จักกันดีในปัจจุบันก็ตาม แต่สิ่งเหล่านี้ก็คือต้นกำเนิดของ ‘เงิน’ นั่นเอง

หน้าที่ของ ‘เงิน’ คือ การทำหน้าที่เป็น “Store of Value” หรือ สิ่งที่ใช้ในการเก็บรักษามูลค่า ที่ซึ่งทุกคนยอมรับว่ามันเป็นสื่อกลางที่ใช้สำหรับการแลกเปลี่ยนได้

ตัวอย่างเช่น หากนักล่าสัตว์นำ “หนังสัตว์” ที่ล่ามาได้มาแลกเปลี่ยนกับ “เกลือ” ของพ่อค้า หากทั้ง 2 ฝ่ายยอมรับและตกลงเรื่องมูลค่าของสิ่งของทั้ง 2 นี้ได้ ทั้ง “หนังสัตว์” และ “เกลือ” ก็จะถูกยอมรับในฐานะ ‘เงิน’ สำหรับแลกเปลี่ยนระหว่างบุคคลทั้ง 2 ฝ่ายนี้ได้

ดังนั้น หากสิ่งของใดๆ เข้าหลักเกณฑ์ดังกล่าว มันก็จะสามารถนับว่าเป็น ‘เงิน’ ได้ โดยมีองค์ประกอบหลักๆ อยู่ 6 ประการดังนี้:

  • ความขาดแคลน (Scarcity): เช่นเดียวกับสิ่งอื่นๆ มูลค่าของ ‘เงิน’ นั้นจะขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทาน หากสิ่งใดหามาหรือสร้างขึ้นได้ง่ายๆ มันก็จะมีมูลค่าที่น้อยลง ‘เงิน’ จะต้องมีจำนวนที่จำกัด (หรือมีความขาดแคลน) เพื่อรักษาอำนาจในการซื้อของมัน
  • ความสามารถในการแบ่งส่วน (Divisibility): ‘เงิน’ จะต้องสามารถแบ่งออกเป็นส่วนย่อยได้ เช่น สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ที่มีหน่วยย่อยเป็น “เซนต์” (Cent) หรือ สกุลเงินบาท ที่มีหน่วยย่อยเป็น “สตางค์” ก็เพื่อให้สามารถใช้งานได้กับธุรกรรมที่มีขนาดเล็กลง
  • ความสามารถในการใช้งานแทนกันได้ (Fungibility): ‘เงิน’ จะต้องมีมูลค่าเทียบเท่ากันและมีความสามารถในการใช้งานแทนกันได้ เช่น ไม่ว่าคุณจะมีเหรียญ 5 บาทแบบใดก็ตาม มันก็จะมีมูลค่าเทียบเท่า 5 บาทเช่นกัน และไม่ว่าเหรียญใดๆ ก็ตาม มันจะต้องสามารถใช้งานแทนกันได้ หาก ‘เงิน’ มีมูลค่าที่ไม่เทียบเท่ากันในบางกรณี มันจะต้องมีการตรวจสอบ “มูลค่า” ของมันเพิ่มเติม
  • ความสามารถในการพกพา (Portability): ‘เงิน’ จะต้องสามารถพกพาได้และใช้แลกเปลี่ยนได้ง่าย
  • ความทนทาน (Durability): ‘เงิน’ จะต้องมีความทนทานและมีอายุการใช้งานยาวนาน ตัวอย่างเช่น ผลไม้ซึ่งไม่เหมาะสมในการนำไปใช้เป็นสิ่งของเพื่อแลกเปลี่ยนมูลค่าในระยะยาว เนื่องจากมันสามารถเน่าเสียได้ ในทางกลับกัน ทองคำ เป็นหนึ่งในสิ่งที่ผู้คนนิยมเก็บสะสมหรือนำไปซื้อขายแลกเปลี่ยน เนื่องจากมันไม่เป็นสนิมและไม่ผุพัง
  • การยอมรับ (Acceptability): ‘เงิน’ จะต้องได้รับการยอมรับโดยกลุ่มเป้าหมาย ยิ่งเงินได้รับการยอมรับโดยวงกว้างมากเพียงใด การนำไปใช้จ่ายก็จะยิ่งสะดวกมากขึ้นเท่านั้น

เมื่อครบองค์ประกอบทั้งหมดแล้ว ‘เงิน’ ก็จะถูกกำหนดมูลค่าโดยกลุ่มผู้ใช้งาน โดยการพิจารณาจากอุปสงค์-อุปทานของสกุลเงินนั้นๆ, ความคุ้มค่าต่อผู้ใช้งาน, และสิ่งที่พวกเขาสามารถซื้อด้วยสกุลเงินนั้นๆ

ทำไม Bitcoin ถึงมีมูลค่า?

ที่มาของมูลค่าของ Bitcoin

เราได้อธิบายไปเรียบร้อยแล้วว่า เพราะเหตุใด ‘เงิน’ ถึงมีมูลค่า ต่อไป เราลองมาดูกันก่อนดีกว่าว่า Bitcoin นั้นเข้าข่ายเป็น ‘เงิน’ ที่ใช้สำหรับแลกเปลี่ยนมูลค่าหรือไม่ เพื่อที่จะสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ทำไม Bitcoin ถึงมีมูลค่า

  • ความขาดแคลน — แน่นอนว่า Bitcoin มีความขาดแคลน เนื่องจาก BTC มีอุปทานคงที่อยู่ที่ 21 ล้านเหรียญเท่านั้น นอกจากนี้ รางวัลที่ได้จากการขุดบล็อกก็จะลดลงครึ่งนึงทุกๆ 4 ปีเมื่อถึงรอบ Bitcoin Halving ทำให้อุปทานมีความขาดแคลนมากยิ่งขึ้น (อุปทานไหลเข้าสู่ระบบหมุนเวียนน้อยลง)
  • ความสามารถในการแบ่งส่วน — Bitcoin มีหน่วยย่อยเป็น Satoshi โดยที่ 100 ล้าน Satoshi จะเท่ากับ 1 BTC (Satoshi มาจาก Satoshi Nakamoto ผู้สร้างนิรนามของ Bitcoin)
  • ความสามารถในการใช้งานแทนกันได้ — Bitcoin เหมือนกันทั้งหมด ไม่มีเหรียญใดมีค่ามากไปกว่ากัน นอกจากนี้ ยังเป็นไปไม่ได้ที่จะปลอมแปลงอีกด้วย
  • ความสามารถในการพกพา — Bitcoin สามารถนำไปใช้งานที่ใดก็ได้ที่มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
  • ความทนทาน — Bitcoin ไม่สามารถถูกทำลายได้ ตราบใดที่บล็อกเชนยังคงอยู่ Bitcoin ก็จะยังคงอยู่ตลอดไป
  • การยอมรับ — ถึงแม้ว่า Bitcoin จะยังไม่ได้รับการยอมรับในวงกว้างอย่างสมบูรณ์แบบ 100% แต่ในปัจจุบัน ทั้ง Bitcoin และสกุลเงินดิจิทัลต่างๆ ก็ได้รับการยอมรับเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะทั้งจากภาคสถาบันการเงิน ภาคธุรกิจ หรือ แม้แต่ในหมู่ผู้บริโภคเองก็ตาม

จากเหตุผลที่ได้กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่า Bitcoin นั้นมีองค์ประกอบครบถ้วนที่จะสามารถเป็น “สกุลเงินดิจิทัล” สำหรับใช้ในการแลกเปลี่ยนมูลค่าได้ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไม BTC จึงมีมูลค่าและเป็นที่ต้องการจากเหล่านักลงทุนมากมาย

ตารางเปรียบเทียบคุณสมบัติของ 'เงิน'
ตารางเปรียบเทียบคุณสมบัติของ ‘เงิน’

ทำไมบางคนจึงมองว่า Bitcoin ไม่มีมูลค่า?

มูลค่าของ Bitcoin นั้นจะถูกตัดสินจากราคาที่ผู้คนยินดีจ่าย โดยการพิจารณาจากอุปสงค์และอุปทาน (เช่นเดียวกับสินทรัพย์หรือสิ่งของมีค่าอื่นๆ) อย่างไรก็ตาม มีบุคคลบางกลุ่มไม่เต็มใจที่จะยอมรับว่า สินทรัพย์ดิจิทัล สามารถถูกกำหนดหรือมี “มูลค่า” ได้ เนื่องจากพวกเขามองว่า สิ่งของที่ไม่สามารถจับต้องได้ หรือ สิ่งที่ถูกสร้างขึ้นโดย/ในระบบคอมพิวเตอร์นั้นไม่มีมูลค่าที่แท้จริง พวกเขาจึงยังคงเชื่อมั่นว่า Bitcoins (หรือสกุลเงินดิจิทัลอื่นๆ) นั้นไร้มูลค่า ในขณะที่คนอื่นๆ ที่เข้าใจในระบบของ Bitcoin ต่างก็ยอมรับว่ามันมีคุณค่าอย่างแท้จริง

สรุปส่งท้าย

การขาดความรู้และความเข้าใจ — โดยเฉพาะกับบางคนที่อาจจะมองว่ามันเป็น “สแกม” หรือ “แชร์ลูกโซ่” ในรูปแบบหนึ่ง — มักจะทำให้เกิดคำถามที่ว่า Bitcoin มีมูลค่าจริงๆ หรือไม่ เราจะเห็นได้ว่า บางคนเกิดความกลัวเนื่องจากพวกเขาขาดข้อมูลที่ถูกต้อง แต่ท้ายที่สุดแล้ว Bitcoin นั้นทำงานอยู่บนเครือข่ายที่มีความปลอดภัยสูงมาก และด้วยคุณสมบัติของมันที่สามารถเทียบเคียงกับสินทรัพย์ที่มีมูลค่ามากมาย เช่น โลหะมีค่า และ เงินตรา ได้ Bitcoin จึงจัดว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าซึ่งสามารถใช้ทดแทนสกุลเงินทั่วไปได้

ดังนั้น หากจะให้สรุปว่า ทำไม Bitcoin ถึงมีมูลค่า ก็คงจะต้องบอกว่า เพราะมันถูกกำหนดมูลค่าจากผู้ใช้งานซึ่งมองเห็นถึงคุณค่าที่แท้จริงของมันนั่นเอง

ขอขอบคุณ:

ข้อมูลอ้างอิงประกอบบทความจาก Investopedia.com

🎄แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | ธันวาคม 2024
🎄แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | ธันวาคม 2024
🎄แพลตฟอร์มคริปโตที่ดีที่สุดในไทย | ธันวาคม 2024

ข้อจำกัดความรับผิด

ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของเราเผยแพร่ด้วยเจตนาที่ดีและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การกระทำใด ๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการตามข้อมูลที่พบบนเว็บไซต์ของเราถือเป็นความเสี่ยงของผู้อ่านโดยเฉพาะ Learn ให้ความสำคัญกับข้อมูลคุณภาพสูง เราอุทิศเวลาให้กับการแยกแยะ ค้นคว้า และสร้างเนื้อหาเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานนี้และเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง พาร์ตเนอร์ของเราอาจตอบแทนเราด้วยค่าคอมมิชชั่นสำหรับการจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ในบทความของเรา อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิชชั่นนี้ไม่มีผลต่อกระบวนการของเราในการสร้างเนื้อหาที่ไร้อคติ ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์

Akhradet-Mornthong-Morn.jpg
Akradet Mornthong
อัครเดช หมอนทอง เป็น นักแปล/นักเขียนคอนเทนต์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน NFT Games, Metaverse, AI, Crypto และเทคโนโลยีใหม่ๆ เขาจบการศึกษาในสาขาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล และมีประสบการณ์ในการทำงานในวงการเกมมากกว่า 10 ปี เมื่อ NFT Games ได้กลายเป็นกระแสขึ้นมาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เขาก็ไม่พลาดที่จะก้าวเข้ามาในวงการนี้เพื่อศึกษาข้อมูลในเชิงลึกต่างๆ ของวงการ NFT รวมไปถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Blockchain และ Crypto อีกด้วย
READ FULL BIO
ได้รับการสนับสนุน
ได้รับการสนับสนุน